Phed Phed
Sereechai Puttes/Time Out Bangkok

เปิดพิกัดร้านส้มตำ (ที่เราว่า) ดีที่สุด เผ็ดที่สุด และแซ่บจี๊ดที่สุด ในกรุงเทพฯ

Time Out พาไปตระเวนกินร้านส้มตำเด็ดๆ แบบพาแขกบ้านแขกเมืองไปกินได้ไม่ขายหน้า

Phavitch Theeraphong
Sopida Rodsom
เขียนโดย
Phavitch Theeraphong
และ
Sopida Rodsom
การโฆษณา

สายส้มตำประจำกองบรรณาธิการ Time Out Bangkok ตระเวนออกชิมร้านส้มตำทั่วกรุงเทพฯ ตามหาร้านเด็ดที่ตำส้มตำได้อร่อยแบบควรได้รับครกทองคำมานำเสนอทุกคนกัน แถมเรายัง make sure ว่าเป็นร้านหน้าตาดีที่พาเพื่อนต่างชาติไปกินได้แบบไม่เด๋อ

  • 4 จาก 5 ดาว
  • Restaurants
  • อาหารไทย
  • อารีย์
  • แนะนำ

บรรยากาศร้าน: ร้านเผ็ดเผ็ดอาจดูไม่เหมือนร้านอาหารอีสานแบบทั่วไป เพราะร้านแห่งนี้มีกลิ่นอายการตกแต่งแบบร้านคาเฟ่ญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งด้วยกระเบื้องสีฟ้าสดใส กระถางต้นไม้ และโต๊ะหินอ่อนสีขาว

อาหาร: ด้วยความที่ร้านแห่งนี้ชื่อ "เผ็ดเผ็ด" จึงไม่ต้องแปลงใจว่าอาหารจึงแซ่บสมชื่อ เพราะเมนูส้มตำจะเริ่มที่พริก 8 เม็ด (คุณสามารถขอลดความเผ็ดได้) ที่ร้านยังมีส้มตำให้เลือกมากกว่า 20 แบบ ไม่ว่าจะเป็นส้มตำลาว ส้มตำถั่ว จนไปถึงเมนูเฉพาะฤดูกาล เช่น ส้มตำสตรอว์เบอร์รี่ และส้มตำตะลิงปลิง เป็นต้น

  • 4 จาก 5 ดาว
  • Restaurants
  • อาหารไทย
  • ศาลาแดง
  • แนะนำ

บรรยากาศร้าน: ร้านไม้สีอ่อนได้รับการตกแต่งด้วยข้าวของที่ได้แรงบันดาลใจจากภาคอีสาน โดยชั้นล่างยังมีบริเวณบาร์ส้มตำที่เชฟจะตำเครื่องต่างๆ ในครกขนาดใหญ่ ส้วนชั้นลอยจะเป็นบริเวณห้องส่วนตัว 

Food: เมนูส่วนใหญ่นั้นจะเป็นส้มตำสไตล์ขอนแก่นที่มีรสเค็มนำ และมีความเปรี้ยวและหวานเล็กน้อย เมนูที่เราขอแนะนำคือส้มตำซั่วสกลนครซึ่งเสิร์ฟมาพร้อมกับเม็ดกระถิน แล้วจะกินกับเมนูเบาๆ เช่น หมูย่างกับน้ำจิ้มแจ่วก็อร่อยไม่แพ้กัน

การโฆษณา
  • 5 จาก 5 ดาว
  • Restaurants
  • สตรีทฟู้ด
  • ลาดพร้าว
  • แนะนำ

บรรยากาศร้าน: ร้านส้มตำแห่งนี้ไม่ได้ตั้งอยู่ใจกลางเมือง จึงทำให้ร้านมีบรรยากาศแบบร้านข้างทางที่หาไม่ค่อยได้ในกรุงเทพฯ

อาหาร: ร้านส้มตำแห่งนี้เน้นสูตรจากอุบลราชธานี จึงทำให้ปลาร้าของทางร้านเข้มข้นสะใจคนกิน ที่นี่ยังเสิร์ฟเมนูแปลกๆ ไม่ว่าจะเป็น หมกรังผึ้ง นางพญามดแดง และไข่มดแดง สำหรับคนชอบลองของแปลกโดยเฉพาะ

  • 4 จาก 5 ดาว
  • Restaurants
  • อาหารไทย
  • เพลินจิต
  • แนะนำ

บรรยากาศร้าน: ส้มตำนัวสาขาเซ็นทรัลเอ็มบาสซี่ตกแต่งดูหรูหรากว่าสาขาที่สยามสแควร์ ไม่ว่าจะเป็นกระถางต้นไม้ หรือกำแพงที่ตกแต่งด้วยงานศิลปะต่างๆ

อาหาร: ร้านแห่งนี้เหมาะกับคนที่ชอบส้มตำสไตล์กรุงเทพฯ เราจึงขอแนะนำเมนูตำสะดิ้ง ซึ่งเสิร์ฟพร้อมกับปลาร้า กระถิน ขนมจีน และแคปหมู

