Get us in your inbox

Suriyan Panomai

Suriyan Panomai

Senior Writer, Time Out Bangkok

นักเขียนที่ใช้งานเขียนพัฒนาตัวเองเพื่อพัฒนางานเขียน

Articles (153)

กราบพระ ไหว้เจ้า เสริมสิริมงคลใน 10 วัดและศาลเจ้ารอบกรุงเทพฯ

กราบพระ ไหว้เจ้า เสริมสิริมงคลใน 10 วัดและศาลเจ้ารอบกรุงเทพฯ

วัดและศาลเจ้าหลายแห่งในกรุงเทพฯ มีความสำคัญทั้งในแง่ศาสนสถานที่ผู้คนให้ความเคารพบูชาและในแง่ของสถานที่ท่องเที่ยว เพราะมีสถาปัตยกรรมอันงดงามทรงคุณค่าและเรื่องราวทางประวัติที่น่าสนใจ ตรุษจีนนี้เราจะพาทัวร์วัดและศาลเจ้าที่ขึ้นชื่อของกรุงเทพฯ ถึง 10 แห่งด้วยกัน ลิสต์คำขอพรไว้ให้พร้อมแล้วตามเรามาได้เลย

10 หนัง Feel Good น่าดูช่วงครึ่งปีแรก 2567

10 หนัง Feel Good น่าดูช่วงครึ่งปีแรก 2567

ตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป เราน่าจะได้ร่วมลุ้นการประกาศรางวัลหนังจากเวทีต่างๆ ทั่วโลก เป็นสีสันช่วงต้นปีเหมือนทุกๆ ปีที่ผ่านมา วันนี้เราเลยอยากชวนทุกคนมาจดลิสต์หนังใหม่น่าดูในปี 2024 กันสักหน่อย ซึ่งเราคัดมาเฉพาะหนังฟีลกู๊ด ดูแล้วใจฟูหรือมียิ้มเปื้อนน้ำตากันแน่นอน และบางเรื่องในลิสต์นี้มีโอกาสคว้าออสการ์ด้วยนะ

Best of 2023: 10 บาร์เปิดใหม่ที่ดีที่สุดในปี 2023

Best of 2023: 10 บาร์เปิดใหม่ที่ดีที่สุดในปี 2023

ส่งท้ายปีให้นักดื่มที่ติดตามคอนเทนต์ค็อกเทลบาร์เปิดใหม่จากเรามาตลอดทั้งปี ด้วยลิสต์ 10 บาร์ที่เรายกให้เป็น Best New Bars ประจำปี 2023 ปีที่ผ่านมาว่าคึกคักแล้ว พอมาปี 2023 ต้องบอกว่าคึกคักยิ่งกว่า เพราะเป็นปีที่บาร์เปิดกันแบบไม่พักเลยตั้งแต่ต้นปียันปลายปี มีทั้งการขยายอาณาจักรของทีมบาร์ใหญ่ๆ และการเดบิวต์สู่วงการบาร์ของเจ้าของหน้าใหม่ๆ เป็นบรรยากาศที่เราชื่นชอบ จำนวนบาร์เปิดใหม่ตลอดทั้งปีนี้รวมๆ กันน่าจะหลายสิบร้าน แต่ถ้าให้เลือกบาร์ในใจเรา นี่คือ 10 บาร์เปิดใหม่ในปี 2023 ที่เราอยากบอกต่อ

อัปเดตพิกัด 12 บาร์สุดคูลในย่านซอยนานา-เยาวราช

อัปเดตพิกัด 12 บาร์สุดคูลในย่านซอยนานา-เยาวราช

ย่านเยาวราชหรือไชน่าทาวน์ของเมืองไทย โดยเฉพาะซอยนานา ที่เราต้องแวะเวียนไปกินอาหารจีนและอาหารทะเลอร่อยๆ มากันตั้งแต่ยังเป็นเด็ก กลายร่างกลายเป็นแอเรียสุดฮิปที่เรียงรายไปด้วยบาร์เจ๋งๆ ที่เราอยากชวนให้ทุกคนเปิดประตูเข้าไปนั่งสนทนากับบาร์เทนเดอร์ สั่งเครื่องดื่มที่ผสมผสานไอเดียสุดบรรเจิดและวัตถุดิบพิสดาร และจิบค็อกเทลนั้นท่ามกลางบรรยากาศสุดพิเศษ เคล้ากับบทสนทนากับคนสนิทยาวๆ ไปค่อนคืน ปล. ถ้าเมาแล้วอย่าขับรถกลับนะ

