เลือกตั้ง LGBT party
Narin Machaiya/Time Out Bangkok

สำรวจนโยบายพรรคการเมืองเรื่อง LGBTQ+

Time Out สรุปนโยบายเกี่ยวกับ LGBTQ+ ของแต่ละพรรคการเมืองมาให้อ่านเปรียบเทียบ เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจในการเลือกตั้ง 2562 ที่จะถึงนี้

เขียนโดย
Wissuta Ploypetch
และ
Khemjira Prompan
การโฆษณา

ถึงแม้ปัจจุบันกลุ่ม LGBTQ+ (lesbian-gay-bisexual-trangender-queer) จะเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในทางปฏิบัติ แต่ต้องยอมรับว่าในทางกฏหมายและข้อบังคับยังมีความเหลื่มล้ำระหว่างกลุ่มคนทั่วไปและกลุ่ม LGBTQ อยู่หลายประการ เช่น พ.ร.บ. คู่ชีวิต ที่ยังขาดสิทธิ์พึงได้รับอีกหลายประการแตกต่างจากกฏหมายเกี่ยวกับการสมรสระหว่างชายและหญิง นี่ยังไม่รวมถึงการปิดกั้นและไม่ได้ยอมรับชาว LGBTQ+ อย่างแท้จริงในอีกหลากมิติ 

และในฐานะที่ประชากรชาว LGBTQ+ เป็นกลุ่มใหญ่ที่มีเสียงในสังคม จึงไม่แปลกใจที่บรรดาพรรคการเมืองต่างนำเสนอหลากนโยบายด้านนี้ ทั้งยังหยิบเอานโยบายที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม LGBTQ+ มาเป็นจุดขายในช่วงเลือกตั้งปี 2562 นี้ ไล่ดูเราก็จะเห็นตั้งแต่การผลักดันให้เกิดความตระหนักในความเท่าเทียมของคนทุกกลุ่ม ไปจนถึงกฎหมายรับรองสิทธิประชา่กรโดยไม่คำนึงถึงเพศวิถี ซึ่งเหล่านี้เองก็น่าจะเป็นหมุดหมายที่ดีว่าประเทศไทยกำลังจะเปิดกว้างสร้างความเท่าเทียมได้อย่างแท้จริงในอนาคต 

อย่ารอช้า ไปสำรวจนโยบายเรื่อง LGBTQ+ ของแต่ละพรรคกัรชน เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจสำหรับคนที่มองหาพรรคการเมืองที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

พรรคพลังท้องถิ่นไท

พรรคพลังท้องถิ่นไท

ดันไทยเป็นศูนย์กลางการจัดงาน Gay Pride ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นายชื่นชอบ คงอุดม โฆษกพรรคพลังท้องถิ่นไท ได้ให้ความเห็นไว้ในกิจกรรม “เวทีสาธารณะ พรรคการเมืองกับนโยบายศิลปวัฒนธรรม” ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ว่าประเทศไทยมีความก้าวหน้ามาไกลพอสมควร หากเป็นไปได้ก็อยากจะส่งเสริมให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลาง (HUB) สถานที่แต่งงานของกลุ่ม LGBTQ หรือ ให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงาน Gay Pride ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [แต่ยังไม่บอกว่าจะทำอย่างไร]

พรรคเพื่อชาติ

พรรคเพื่อชาติ

ให้ความสำคัญกับสิทธิของกลุ่ม LGBT ซึ่งรวมถึงการผลักดันร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตปัจจุบันให้มีสิทธิเท่าเทียบกับคนอื่นในทุกกรณี เช่น สิทธิในการยินยอมรักษาพยาบาล อำนาจจัดการศพ การดำเนินคดีอาญาแทนคู่ชีวิต การเรียกร้องสินไหมทดแทนจากการขาดไร้อุปการะ การจัดการทรัพย์สิน การรับมรดก

มีแผนจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาระดับชาติในประเด็น LGBT รวมไปถึงการจัดที่พักพิงสำหรับกลุ่ม LGBT ที่มีปัญหา เพื่อให้คนไทยทั้งประเทศโดยไม่จำกัดเพศวิถีสามารถมารวมตัวกันเพื่อศึกษา ทำความเข้าใจ และลดอคติระหว่างกัน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย มีความเป็นนิติบุคคล และมีงบประมาณที่เพียงพอ

สนับสนุนการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็น LGBT เพื่อนำมาปรับปรุงทั้งในด้านนโยบายและการปฏิบัติ โดยสนับสนุนทั้งกลยุทธ์และงบประมาณ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของสังคมในเรื่อง LGBT ให้คนในสังคมเกิดความเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างจริงใจและเต็มใจ”

