Get us in your inbox

Pacharakamon Chomyindee

Pacharakamon Chomyindee

Articles (1)

30 หนังและซีรีส์ LGBTQ+ ที่เราประทับใจมากที่สุด

30 หนังและซีรีส์ LGBTQ+ ที่เราประทับใจมากที่สุด

Time Out ร่วมฉลองจิตวิญญาณของตัวตนและความรักที่หลากหลาย ผ่านภาพยนตร์ ซีรีส์ และสารคดี 30 เรื่อง ผ่านโปรเจ็กเล็กๆ ของเราที่ชื่อว่า Time Out Pride Cinema RECOMMENDED: ตัวละครจากหนังและซีรีส์ที่เป็นแรงบันดาลใจให้ทุกแถบสีของความรัก

Listings and reviews (5)

รักแห่งสยาม (Love of Siam)

รักแห่งสยาม (Love of Siam)

กว่า 10 ปี ที่ รักแห่งสยาม ได้ครอบครองพื้นที่หนังดีในดวงใจของใครหลายๆ คน ด้วยประเด็นการค้นหาตัวตนของเด็กที่กำลังเติบโตในสภาพครอบครัวที่พังทลาย ทุกการเปลี่ยนแปลงของตัวละครสร้างความรู้สึกทางอารมณ์ให้กับคนดูได้หลายมิติ จนกลายเป็นหนังที่กลับมาดูทีไรก็รู้สึกอบอุ่นหัวใจทุกครั้ง เรื่องราวความรักอันแสนอบอุ่น ลึกซึ้ง ตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ไปจนถึงรุ่นลูก ด้วยความที่บ้านอยู่ตรงข้ามกัน ทำให้ โต้ง (รับบทโดย มาริโอ้ เมาเร่อ) และ มิว (รับบทโดย พิช - วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล) เป็นเพื่อนที่ผูกพันธ์กันมาตั้งแต่เด็ก วันหนึ่งครอบครัวของโต้งเกิดปัญหาจนต้องย้ายบ้าน ทั้งสองจึงต่างคนต่างไปเติบโตตามเส้นทางชีวิตของตัวเอง แต่แล้วโชคชะตาก็ทำให้พวกเขาได้กลับมาเจอกันอีกครั้ง และการสานต่อมิตรภาพที่ลึกซึ้งกว่าเดิมก็ได้เกิดขึ้น ณ สยามสแควร์ การแฝงความหมายในซีนต่างๆ ให้คนดูได้ตีความเอาเอง อย่างซีนที่แม่กินไข่พะโล้ต่อจากพ่อ ซีนแม่ขับรถตามหาโต้งทั้งคืน หรือซีนที่โต้งกับมิวจูบกันหน้าบ้าน ต่างก็เข้าถึงอารมณ์คนดูได้สุดใจและด้วยบทภาพยนตร์ที่แปลกใหม่กับการแสดงที่ไหลลื่น ทำให้มาริโอ้และพิช ได้แจ้งเกิดในวงการบันเทิงอย่างเป็นทางการจากหนังเรื่องนี้ รักแห่งสยาม ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลมากมาย การันตีคุณภาพด้วย 3 รางวัล จากงานประกาศรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 17 คือ รางวัลผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม, รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, และรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม  มะเดี่ยว - ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ผู้กำกับ เคยให้สัมภาษณ์ไว้ ใจความว่า ภาพยนตร์เป็นเหมือนบทบันทึกชีวิตของเราในช่วงนั้น มีมุมมองการเล่าเรื่องราวที่เติบโตไปกับความคิดและประสบการณ์ ซึ่งรักแห่งสยามตั้งใจจะสื่อสารว่า เมื่อมีความรักย่อมมีความหวัง และเราต้องเลื