 

การโฆษณา
  • 5 จาก 5 ดาว
  • Restaurants
  • สตรีทฟู้ด
  • พญาไท
  • แนะนำ

บรรยากาศร้าน: ถนนเพชรบุรีมีร้านอาหารอีสานอยู่หลายร้าน แต่ร้านเจ๊ก้อยนั้นไม่เหมือนใคร ใครมาที่นี่จะได้รับประสบการณ์ร้านข้างทางแบบเต็มๆ (อย่าหวังว่าจะได้บริการแบบโรงแรม 5 ดาวล่ะ)

อาหาร: ร้านเจ๊ก้อยเสิร์ฟเมนูอาหารอีสานอร่อยๆ รวมไปถึงอาหารสตรีทฟู้ดที่มีให้เลือกหลากหลายจานจนเมนูหนาราวกับเป็นสารานุกรม ถ้าคุณเป็นคอปลาร้า ต้องลองส้มตำซั่วปูปลาร้ารสจัดจ้าน กินกับคอหมูย่าง และจิ้มจุ่ม รับรองว่าเด็ดมาก 

  • 5 จาก 5 ดาว
  • Restaurants
  • สตรีทฟู้ด
  • จตุจักร
  • แนะนำ

บรรยากาศร้าน: ร้านส้มตำเล็กๆ ในตลาด อ.ต.ก. ตกแต่งแบบเรียบง่าย พร้อมที่นั่งด้านนอกแบบสบายๆ 

อาหาร: เมนูต่างๆ ในร้านเป็นฝีมือของแชมป์ส้มตำคนแรกของประเทศไทย รสชาติที่ได้จึงจัดจ้าน ถ้าได้ไก่ย่างสูตรเด็ดของร้านด้วยแล้วยิ่งอร่อยยิ่งขึ้นไปอีก

การโฆษณา
  • 4 จาก 5 ดาว
  • Restaurants
  • สตรีทฟู้ด
  • อโศก
  • แนะนำ

บรรยากาศร้าน: ร้านบรรยากาศสบายๆ ที่เต็มไปด้วยพนักงานออฟฟิศในช่วงกลางวัน ตกแต่งง่ายๆ ด้วยเฟอร์นิเจอร์และของแต่งร้านที่อาจดูเข้ากันบ้าง ไม่เข้ากันบ้าง 

อาหาร: ร้านนี้เสิร์ฟส้มตำที่ทั้งเผ็ดและจัดจ้าน ถ้าคุณไม่ชอบปลาร้ากลิ่นแรง ทางร้านก็ยังมีเมนูส้มตำอื่นๆ เช่น ตำไท ตำไข่เค็ม ให้เลือกกินกันอีกด้วย

  • 3 จาก 5 ดาว
  • Restaurants
  • อาหารไทย
  • พร้อมพงษ์
  • แนะนำ

บรรยากาศร้าน: หนึ่งในเชนร้านส้มตำชื่อดังของเมืองไทยขึ้นชื่อที่ความสะอาดสะอ้าน และบรรยากาศร้านแบบสบายๆ โดยเฉพาะสาขาที่ห้างสรรพสินค้าเอ็มควอเทียร์ที่เราสามารถแวะมากินหลังช้อปปิ้งมาหลายชั่วโมง

อาหาร: คนที่อาจไม่คุ้นเคยกับปลาร้ามากนัก ก็สามารถลองส้มตำปูปลาร้าที่กลิ่นไม่แรงจนเกินไป ลองจับคู่กับไก่ย่างหนังกรอบๆ ขอบอกว่าดีมาก  

รู้หรือเปล่าว่าจริงๆ แล้วส้มตำมาจากไหน?

Sereechai Puttes/Time Out Bangkok

ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าส้มตำเกิดขึ้นในเมืองไทยตอนไหน แต่นักประวัติศาสตร์ด้านอาหารหลายท่านเชื่อว่าส้มตำที่เราเห็นกันในปัจจุบันนั้นดัดแปลงมาจาก ตำส้ม เมนูตำรสเปรี้ยวของวัฒนธรรมอีสาน ซึ่งเกิดจากการตำของเปรี้ยว (ส้มแปลว่าเปรี้ยวในภาษาอีสาน) ไม่ว่าจะเป็น มะม่วง สับปะรด หรือมะขาม เข้ากับวัตถุดิบอื่นๆ โดยเมนู ตำบักหุ่ง หรือตำมะละกอ นี่เองที่พัฒนากลายมาเป็นส้มตำอย่างที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน

นิดดา หงษ์วิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารได้กล่าวไว้ในหนังสือ ครัวไทย คนไทย ว่าตำบักหุ่งได้เข้ามาสู่ภาคกลางเมื่อพ่อค้าเดินทางมาค้าขาย และมีการปรับรสชาติใหม่ทั้งการเปลี่ยนมาใช้น้ำตาลปี๊ป น้ำปลา และน้ำมะนาวแทน