ชิลริมเจ้าพระยา ชิมของอร่อยใน 11 ร้านเด็ดที่ท่าพระจันทร์

ชิลริมเจ้าพระยา ชิมของอร่อยใน 11 ร้านเด็ดที่ท่าพระจันทร์

ชวนไปเดินลัดเลาะย่าน ‘ท่าพระจันทร์’ ที่นอกจากจะเป็นตลาดพระเครื่องที่โด่งดังมากแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ แล้ว ยังเป็นแหล่งรวมของกินอร่อยๆ อีกนับสิบร้าน ไม่ว่าจะเป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ ข้าวหน้าเนื้อ โรตีมะตะบะ หมูทอด ฯลฯ ที่สำคัญคือท่าเรือแห่งนี้อยู่ติดกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตท่าพระจันทร์ ลูกค้าจำนวนไม่น้อยก็เป็นน้องๆ นักศึกษา เพราะฉะนั้นราคาจึงย่อมเยา ใครอยากชิมของอร่อย ราคาสบายกระเป๋า กับบรรยากาศดีๆ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตามเรามาได้เลย

นิทรรศการศิลปะห้ามพลาดตลอดเดือนนี้

นิทรรศการศิลปะห้ามพลาดตลอดเดือนนี้

ถึงเวลาอัปเดตนิทรรศการศิลปะน่าดูกันอีกครั้ง เผื่อเป็นไอเดียดีๆ ให้คนที่อยากจูงมือแม่ไปดูงานศิลปะด้วยกันช่วงวันแม่ที่จะถึงนี้ เดือนนี้เรามัดรวมนิทรรศการใหม่มาแนะนำทั้งหมด 13 งานด้วยกัน ไฮไลต์ที่ห้ามพลาดคือ FLOCK OF... Discover the supernatural nature of floating fish นิทรรศการ interactive art ที่ใช้เทคโนโลยีสุดล้ำมาสร้างฝูงปลาให้แหวกว่ายกลางอากาศราวกับมีชีวิตที่ True Digital Park west รวมถึงงาน GroundPLAY! อีเวนต์ศิลปะออนกราวนด์ครั้งแรกของ GroundControl ที่ชวนทุกคนไปสนุกกับโลกศิลปะร่วมกับ 50 ศิลปินชื่อดังที่บ้านตรอกถั่วงอก   See also: รวมพิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ และแกลเลอรีย่านเจริญกรุง อีเวนต์และกิจกรรมน่าสนใจประจำสัปดาห์  

8 บาร์ที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ จาก Asia’s 50 Best Bars 2023

8 บาร์ที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ จาก Asia’s 50 Best Bars 2023

เปิดตี้กลางสัปดาห์กันไปเลย เพื่อฉลองบาร์ที่ดีที่สุดในเอเชียประจำปีนี้ หรือ Asia’s 50 Best Bars 2023 ที่เพิ่งประกาศไปเมื่อคืนที่ผ่านมา (18 ก.ค.) ที่โรงแรมโรสวู้ด ฮ่องกง โดยปีนี้มี 4 บาร์จากกรุงเทพฯ ติดอันดับ 1-50 และอีก 4 บาร์ที่ติดอันดับ 51-100 กลายเป็น 8 บาร์ที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ ณ ขณะนี้ และนี่คือทุกบาร์จากกรุงเทพฯ ที่ได้รางวัลในปีนี้

