Traveling Treasures

  • Art, แสดงผลงานศิลปะ
  1. Traveling treasures by Patipat Chaiwitesh
    Tanisorn Vongsoontorn
  2. Traveling treasures by Patipat Chaiwitesh
    Tanisorn Vongsoontorn
  3. Traveling treasures by Patipat Chaiwitesh
    Tanisorn Vongsoontorn
  4. Traveling treasures by Patipat Chaiwitesh
    Tanisorn Vongsoontorn
  5. Traveling treasures by Patipat Chaiwitesh
    Tanisorn Vongsoontorn
  6. Traveling treasures by Patipat Chaiwitesh
    Tanisorn Vongsoontorn
  7. Traveling treasures by Patipat Chaiwitesh
    Tanisorn Vongsoontorn
  8. Traveling treasures by Patipat Chaiwitesh
    Tanisorn Vongsoontorn
การโฆษณา

Time Out พูดว่า

"ผมลองคุยกับวัยรุ่นอายุประมาณ 10-20 ปี พวกเขาบอกว่าการเผาเป็นสิ่งที่ต้องทำ เพราะกลัวบรรพบุรุษจะไม่มีเงินใช้"

เราไม่แน่ใจว่าสำหรับคนที่เกิดและโตมากับวัฒนธรรมจีนเหมือนกับเรา จะเข้าใจสิ่งที่นิทรรศการนี้ต้องการสื่อหรือเปล่า เพราะในฐานะคนในครอบครัวหนึ่งที่ยังคงมีความเชื่อแบบคนจีนที่ฝังแน่น และการเผากระดาษก็ยังคงเป็นสิ่งที่ต้องทำทุกเทศกาลหรือวันสำคัญ หากวันหนึ่งต้องเปลี่ยนการประกอบพิธีกรรมเหล่านั้นเพื่อรักษ์สิ่งแวดล้อม ก็คิดว่าอาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับหลายคนในทุกครอบครัวแน่นอน

ความน่าสนใจของนิทรรศการ Traveling treasures คือการพยายามนำเสนอทางออกที่ยังคงไม่ทิ้งความเชื่อทางพิธีกรรม แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถลดมลพิษได้ด้วยชิ้นงานศิลปะ ซึ่งทั้งหมดเป็นไอเดียของ คุณเต้ - ปฏิพัทธิ์ ชัยวิเทศ ศิลปินและนักออกแบบที่ในงานครั้งนี้เขาเกิดแรงบันดาลมาจากตอนอาศัยที่ไต้หวัน ซึ่งเป็นเมืองอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทว่าช่วงเทศกาลกลับมีค่าฝุ่นพุ่งสูง เนื่องจากการเผากระดาษส่งให้บรรพบุรุษ

"ผมสนใจประเด็นนี้ เพราะว่าไม่เกี่ยวกับประเด็นสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่มันมีเรื่องวัฒนธรรมที่ฝังแน่นจนไม่สามารถเปลี่ยนได้เข้ามาเกี่ยวด้วย แม้จะมีการรณรงค์หรือมีแอปฯ เผากระดาษ ก็ไม่สามารถตอบสนองความเชื่อของผู้คนได้อยู่ดี"

นิทรรศการนี้เคยจัดแสดงที่ไต้หวันมาก่อน ซึ่งมีเพียงชิ้นงาน Reply message ที่เป็นตัวอักษรจีนซึ่งทำจากขี้เถ้าเท่านั้น แม้คนรุ่นใหม่ที่ได้เห็นผลงานนี้จะเข้าใจสิ่งที่นิทรรศการต้องการสื่อ แต่หลายๆ คนก็เชื่อว่าพิธีกรรมเผากระดาษไม่สามารถเปลี่ยนไปได้อยู่ดี โดยเมื่อนำมาจัดแสดงที่ประเทศไทย ก็ได้เพิ่มชิ้นงานรูปแบบอื่นๆ เข้ามาอีกด้วย

การจัดแสดงแบ่งเป็น 2 ห้อง ห้องแรกเหมือนการเตือนภัยหรือเป็นถ้อยคำที่บรรพบุรุษอาจต้องการบอกเรา ผ่านตัวอักษรจีนที่ทำจากขี้เถ้า อย่างเช่นบางคำที่แปลว่า ชั้นบรรยากาศกำลังร้องไห้ อากาศไม่ดีนะ บรรพบุรุษเขาทำกันมาทุกปี หรือไม่ต้องเผามาแล้ว พวกเรารวยแล้ว

"ผมเริ่มจากการหาข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการการผลิตวัสดุที่ใช้ในพิธีกรรมก่อน อย่างเช่นกระดาษเผา ซึ่งผมก็พยายามหาต่อว่ามีวัสดุอะไรบ้างที่เผาแล้วยังคงรูปเดิมอยู่ เพื่อที่จะไม่ต้องเผาซ้ำ"

ในห้องที่สอง คุณเต้ต้องการนำเสนอแนวทางใหม่ ที่พวกเรายังสามารถส่งสารไปให้บรรพบุรุษได้ เพียงแค่เปลี่ยนวัสดุและรูปแบบในการเผาเท่านั้น อย่างเช่น เปลี่ยนจากกระดาษเงินกระดาษทอง มาเป็นผลงานกระดาษเคลือบที่เผาแล้วกลายเป็นเซรามิก ที่สามารถนำไปใช้เป็นของแต่งบ้านต่อได้

"ความเชื่อในวัฒนธรรมที่ฝังลึกมาหลายร้อยปีมันยากที่จะเลิกหรือเปลี่ยน แต่การนำเสนอแนวทางใหม่ๆ ให้ทุกคนเห็น ผมเชื่อว่าอาจมีคนนำไอเดียเหล่านี้ไปต่อยอด และทำให้เป็นจริงขึ้นมาได้ หรืออย่างน้อยก็ช่วยลดปริมาณการเผาได้ก็ยังดี"

Kenika Ruaytanapanich
เขียนโดย
Kenika Ruaytanapanich

รายละเอียด

ที่อยู่
ราคา
เข้าชมฟรี
เปิดบริการ
10.00 น.
การโฆษณา
เรื่องน่าสนใจอื่นๆ ที่คุณน่าจะชอบ