อีกทฤษฎีกล่าวว่าส้มตำเริ่มมีชื่อเสียงสมัยรัชกาลที่ 5 ครั้งพระองค์เสด็จประพาสต้นยังภาคอีสาน ซึ่งทำให้ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จฯ ได้มีโอกาสลิ้มลองตำส้มเป็นครั้งแรก และได้นำสูตรตำส้มที่ว่านี้กลับมาพัฒนาต่อที่วังหลวง โดยท่านที่ได้ชื่อว่าดัดแปลงตำบักหุ่งให้เหมาะกับลิ้นชาววัง ได้แก่ พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ฯ พระอรรคชายาเธอในรัชกาลที่ 5 ผู้ซึ่งความสามารถในการดัดแปลงอาหารพื้นถิ่นให้เป็นอาหารชาววังเป็นที่เลื่องลือ เมนูที่พระวิมาดาเธอฯ คิดค้นครั้งนั้นคือ "ข้าวมันส้มตำ" ซึ่งประกอบด้วยข้าวหุงน้ำกระทิ เนื้อฝอยผัดหวาน แกงเผ็ดไก่ น้ำพริกมะขามเปียก และตำมะละกอ ซึ่งอย่างหลังนี้เองที่ได้รับการปรับเปลี่ยนเรื่อยมาจนกลายมาเป็นส้มตำที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ในที่สุด

ครกนี้มีอะไรบ้าง?

Sereechai Puttes/Time Out Bangkok

มะละกอ

คนกรุงเทพฯ หลายคนอาจเข้าใจว่าส้มตำคือตำมะละกอเท่านั้น แต่ความจริงแล้วในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ส้มตำอาจหมายถึงตำผลไม้หรือผักรสเปรี้ยวอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นถั่วฝักยาว กล้วยดิบ หรือมะม่วงดิบ
    ความจริงแล้วมะละกอนั้นไม่ได้เป็นผลไม้ท้องถิ่นไทยด้วยซ้ำ เพราะมะละกอนั้นมาจากทวีปอเมริกาใต้ (พริกก็เช่นกัน) และเดินทางเข้ามาสู่เมืองไทยในสมัยอยุธยาโดยพ่อค้าชาวต่างชาติ

 

พริก

ส้มตำจะเผ็ดมาหรือน้อยก็แล้วแต่ท้องถิ่นกันไป โดยสูตรนครพนมหรืออุบลราชธานีจะนิยมผสมพริกสดกับพริกแห้ง ในขณะที่จังหวัดอื่นๆ เช่น ขอนแก่น หรืออุดรธานีจะใช้พริกแดงกับพริกเขียวแทน

 

มะนาว

ในปัจจุบันเรานิยมใส่น้ำมะนาวลงในส้มตำเพื่อเพิ่มความเปรี้ยว แต่ส้มตำสูตรดั้งเดิมของอีสานจะใช้มะอึก (หรือจะใช้มะเขือเทศหรือมะกอกช่วยด้วยก็ได้)

 

น้ำปลาและน้ำตาลปี๊ป

ส้มตำสูตรดั้งเดิมนั้นไม่ใช้น้ำปลาและน้ำตาลปี๊ป เพราะคนอีสานจะใช้ความเค็มของปลาร้า ซึ่งคนกรุงเทพฯ เปลี่ยนมาใช้เป็นน้ำปลาแทน ส่วนน้ำตาลปี๊ปก็เป็นสูตรของคนกรุงเทพฯ ที่อยากเพิ่มความหวานให้ส้มตำเช่นกัน 

 

ปลาร้า

ส้มตำส่วนใหญ่จะใส่ปลาร้า (ยกเว้นส้มตำไทยที่มีต้นกำเนิดจากภาคกรุงเทพฯ) รสชาติและกลิ่นของปลาร้านั้นเกิดจากการนำปลาดิบๆ มาหมักกับเกลือและข้าวคั่ว โดยปลาร้าสามารถแบ่งออกได้ 3 แบบได้แก่ ปลาร้าหน่องที่มีสีดำและกลิ่นแรง ส่วนปลาร้าเข่งจะมีรสอ่อนกว่า และลักษณะเหลวกว่า ส่วนแบบสุดท้ายจะเป็นการผสมของปลาร้าสองแบบแรก

 

ปูดอง

คุณรู้หรือไม่ว่าคนไทยกินส้มตำเยอะมาก มาาาาากกกกกกก จนเราต้องนำเข้าปูมาจากประเทศเมียนมาร์? หลังๆ มานี้บางร้านเริ่มใช้ปูนึ่ง ซึ่งคนรักส้มตำส่วนใหญ่ต่างพากันส่ายหน้าเพราะปูนึ่งมีความมันเลี่ยนจนกลบรสของปลาร้าและส้มตำเสียหมด

เรื่องเด่น
    เรื่องน่าสนใจอื่นๆ ที่คุณน่าจะชอบ
      การโฆษณา