Church of the Blessed Sacrament
Tanisorn Vongsoontorn/Time Out Bangkok

ชมความงดงามที่สะท้อนศรัทธาอันหลากหลายของคนกรุงเทพฯ ในโบสถ์ วัด และมัสยิดทั่วเมือง

นอกจากจะเป็นเครื่องสะท้อนศรัทธาอันยิ่งใหญ่แล้ว บางสถานที่ก็กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของกรุงเทพฯ ด้วย

Suriyan Panomai
เขียนโดย
Suriyan Panomai
การโฆษณา

กรุงเทพฯ ก็เหมือนกับเมืองหลวงหลายๆ แห่งทั่วโลก ที่เป็นศูนย์กลางของความหลากหลายทั้งในเรื่องของเชื้อชาติ วัฒนธรรม รวมถึงความเชื่อทางศาสนา แม้ว่าคนไทยจะนับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก แต่ศาสนาอื่นๆ เช่น ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาซิกข์ ฯลฯ ก็เป็นที่เคารพนับถือของคนไทยจำนวนมากเช่นกัน

และด้วยความหลากหลายนี้ก็ทำให้กรุงเทพฯ มีศาสนสถานที่งดงามให้เราเห็นอยู่ทั่วเมือง วันนี้เราเลยขอพาทุกคนไปสัมผัสความงดงามของ โบสถ์ วัด และมัสยิด 10 แห่ง ในกรุงเทพฯ ที่นอกจากจะเป็นเครื่องสะท้อนศรัทธาอันยิ่งใหญ่ของเหล่าผู้คนที่นับถือศาสนานั้นๆ แล้ว บางสถานที่ก็กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของกรุงเทพฯ ด้วย

  • 5 จาก 5 ดาว
  • Attractions
  • สิ่งก่อสร้างทางศาสนา
  • บางกอกใหญ่
  • แนะนำ

วัดแห่งนี้มีพระปรางค์อันโด่งดังที่มีลักษณะผอมเพรียว สูงชะลูด ฐานใหญ่ หรือเรียกว่าทรงจอมแห ซึ่งสร้างตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นดินเลน จึงจำเป็นต้องทำฐานใหญ่เพื่อป้องกันการทรุดตัว

พระปรางค์วัดอรุณฯ ออกแบบตามลักษณะทางกายภาพของเขาพระสุเมรุ ที่ประกอบด้วยชาน ๕ ชั้น แต่ละชั้นมีกองรักษาสวรรค์ อันได้แก่ นาค ครุฑ กุมภัณฑ์ อสูร และเทวดา โดยมีพระอินทร์ประดิษฐานอยู่บนสุด คอยสอดส่งดูแลผู้คน ตามความเชื่อ ส่วนยอดพระปรางค์มีมงกุฎประดับไว้เป็นสัญลักษณ์ให้ชาวต่างชาติที่เดินทางมายังสยามรับรู้ว่า สยามมีจักรพรรดิราชและมีรูปแบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

  • Attractions
  • สิ่งก่อสร้างทางศาสนา
  • รัตนโกสินทร์

อาคารหลังคาโดมสีทองใกล้หัวมุมถนนพาหุรัดตัดกับถนนจักรเพชร คือ ศาสนสถานอันวิจิตรของชนชาวซิกข์ หรือ 'แขกโพกหัว' ที่สร้างขึ้นใหม่โดยได้รับอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมมาจากคุรุดวาราฮัรมันดิรซาฮิบ (สุวรรณวิหาร) ในประเทศอินเดีp ซึ่งเป็นศาสนสถานที่มีความสำคัญและเป็นศูนย์รวมของศาสนิกชนชาวซิกข์ทุกคน

การโฆษณา
  • Attractions
  • สิ่งก่อสร้างทางศาสนา
  • รัตนโกสินทร์

วัดประจำรัชกาลที่ 5 ที่มีความงดงามจากการตกแต่งพระอุโบสถ วิหาร เจดีย์ และระเบียงแก้ว ด้วยกระเบื้องเคลือบลายเบญจรงค์เขียนมือ มีพระอุโบสถที่ผสมผสานลักษณะสถาปัตยกรรมไทยและยุโรป ด้วยรูปทรงอาคารภายนอกแบบไทยประเพณี มีกรอบซุ้มด้านนอกทำเป็นยอดปราสาท กับหน้าบันมุขรูปนารายณ์ทรงครุฑ ซึ่งมักจะพบในพระอารามหลวงที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์ ส่วนภายในที่ออกแบบโดยหม่อมเจ้าประวิช ชุมสายได้นำเอาไอเดียนำเอาการตกแต่งแบบกอธิคมาใช้กับเพดาน เสา ทำให้มีลักษณะคล้ายโบสถ์คริ