การโฆษณา
พรรคประชาธิปัตย์

พรรคประชาธิปัตย์

ผลักดัน พ.ร.บ. คู่ชีวิต นางสาวชมพูนุท นาครทรรพ ผู้สมัครส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ให้ความเห็นในกิจกรรม “10 ปี วันความหลากหลายทางเพศ: สิทธิและความเสมอภาคในการตั้งครอบครัว” ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 ว่าตัวเธอเองเป็นหนึ่งในคณะกรรมการเรื่องนโยบายเพื่อความเท่าเทียมและเรื่องคู่ชีวิต ในขณะที่ทางพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ร่วมจัดทำวิดีโอทผลักดัน พ.ร.บ.คู่ชีวิต และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ไปเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับกลุ่มความหลากหลายทางเพศ

พรรคมหาชน

พรรคมหาชน

ผลักดันให้มีการออกกฎหมายแพ่งและพาณิชย์รับรองทุกเพศอย่างเท่าเทียมกันทั้ง เช่น กฎหมายรับรองการใช้ชีวิตคู่อย่างมีเสถียรภาพระหว่างบุคคลสองคนบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกันโดยไม่คำนึงถึงเพศสภาพ เพศวิถี หรืออัตลักษณ์ทางเพศ เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต ณ ตอนนี้ ยังมีเพียงแค่บางส่วนที่กลุ่มเพศหลากหลาย จะได้มีสิทธิเท่าเทียบกับคนอื่น แต่ยังคงถูกกำจัดสิทธิในหลายประเด็น เช่น สิทธิในการยินยอมรักษาพยาบาล อำนาจจัดการศพ การดำเนินคดีอาญาแทนคู่ชีวิต การเรียกร้องสินไหมทดแทนจากการขาดไร้อุปการะ การจัดการทรัพย์สิน การรับมรดก และการประกอบอาชีพที่บางครั้งกำหนดคุณสมบัติรับเฉพาะชายและหญิง

การโฆษณา
พรรคสามัญชน

พรรคสามัญชน

เปิดพื้นที่ให้กับกลุ่ม LGBT ร่วมร่างนโยบายสู่สภา เพื่อสร้างรูปธรรมทางสิทธิแกกล่ม LGBT นโยบายนี้เกิดเพราะพรรคเห็นว่าการขับเคลื่อนของพรรคการเมือง ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มคนที่มีอำนาจและไม่เคยเปิดให้กลุ่มสามัญชนผู้มีอำนาจน้อยเข้ามามีส่วนร่วมในพื้นที่การเมือง และคิดว่าการทำงานกับสามัญชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จะสามารถผลักดันให้นโยบายสำหรับกลุ่ม LGBT เปิดกว้างได้มากขึ้น

สนับสนุนการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น กฎหมายการรับรองอัตลักษณ์บุคคล เปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ และที่สำคัญอีกอันคือ กฎหมายที่จะสนับสนุนการสร้างครอบครัวที่เท่าเทียม โดยเป็นไปได้ใน 2 แนวทาง คือ การรับรองสิทธิสมรสด้วยการแก้ไขกฎหมายเดิมทั้งทางแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 บรรพ 6 หรือ การร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตใหม่

พรรคอนาคตใหม่

พรรคอนาคตใหม่

ส่งเสริมการศึกษาเรื่องความเท่าเทียมกันในสังคม เพื่อให้ทุกคนเข้าใจในเรื่องเพศ สถานะ และชนชั้นทางสังคม ผ่านการทำงานการรณรงค์เชิงนโยบาย ผลักดันให้เกิดเป็นกฎหมาย หรือผลักดันทางสังคมให้เกิดความตระหนักรู้ถึงปัญหาของผู้ที่อยู่ในสภาวะที่มีข้อจำกัดทั้งทางด้านวิถีชีวิตและทรัพยากร เพื่อลดดารเลือกปฎิบัติอันมาจากถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกาย สถานะของบุคคล สถานะทางเศรษฐกิจ สถานะสังคม ตลอดจนความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมือง

ผลักดันย่านที่มีความหลากหลายทางเพศไปสู่สายตาชาวต่างชาติ เช่น ย่านสีลมให้เกิดมูลค่าทางเศรฐกิจ เหมือนหลายประเทศที่มีชุมชนความหลากหลายทางเพศ 

เรื่องเด่น
    เรื่องน่าสนใจอื่นๆ ที่คุณน่าจะชอบ
      การโฆษณา