SC Grand Jirarot
Tanisorn Vongsoontorn/Time Out BangkokSC Grand Jirarot

SC GRAND ธุรกิจรีไซเคิลสิ่งทอที่ทำให้แฟชั่นกับความยั่งยืนเป็นเรื่องเดียวกัน

คุยกับ จิรโรจน์ พจนาวราพันธุ์ ทายาทรุ่น 3 ของ SC GRAND หนึ่งในศูนย์กลางการรีไซเคิลสิ่งทอที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Time Out Bangkok in association with SC GRAND
การโฆษณา

เชื่อไหมว่า อีก 25 ปีต่อจากนี้ เราจะขาดแคลนน้ำสะอาดและจะมีคนเดือดร้อนกว่า 6 พันล้านคนทั่วโลก?

สมมุติฐานนี้อ้างอิงมาจากรายงานของ The United Nations World Water Development เมื่อปี 2018 ซึ่งสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ แน่นอนว่าเป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และหลายคนอาจจะคิดไม่ถึงว่าสาเหตุส่วนหนึ่งก็มาจากเรื่องใกล้ตัวเราอย่างเรื่องเครื่องนุ่งห่มซึ่งมีต้นทางมาจาก ‘อุตสาหกรรมสิ่งทอ’ ผู้ร้ายที่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับสองของโลก รองจากอุตสาหกรรมปิโตรเลียม

SC Grand Jirarot
Tanisorn Vongsoontorn/Time Out Bangkok

ทุกขั้นตอนในการผลิตเสื้อผ้าเพียง 1 ตัว นับตั้งแต่การปั่นด้าย การย้อมผ้า ไปจนถึงการทอผ้า ล้วนสร้างขยะจำนวนมหาศาล หรือแม้แต่การซักเสื้อผ้าของเราก็ส่งผลให้เกิดการปล่อยไมโครพลาสติกและสารมลพิษ ซึ่งท้ายที่สุดก็จะลงไปที่แหล่งน้ำธรรมชาติ

ด้วยเหตุนี้ แฟชั่นแบรนด์ระดับโลกหลายเจ้า จึงเริ่มให้ความสำคัญกับการนำ ‘ของเสีย’ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตเสื้อผ้า มาเปลี่ยนเป็น ‘ของใหม่’ หรือที่เรียกว่า Sustainable Fashion กันมากขึ้น ซึ่งจริงๆ บ้านเราก็มีคนริเริ่มทำเรื่องนี้มานานตั้ง 50 ปี แล้ว นั่นคือ บริษัท แสงเจริญ แกรนด์ จำกัด หรือ SC GRAND ที่ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของ 'วัธ - จิรโรจน์ พจนาวราพันธุ์' ทายาทรุ่นที่ 3

SC Grand Jirarot
Tanisorn Vongsoontorn/Time Out Bangkok

คุณวัธ เล่าถึงกระแส Sustainable Fashion ทั้งในต่างประเทศและในไทยให้เราฟังว่า ตอนนี้ประเด็นเรื่องความยั่งยืนและแฟชั่นที่ไม่สร้างขยะ กลายเป็นสิ่งที่แบรนด์แฟชั่นสตรีตอย่าง H&M และ Zara ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ โดยตั้งเป้าหมายใหญ่คือการลดปริมาณขยะ ส่วนแบรนด์ไทย การผลิตงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมยังเป็นที่ยอมรับค่อนข้างน้อย และการรับรู้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของลูกค้าก็ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ SC GRAND ก็หวังที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับวงการแฟชั่นไทย

SC GRAND เริ่มต้นมาจากจากการเป็นโรงงานรับซื้อเสื้อผ้าเก่ามาคัดแยกเฉดสีเพื่อส่งขายทั้งในและต่างประเทศ จากนั้นไม่นานก็สร้างโรงงานผลิตเส้นด้ายจากเสื้อผ้าเก่าขึ้นโดยทายาทรุ่น 2 และปัจจุบันก็กำลังก้าวสู่การเป็น Top 3 ของศูนย์กลางการรีไซเคิลสิ่งทอที่โดดเด่นที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ได้ภายใน 5 ปี โดยยึดหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งถือเป็นดีเอ็นเอหลักของ SC GRAND

SC Grand Jirarot
Tanisorn Vongsoontorn/Time Out Bangkok

ความท้าทายของการทำเสื้อผ้าจากเสื้อผ้าเก่าคือเรื่องของสีที่ต่างกัน รวมถึงคุณภาพและธรรมชาติของเนื้อผ้า เพื่อให้ได้ผ้าคุณภาพดีและใกล้เคียงกับเนื้อผ้าปกติมากที่สุด SC GRAND ต้องอาศัยทั้งการประยุกต์เครื่องจักรให้มีความเหมาะสมบวกกับประสบการณ์อันยาวนานในอุตสาหกรรมนี้

SC Grand Jirarot
Tanisorn Vongsoontorn/Time Out Bangkok

“นี่คือจุดยาก แต่เรามองว่าเป็นเสน่ห์ของเสื้อที่ทำจากด้ายรีไซเคิล ถ้าคนที่ทำงานด้านแฟชั่นมาดูจะเห็นว่ามันมีขุย ดูไม่แพง นั่นเพราะเราไม่ได้นำเข้าฝ้ายใหม่จากต่างประเทศ แต่เราสามารถเล่าได้ว่ามันมาจากด้ายรีไซเคิลคอตตอน 75% เราเอาของเก่ามาทำใหม่” คุณวัธ พูดถึงความท้าทายในการทำงาน

SC Grand Jirarot
Tanisorn Vongsoontorn/Time Out Bangkok

ตอนนี้ความพยายามในการสร้าง Sustainable Fashion ของ SC GRAND เริ่มเป็นที่ยอมรับแล้วโดยเฉพาะในกลุ่มโลคัลแบรนด์อย่าง Selvedgework และ Khaki Bros ที่ได้ร่วมกับ SC GRAND ผลิตเสื้อยืดเสื้อโปโลและแจ็กเก็ตยีนส์จากเส้นด้ายรีไซเคิล และภายในสิ้นปีนี้ SC GRAND ก็จะร่วมมือกับแบรนด์เสื้อผ้าหญิงไทยเพื่อทำชุดสวยๆ ที่เป็นมิตรต่อโลก รวมถึงวางแผนที่จะเปิดตัวแบรนด์เสื้อผ้าของตัวเองในชื่อ CIRCULAROEM

SC Grand Jirarot
Tanisorn Vongsoontorn/Time Out Bangkok

นี่คงพิสูจน์ได้แล้วว่า SC GRAND คือหนึ่งในผู้นำเรื่อง Sustainable Fashion ทั้งในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยิ่งไปกว่านั้นก็คือการทำให้ตลาดนี้เป็นที่รู้จักและสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น แต่ SC GRAND จะยังไม่หยุดเพียงเท่านี้แน่นอน เพราะคุณวัธแย้มกับเราว่า ยังมีโปรเจ็กต์ใหม่ที่น่าตื่นเต้นอีกหลายอย่าง ซึ่งทุกคนจะได้เห็นเร็วๆ นี้

SC Grand
เรื่องเด่น
    เรื่องน่าสนใจอื่นๆ ที่คุณน่าจะชอบ
      การโฆษณา