  • 5 จาก 5 ดาว
  • Attractions
  • สิ่งก่อสร้างทางศาสนา
  • สาทร
  • แนะนำ

รูปแบบสถาปัตยกรรมของโบสถ์เซนต์หลุยส์เป็นแบบกอธิกผสมผสานกับความร่วมสมัย โดยออกแบบให้มีลักษณะโปร่ง สูง ด้วยเพดานทรงโค้งแหลม และคงไว้ซึ่งความเรียบง่ายด้วยการเลือกใช้อิฐแดงเป็นวัสดุหลัก ผู้ออกแบบคือสถาปนิกชาวไทย แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นใคร

การก่อสร้างก็แล้วเสร็จและมีพิธีเสกไม้กางเขนในวันที่ 25 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1956 ปัจจุบันผ่านมา 64 ปีแล้ว แต่หน้าตาของโบสถ์หลังนี้ยังดูใหม่เอี่ยมอ่องทั้งภายในภายนอก อาจจะเป็นเพราะวัสดุหลักที่ใช้นั้นเป็นอิฐแดงทั้งหลังจึงง่ายต่อการดูแลรักษา

การโฆษณา
  • 5 จาก 5 ดาว
  • Attractions
  • สิ่งก่อสร้างทางศาสนา
  • สีลม
  • แนะนำ

วัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือที่รู้จักกันดีว่า วัดแขก สีลม เป็นวัดฮินดูที่เรียกได้ว่าศักดิ์สิทธิ์และมีชื่อเสียงที่สุดในกรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนถนนสีลม ตรงหัวมุมจะเข้าถนนปั้น โด่ดเด่นด้วยสีสันและสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ที่นี่ถูกสร้างมากว่า 100 ปีแล้ว การันตีได้ถึงความเก่าแก่ ด้านในเป็นที่ประดิษฐานของงมหาเทพและมหาเทวีในศาสนาฮินดู เช่น พระศรีอุมาเทวี หรือพระแม่อุมา พระพิฆเนศ พระวิษณุ พระแม่ลักษมี และอีกมากมายหลายองค์ 

  • Attractions
  • สิ่งก่อสร้างทางศาสนา
  • ตลิ่งชัน

หากดูผ่านๆ บางคนอาจคิดว่าสถานที่แห่งนี้เป็นแกลอรี่ศิลปะที่ดูทันสมัย แต่ความจริงแล้วที่แห่งนี้คือสถานที่ทางศาสนาต่างหาก โบสถ์ศีลมหาสนิท มีจุดเด่นที่หอคอยสูง 50 เมตรที่มองเห็นได้จากที่ไกลๆ ตั้งอยู่ในย่านตลิ่งชัน ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อ มาโนช สุขชัย ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากรูปทรงของขนมปังศักดิ์สิทธิ์ ที่ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์ โครงสร้างของหลังคาโค้งทำจากวัสดุคอนกรีตเปลือย กระจก และโลหะ ส่วนทางเดินที่ลาดยาวทอดไปสู่บริเวณทางเข้าหลักนั้น สถาปนิกได้แรงบันดาลใจมาจากความเชื่อนิกายคาทอลิกที่ว่า มนุษย์เกิดมาจากดิน และสุดท้ายก็กลับสู่ดิน