15 ร้านอาหารริมทางเจ้าเด็ดย่านบางลำพูที่ส่งต่อความอร่อยจากรุ่นสู่รุ่น

15 ร้านอาหารริมทางเจ้าเด็ดย่านบางลำพูที่ส่งต่อความอร่อยจากรุ่นสู่รุ่น

คนรุ่นใหม่อาจจะรู้จักบางลำพูในฐานะแหล่งรวมเสื้อผ้าโหล ชุดนักเรียน และเป็นย่านที่อยู่ติดกับถนนข้าวสาร แต่ถ้าเป็นเมื่อสมัยคุณย่าคุณยายเรา บางลำพูนี่ก็สยามสแควร์ดีๆ นี่เอง ย่านการค้านี้เติบโตขึ้นจากการค้าทางน้ำที่ขยายตัวหลายร้อยปีก่อนในช่วงที่มีการตัดคลองรอบกรุง บางลำพูกลายเป็นท่าน้ำขนถ่ายและแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างฝั่งธนบุรีและฝั่งพระนคร และยิ่งมีการตัดถนนเชื่อมจากถนนสามเสนในช่วงรัชกาลที่ 5 ความคึกคักของบางลำพูในฐานะศูนย์กลางการค้าของเกาะรัตนโกสินทร์ก็ขยายไปไม่หยุด ทุกวันนี้สถานะของบางลำพูคือย่านเก่าแก่ของกรุงเทพฯ คนรุ่นใหม่อาจจะคุ้นเคยแถวนั้นบ้างจากการไปแฮงเอาต์ที่ถนนข้าวสาร แต่ถ้าถามคนรุ่นเก่าจะรู้ดีว่าบางลำพูเป็นแหล่งรวมของอร่อยไม่แพ้แหล่งสตรีตฟู้ดใหม่ๆ รอบกรุงเทพฯ หลายๆ ร้านขายกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ส่งต่อความอร่อยกันรุ่นต่อรุ่นจนถึงปัจจุบัน เชื่อเลยว่าถ้านับอายุแต่ละร้านรวมกันน่าจะแตะหลักพันปีไปแล้ว ถ้าไม่เด็ดจริงคงอยู่มาทุกยุคแบบนี้ไม่ได้ ถ้ายังไม่เชื่อเราขอท้าให้ไปพิสูจน์กับ 15 ร้านต่อไปนี้

ชวนสะพายกล้องออกตามล่า 'สตรีตอาร์ต' จุดไฮไลต์ทั่วกรุงเทพฯ

ชวนสะพายกล้องออกตามล่า 'สตรีตอาร์ต' จุดไฮไลต์ทั่วกรุงเทพฯ

เพราะ "ศิลปะคือการนอกกรอบ" ประโยคนี้เริ่มต้นมาจากใครก็ไม่แน่ใจนัก แต่เราเชื่อว่าเป็นคำอธิบายงานกราฟิตี้แนว street art ได้ดีทีเดียว จากเมื่อก่อนที่หลายคนมองว่าเป็นศิลปะที่เลอะเทอะ ไม่เป็นที่เป็นทาง แต่เมื่อศิลปินมีฝีมือเริ่มออกมาวาดกลางแจ้งกันมากขึ้น ซึ่งผลงานเหล่านั้นบางทีก็สะกิดความคิดบางอย่างในสังคมได้ดี ศิลปะแนวนี้จึงกลายเป็นที่ยอมรับ จนหลายประเทศจัดพื้นที่ขึ้นให้นักกราฟิตี้มาเพ้นต์ลวดลายได้ตามใจ แท้จริงแล้วเบื้องหลังการเกิดสตรีตอาร์ตมีความลึกซึ้งน่าสนใจไม่เบา โดยจุดเริ่มต้นครั้งแรกเกิดในช่วงปี 1920-1930 ที่เมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ เมื่อมีแก๊งหนึ่งพ่นลายเซนต์ลงบนขบวนรถไฟ ก่อนจะมีกลุ่มอื่นทำตามกันมาเรื่อยๆ จนเรียกว่ากลายเป็นวัฒนธรรมหนึ่งก็คงไม่ผิด อีกทั้งช่วงปี 1970 ก็มีการล้มล้างวัฒนธรรมขึ้นด้วย วัยรุ่นในยุคนั้นจึงเริ่มใช้กราฟิตี้เป็นเครื่องมือในการแสดงออกทางสังคม อาจเพราะเหตุการณ์เหล่านั้นเอง ทำให้กราฟิตี้เริ่มมีบทบาทในสังคมโลกมากขึ้น และกลายเป็นศิลปะอีกสไตล์หนึ่งที่ให้มากกว่าความสวยงาม แน่นอนว่าสตรีตอาร์ตที่เราจะชวนทุกคนออกไปตามล่ากันวันนี้ ก็เป็นชิ้นงานที่น่าสนใจและมีเรื่องราวซ่อนอยู่ไม่แพ้กัน ส่วนจะมีที่ไหนบ้างมาเริ่มกันเลยดีกว่า...