A Fantastic Woman

A Fantastic Woman

3 out of 5 stars

A Fantastic Woman เป็นหนังฟอร์มเล็กจากชิลีที่หลายคนอาจจะมองข้าม คนส่วนใหญ่มักคิดว่าประเทศแถบละตินอเมริกามีความเปิดกว้างด้านความหลากหลายทางเพศ แต่หนังเรื่องนี้จะเปิดอีกหนึ่งมุมมองที่พวกเขามีต่อชาว LGBTQ+ เพราะเมื่อมองไปถึงระดับจิตใจแล้ว จะพบว่ากลุ่มคนเพศทางเลือกยังโดนปิดกั้นจากสังคมและถูกมองว่าแปลกแยกอยู่มาก หนังเล่าเรื่องราวของ มารีนา (แดนีลา เวกา) นักร้องหญิงข้ามเพศที่พบรักกับหนุ่มใหญ่รุ่นพ่ออย่าง ออร์แลนโด (ฟรานซิสโก เรเยส) ในช่วงแรกความสัมพันธ์ของทั้งสองดูไม่น่าเป็นไปได้ ด้วยความแตกต่างเรื่องเพศและอายุ แต่หนังจะค่อย ๆ เผยให้เห็นถึงการบ่มเพาะความรักจนงอกงามขึ้น และทั้งคู่ก็กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของกันและกัน จุดพลิกผันของเรื่องเกิดขึ้นเมื่อออร์แลนโดเสียชีวิตลง เพียงเพื่อจะได้บอกลาคนรักของตัวเองเป็นครั้งสุดท้าย มารีนาต้องต่อสู้กับอคติและการถูกเหยียดหยามจากสังคม โดยเฉพาะครอบครัวฝ่ายชาย รวมถึงเมียเก่าของเขาที่กีดกันเธอทุกอย่างโดยมี ‘กฎหมาย’ เป็นเครื่องมือ ระหว่างทาง เราจะเห็นว่าแรงกระทำจากสังคมได้ยัดเยียดให้มารีนากลาย ‘ตัวประหลาด’ ซึ่งเห็นได้ชัดที่สุดในฉากที่มารีนาถูกพันหน้าด้วยเทปจนใบหน้าของเธอบิดเบี้ยว ที่น่าเศร้าที่สุดก็คือเธอเองก็ดูจะเชื่อในสิ่งที่ถูกตีตราไปด้วยและสูญเสียตัวตนจนแทบไม่สามารถกลับไปทำในสิ่งที่เธอรักอย่างการร้องเพลงได้เช่นเคย หนังเล่าเรื่องอย่างเรียบง่าย ไม่หวือหวา ทำให้คนดูค่อยๆ ซึมซับและเข้าใจความรู้สึกของตัวละครอย่างสุดซึ้ง และด้วยการนำเสนอประเด็นที่ละเอียดอ่อนได้อย่างเข้มข้น ก็ทำให้ A Fantastic Woman สามารถคว้ารางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม ประจำปี 2018 ได้สำเร็จ นอกจากนี้ แดนีลา เวกา ยังสามารถกระตุ้นให้คนในประเทศหันมาใส่ใจเรื่องสิทธิ

No Regret

No Regret

2 out of 5 stars

ถ้าพูดถึงหนังรักเกาหลี ภาพจำของทุกคนคงเป็นหนังโรแมนติกที่มีบรรยากาศหวานปนเศร้า ซึ่ง No Regret หนังเกย์เกาหลีใต้ที่เข้าฉายในบ้านเกิดเมื่อปี ค.ศ. 2006 ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ให้ความรู้สึกเช่นนั้น และเป็นหนังเกาหลีใต้เรื่องแรกๆ ที่ฉายภาพชีวิตของคนรักเพศเดียวกันอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งถือว่าเป็นความแปลกใหม่และเปิดมุมมองวงการหนังเกาหลีใต้ให้กว้างขึ้น เนื้อเรื่องพูดถึงความรักของชายสองคนที่มีชีวิตแตกต่างกันทั้งด้านฐานะ สังคม และพื้นฐานชีวิต ลี ซูมิน (รับบทโดย อี ยองฮุน) เด็กกำพร้าที่ต้องดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอดในเมืองหลวงแสนวุ่นวายอย่างกรุงโซล รู้ตัวอีกทีเขาก็กลายเป็นโสเภณีในบาร์เกย์ ที่ที่เขาได้พบกับ ซง แจมิน (รับบทโดย คิม นัมกิล) ลูกค้าที่มาใช้บริการบาร์แห่งนี้ แจมินเป็นชายหนุ่มที่มาจากครอบครัวฐานะดี แต่ต้องปกปิดรสนิยมทางเพศของตัวเอง ทั้งสองพบรักกันและพยายามก้าวข้ามอุปสรรคของรักครั้งนี้ด้วยการทำลายกำแพงอคติทางสังคม จนนำไปสู่โศกนาฏกรรมความรักที่ไม่มีใครคาดคิด “เราเป็นอะไรกัน สำหรับคุณผมเป็นอะไร เพราะผมไม่มีการศึกษาอย่างนั้นหรือ? ถ้าอย่างนั้นผมจะตั้งใจเรียนหรือเพราะผมมันโสโครก...ถ้าอย่างนั้นผมจะซื่อสัตย์ต่อคุณ หรือเพราะว่าผมมันจน ถ้าอย่างนั้นผมจะทำงานให้หนักขึ้น” ประโยคที่ซูมินพูดกับแจมินหลังรู้ว่าอีกฝ่ายกำลังจะแต่งงาน ซึ่งสัมผัสได้ถึงความน้อยเนื้อต่ำใจ แต่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงทุกอย่างเพื่อคนที่ตัวเองรัก ซีนนี้ถือเป็นอีกซีนอารมณ์ที่กินใจและเรียกน้ำตาจากคนดูได้ไม่น้อย หนังทำให้เรามองเห็นอุปสรรคที่ทำให้ความรักของคนสองคนไม่เป็นไปตามความปรารถนา และการต่อสู้เพื่อเป็นที่ยอมรับกลับทำให้เกิดความกดดันมากมาย จนมีบางครั้งที่อาจตัดสินใจผิดพลาดไปบ้าง แต่สุดท้ายความรักก็จะดึงตัวเรากลับมาให้เดินในทางที่ถูก