การโฆษณา
  • Attractions
  • สิ่งก่อสร้างทางศาสนา
  • ธนบุรี
โบสถ์คาธอลิกเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2313 โดยแต่เดิมนั้นก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง จนกระทั่งโบสถ์ไม้เสียหายจากเพลิงไหม้ในปี พ.ศ. 2459 จึงได้รับการบูรณะใหม่เป็นโครงสร้างปูน วังซางตาครู้สมีความโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมแบบเรอเนสซองส์ผสมนีโอคลาสสิก และยอดโดมสีแดงเด่นเป็นสง่าที่มีรูปร่างคล้ายคลึงกับโดมของมหาวิหารฟลอเรนซ์ เห็นได้อย่างชัดเจนแม้ว่าจะอยู่อีกฟากของแม่น้ำเจ้าพระยา
  • Attractions
  • สิ่งก่อสร้างทางศาสนา
  • รัตนโกสินทร์
หากคุณไปเดินท่องเที่ยวแถวๆ พระอาทิตย์ หรือ ย่านท่องเที่ยวอย่าง ข้าวสาร อาจจะลองมองหาป้ายหน้าตรอกเล็กๆ ที่เขียนว่า ‘มัสยิดจักรพงษ์’ ดู ซึ่งด้านในตรอกนี้เป็นที่ตั้งของมัสยิดแห่งแรกในเขตพระบรมมหาราชวังที่ยังอยู่ในสภาพดี ที่สร้างขึ้นตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) หลังจากกวาดต้อนเชลยศึกจากหัวเมืองปัตตานีมาได้ และให้ตั้งชุมชนอยู่ใกล้กับแขกตานีเดิมในบริเวณนี้ มีลักษณะเป็นอาคารสูง 2 ชั้น สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมอาหรับผสมเปอร์เซีย ประดับด้วยกรอบไม้ฉลุรูปทรงเราขาคณิต กรุกระจกสีต่างๆ ที่นี่ยังเป็นชุมชนมุสลิมเก่าแก่ที่มีเชื้อสายของแขกตานี ซึ่งเคยมีชื่อเสียงมากในฐานะชุมชนช่างทองของพระนครอีกด้วย
การโฆษณา
  • 5 จาก 5 ดาว
  • Things to do
  • เยาวราช
  • แนะนำ

โบสถ์กาลหว่าร์ แฝงตัวอยู่ในย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ สวยเด่นกว่าใครด้วยสถาปัตยกรรมแบบกอธิกที่ส่วนหน้าจะเป็นยอดแหลมพุ่งสูงและประดิษฐานไม้กางเขน ขอบซุ้มประตูหน้าต่างเน้นโครงสร้างทรงโค้งแหลม โบสถ์หลังนี้คือโบสถ์หลังที่ 3 ที่สร้างขึ้นใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1890 - 1891 ตามเจตนารมณ์ของคุณพ่อ เอเตียน บาร์เทโลมี แดส์ซาลส์ เจ้าอาวาสชาวฝรั่งเศส หลังจากโบสถ์ 2 หลังแรกทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ปัจจุบันอายุรวมของโบสถ์หลังนี้อยู่ที่ 128 ปี และได้ขึ้นทะเบียนอนุรักษ์เป็นโบราณสถานโดยกรมศิลปากรแล้ว

ชื่อโบสถ์ ‘กาลหว่าร์’ ที่ฟังดูแปลกหูนี้เป็นชื่อที่ถูกเปลี่ยนใหม่ในภายหลังหรือจะเรียกว่าเพี้ยนก็ได้ โดยเพี้ยนมาจากชื่อของโบสถ์หลังแรกที่ชื่อว่า ‘โบสถ์กาลวารีโอ’ ซึ่งตั้งตามชื่อภูเขาที่พระเยซูถูกตรึงไม้กางเขน

  • 5 จาก 5 ดาว
  • Attractions
  • สิ่งก่อสร้างทางศาสนา
  • เจริญกรุง
  • แนะนำ

อาสนวิหารอัสสัมชัญ หรือ ‘โบสถ์อัสสัมชัญ’ คือหนึ่งในโบสถ์ที่สวยที่สุดในประเทศไทย ณ ค.ศ. นี้ เดิมทีเคยเป็นโบสถ์ก่ออิฐถือปูนหลังเล็กๆ ที่สร้างขึ้นด้วยเงินบริจาคจำนวน 1,500 บาท ในปี ค.ศ. 1820 โดยคุณพ่อปาสกัล ชาวไทย-โปรตุเกส โบสถ์ที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้เป็นหลังที่ 2 สร้างขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับการขยายตัวของประชากรชาวคริสตัง โดยเริ่มก่อสร้างในปี ค.ศ. 1909 ยุคที่คุณพ่อเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ บาทหลวงชาวฝรั่งเศส เป็นเจ้าอาวาสวัด และเสร็จสมบูรณ์ในอีก 9 ปีต่อมา

เรื่องเด่น
    เรื่องน่าสนใจอื่นๆ ที่คุณน่าจะชอบ
      การโฆษณา