12 บาร์ที่เหมาะกับการไปนั่งชิลในคืนฝนพรำ

12 บาร์ที่เหมาะกับการไปนั่งชิลในคืนฝนพรำ

ช่วงนี้กรุงเทพฯ ฝนตกถี่ๆ นอกจากจะทำให้น้ำท่วมแล้ว ผลข้างเคียงอีกหนึ่งอย่างที่มาพร้อมสายฝนก็คือบรรยากาศเหงาๆ เราเลยอยากชวนคนเหงาออกไปหาอะไรทำ ให้คืนที่ฝนพรำมีสีสันขึ้นมาหน่อย และนี่คือ 12 บาร์ที่เราว่าเหมาะกับการเข้าไปนั่งหลบฝน เลือกร้านที่ใช่แล้วออกไปนั่งฟังเพลงกลบเสียงฝนกันได้เลย

อัปเดตบาร์และร้านอาหารเปิดใหม่ในย่านทองหล่อ-เอกมัย

อัปเดตบาร์และร้านอาหารเปิดใหม่ในย่านทองหล่อ-เอกมัย

เราไม่แปลกใจว่าทุกครั้งเวลาเราหาร้านอาหารอร่อยๆ ร้านกาแฟน่ารัก หรือร้านเสื้อผ้าที่นำสมัย ทองหล่อมักจะเป็นคำตอบแรกของพวกเราเสมอ นั้นก็เพราะทองหล่อคือย่านแสนคึกคัก ที่มีทุกอย่างที่เราต้องการ ตั้งแต่ร้านอาหารญี่ปุ่น ซูชิที่อร่อยที่สุด ร้านกาแฟน่านั่ง ไปจนถึง Cocktail Bar ที่ทุกคนไม่ควรพลาด

อัปเดตบาร์เปิดใหม่ในกรุงเทพฯ

อัปเดตบาร์เปิดใหม่ในกรุงเทพฯ

ต้อนรับครึ่งปีหลังของปี 2566 ด้วยลิสต์บาร์ใหม่ที่เราว่าน่าสนใจและอยากแนะนำให้เป็นที่แฮงเอาต์ใหม่ๆ ของทุกคน ซึ่ง 8 บาร์ที่ว่านี้มีตั้งแต่บาร์ค็อกเทลที่จริงจังเรื่องการคราฟต์เครื่องดื่ม คอนเซ็ปต์ชัดๆ ไปจนถึงร้านบรรยากาศสบายๆ แวะไปนั่งชิลๆ ได้ทุกวัน ใครชอบสไตล์ไหนแท็กชวนเพื่อนแล้วตามไปเช็กอินได้เลย (หรือจะเก็บให้ครบทุกร้านในลิสต์นี้เลยก็ได้นะ)

Listings and reviews (476)