Blue is the Warmest Color

Blue is the Warmest Color

5 out of 5 stars

ถ้าว่ากันตามทฤษฎีสี ‘สีฟ้า’ จัดว่าเป็นสีโทนเย็น ซึ่งฟังดูขัดกับชื่อหนังเรื่องนี้ที่แปลเป็นไทยได้ว่า ‘สีฟ้าคือสีที่อบอุ่นที่สุด’ แต่ถ้าได้ลองดูหนังเรื่องนี้เราเชื่อว่าทุกคนจะเข้าใจมากขึ้น ไม่ใช่แค่การตีความสีฟ้าเท่านั้น แต่ยังจะเข้าใจความหลากหลายและความเลื่อนไหลทางเพศไปด้วย Blue is the Warmest Color เล่าเรื่องราวของ อเดล (แอดเดล เอ็กเซอโชโพลอส) เด็กสาวที่ไม่รู้จักความรักที่แท้จริง จนเมื่อเธอเริ่มค้นหาความหมายของมัน ด้วยการออกเดตกับ โทมัส (เจเรมี่ ลาเฮิร์ท) เพื่อหาคำตอบว่าความรู้สึกทางเพศที่เธอมีต่อผู้ชายนั้นใช่ความรักที่เธอต้องการหรือไม่ แต่มันกลับไม่ง่ายเอาเสียเลย เพราะเธอเอาแต่นึกถึง เอ็มม่า (รับบทโดย เลอา แซดู) ผู้หญิงแปลกหน้าย้อมผมสีฟ้าที่เดินสวนกันบนถนน มีหลายเหตุผลที่ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็น ซีนร่วมรักสุดดุเดือดระหว่างอเดลกับเอ็มม่าที่เป็นซีน long take ความยาวเกือบ 10 นาที หรือความสมจริงในซีนอารมณ์ ตอนที่อเดลกับเอ็มม่าทะเลาะถึงขั้นลงไม้ลงมือ การใช้มุมกล้องแบบ close up ตลอดทั้งเรื่อง เพื่อให้เห็นธรรมชาติของตัวละครและทำให้คนดูเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของหนังได้ลึกซึ้ง สิ่งสำคัญที่ซื้อใจคนดูได้ไม่น้อย คือ ประเด็นที่หนังต้องการสื่อถึงความมีอิสระทางเพศ ด้วยการเลื่อนไหลระหว่างการชอบเพศชายและเพศหญิงสับเปลี่ยนกันไป ไม่มีการยึดติดกับเพศใดเพศหนึ่ง แม้จะเป็นหนังอินดี้ที่ทยอยเปิดตัวตามเทศกาลหนังต่างๆ และเข้าฉายในไทยแบบเงียบๆ แต่ก็ประสบความสำเร็จจนได้รับรางวัลปาล์มทองคำ ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ครั้งที่ 66 มาแล้ว

มะลิลา

มะลิลา

เรื่องราวของชายสองคนที่กลับมาสานต่อความสัมพันธ์ในวันที่ต่างคนต่างบอบช้ำ เชน (รับบทโดย ศุกลวัฒน์ คณารศ) เจ้าของสวนมะลิที่เพิ่งสูญเสียภรรยาพร้อมลูกสาวไป และ พิช (รับบทโดย อนุชิต สพันธุ์พงษ์) ศิลปินบายศรี อดีตคนรักของเชน ที่แม่เพิ่งจากไปและเขาเองก็กำลังต่อสู้กับโรคมะเร็ง แม้ว่าโครงเรื่องจะดูไม่ซับซ้อน แต่เสน่ห์ของหนังอยู่ที่ความงดงามในวิธีการเล่าเรื่อง อาทิ การใช้มุมกล้องแบบ close-up การใช้เสียงประกอบจากธรรมชาติ หรือแม้แต่การตัดสลับภาพดอกไม้ที่เหี่ยวเฉากับฉากร่วมรักของเชนและพิช ที่เหทือนเตือนคนดูว่า ความรักอันงดงามย่อมมีเวลาจำกัด ไม่ต่างจากบายศรีสุดปราณีตที่สุดท้ายดอกมะลิลาก็จะโรยราไปตามกาลเวลาเช่นกัน ด้วยการสื่อความหมายได้อย่างลึกซึ้งตามแบบฉบับศิลปินไทย ทำให้ผู้กำกับฝีมือดีอย่าง นุชี่-อนุชา บุญยวรรธนะ คว้ารางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม อีกทั้ง ภาพยนตร์เรื่องมะลิลาก็ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากงานประกาศรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 28 และยังได้รับรางวัลจากเทศการภาพยนตร์นานาชาติมาแล้วกว่า 4 ประเทศ ได้แก่ เกาหลี ไต้หวัน สิงคโปร์ และอินเดีย