Juitee Bangkok

Juitee Bangkok

4 out of 5 stars

ช่วงนี้เห็นร้านอาหารทั้งคาวและหวานจากภูเก็ตขึ้นมาเปิดที่กรุงเทพฯ กันพรึ่บ หนึ่งในนั้นคือ Juitee (จุ้ยตี๋) ร้านขนมหวานที่มาพร้อมของกินดับร้อนพื้นเมืองภูเก็ต เห็นแล้วรู้สึกว่าน่าสนใจจนต้องรีบไปทำความรู้จัก ย้อนกลับไปปี 2019 จุ้ยตี๋เปิดสาขาแรกเป็นคาเฟ่เล็กๆ ที่ถนนพังงา ภูเก็ต ขายขนมและเครื่องดื่มเหมือนคาเฟ่ทั่วไปโดยเน้นเอาเมนูขายดีจากกรุงเทพฯ ไปขายที่ภูเก็ต คำว่า ‘จุ้ยตี๋’ เป็นภาษาฮกเกี้ยน แปลว่า อ่างเก็บน้ำกลางบ้าน แล้วทำไมต้องเป็นจุ้ยตี๋? หลายคนคงเคยเห็นหรือได้ยินมาบ้างว่าบ้านของชาวภูเก็ตจะมีที่โล่งอยู่กลางบ้านที่เรียกว่า จิ่มแจ้ (หรือฉิ่มแจ้) และจะมีบ่อน้ำหรือ จุ้ยแจ้ อยู่ตรงกลาง สมัยก่อนน้ำในบ่อนี้ใช้ทั้งดื่ม ทำอาหารและซักล้างโดยจะมี จุ้ยตี๋ ซึ่งเป็นอ่างสำหรับเก็บน้ำให้พร้อมใช้ จุ้ยตี๋ ที่เป็นชื่อร้านจึงสื่อถึงแหล่งของความเย็นสบาย สดชื่น นั่นเอง ปัจจุบันจุ้ยตี๋ที่ภูเก็ต ได้เปลี่ยนไปเป็น Project Collaboration กับคาเฟ่ Mai Nam Shop House ถนนกระบี่ ขายเฉพาะ Signature Tiramisu และเปลี่ยนชื่อเป็น Juitee's Tiramisu กลับกันเมื่อมาบุกกรุงเทพฯ จุ้ยตี๋ก็ได้นำของดีภูเก็ตบ้านเกิดมาขายคนกรุง ชูคอนเซ็ปต์ Phuket Peranakan Desserts ที่นำของหวานท้องถิ่นสูตรดั้งเดิมที่เริ่มหาได้ยากมาทวิสต์ให้กินง่าย น่าสนใจ และเข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้มากขึ้น ดาวเด่นของร้านก็คือ โอ้เอ๋ว (220 บาท) ของหวานดับร้อนของชาวฮกเกี้ยน ลักษณะคือวุ้นใสๆ ทำจากเมล็ดโอ้เอ๋ว (คล้ายเมล็ดแมงลัก) แช่น้ำกับเยื่อกล้วยน้ำว้า ถ้าสั่งแบบดั้งเดิมก็จะมาพร้อมเฉาก๊วยและผลไม้ที่มีฤทธิ์แก้ร้อน ได้แก่ กล้วยน้ำว้า แตงโม แก้วมังกร เงาะ ถั่วแดง ราดน้ำเชื่อมโบราณสีแดงหอมกลิ่นนมแมวที่ร้านทำเอง ขนมอื่นๆ ก็มีทั้ง ‘อาโป้ง’ (125 บาท) ขนมคล้ายทองม้ว

101 ปี พระราชวังพญาไท The Glory of Siam

101 ปี พระราชวังพญาไท The Glory of Siam

ชวนไปเดินเล่นในวังกันเถอะ! ที่งาน ‘101 ปี พระราชวังพญาไท’ The Glory of Siam ฉลองอายุครบรอบ 101 ปีของพระราชวังพญาไทด้วยการเปิดให้เข้ายามค่ำคืนในรูปแบบ Night Museum เป็นครั้งแรก สวยตระการตาไปอีกแบบด้วยงานออกแบบและติดตั้งแสงเพื่อเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นใหม่ฟัง นี่คืองานรวมดาวของศิลปินและสตูดิโอออกแบบแถวหน้าของไทยที่มาร่วมแสดงผลงานในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็น AMA STUDIO ที่เชี่ยวชาญการสร้างภาพลักษณ์ให้แหล่งอนุรักษ์โบราณกลับมาเป็นที่พูดถึงใหม่ เช่น ล้ง1919, DecideKit ทีมออกแบบกราฟิกเคลื่อนไหวที่เก่งด้านการออกแบบกราฟิกที่เกี่ยวกับข้อมูล หลายคนน่าจะคุ้นชื่อจาก Bangkok Design Week และ Awakening Bangkok รวมถึง ณ สัทธา (Na Satta) ผู้ริเริ่มงานเทศกาลแสดงแสงไฟ Nasatta Light Festival จ.ราชบุรี, FOS Lighting Design ผู้ออกแบบและติดตั้งแสงสว่างภายนอกของงานสถาปัตยกรรมด้วยทีมงานที่จบการศึกษาและเชี่ยวชาญด้านแสงในงานสถาปัตกรรมมาโดยตรง และ LightSource ผู้ให้บริการระบบแสงชั้นนำของไทย ทั้งในคอนเสิร์ต อีเวนต์ และงานเอ็นเตอร์เทนเมนต์ทั้งในและต่างประเทศ โดยทั้งหมดมาร่วมแสดงศักยภาพในการสร้างสรรค์ผลงานและระบบแสงสีเสียงที่ทันสมัยโดยฝีมือคนไทย การจัดแสดงจะมีทั้งหมด 6 โซน โดย 2 โซนแรกที่เกี่ยวกับการออกแบบแสงทั้งภายในและภายนอกเพื่อนำเสนอสถาปัตยกรรม จะเปิดให้เข้าชมฟรี ที่เหลืออีก 4 โซน จะมีค่าเข้าชม (รายอะเอียดด้านล่าง) มีทั้งงานติดตั้งไฟที่ได้รับแรงบันดาลใจจากบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 งาน projection mapping ที่เล่าเรื่องราวในอดีตของพระราชวังพญาไท และเรื่องมัทนะพาธา ซึ่งบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 การจัดแสดงแสงไฟนับพันดวงบนสนามหญ้า และการย้อมไฟใส่ต้นไม้ เป็นต้น 101 ปี พระราชวังพญาไท The Glory of Siam โด

Thai National Book Fair 2024

Thai National Book Fair 2024

The National Book Fair returns to the Queen Sirikit Center for its 52nd edition, offering bookworms a chance to add to their stacks from millions of tomes, old and new, available at discounted prices. The event is accompanied by the International Book Fair.

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ งานหนังสือต้นปีที่นักอ่านและนักดองหนังสือรอคอยกลับมาอีกครั้งปลายเดือนมีนาคม พร้อมกับงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติเช่นเคย ครั้งนี้ชวนนักอ่านมืออาชีพ นักอ่านทีมชาติ นักอ่านมือสมัครเล่น หรือโค้ชนักอ่านที่แนะนำหนังสือได้ทุกเล่ม ไปซื้อหนังสือและอ่านกันแบบมาราธอนในธีม Booklympics และยังชวน ‘ขายหัวเราะ’ หนังสือการ์ตูนอารมณ์ดีที่คนไทยคุ้นเคยมากว่า 50 ปี มาออกแบบโปสเตอร์น่ารักๆ ด้วย (แนบรูปในคอมเมนต์) สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52 และ สัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 22 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 8 เมษายน 2566 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชั้น LG ฮอลล์ 5 - 7 วันแรกช็อปได้ตั้งแต่ 12:00 - 21:00 น. หลังจากนั้นเปิด 10:00 - 21:00 น. ทุกวัน

Blackout

Blackout

นิทรรศการครั้งนี้ Munins ได้เปรียบเทียบช่วง Blackout กับความเปราะบางชั่วขณะที่เกิดขึ้นในชีวิตของคนเรา ทั้งช่วงเวลาที่สูญเสียคนรัก ช่วงเวลาที่รู้สึกโดดเดี่ยว ช่วงเวลาที่ถูกทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจ ช่วงเวลาที่เผชิญหน้ากับปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ และการพยายามก้าวผ่านภาวะเหล่านั้นด้วยความหวังและกำลังใจ Munins ได้ถ่ายทอดเรื่องราวอันเปี่ยมความหมายที่กลั่นออกมาจากประสบการณ์ชีวิตของเธอผ่านทางภาพวาดของมนุษย์อันหลากหลายที่ต่างกำลังว่ายวนอยู่ในห้วงอารมณ์ความรู้สึกที่แตกต่างกัน แต่กลับมีจุดร่วมกันอย่างน่าประหลาดคือการสวม ‘ถุงเท้า’ และ ‘ถุงมือ’ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงการอนุญาตให้ตนเองสัมผัสถึงบางความรู้สึกอย่างกล้าหาญ หรือแม้แต่ป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากอารมณ์ในชั่วขณะหนึ่ง

Oh! Vacoda & The Fruit Bar Club

Oh! Vacoda & The Fruit Bar Club

ตอนนี้ Oh! Vacoda คาเฟ่สเปเชียลตี้อโวคาโด้ที่ซอยอารีย์สัมพันธ์ 4 เติบโตและก้าวเข้าสู่ปีที่ 5 แล้ว ทางร้านเลยรีแบรนด์ครั้งใหญ่ ตั้งแต่ตกแต่งร้านใหม่ ออกแบบโลโก้เป็นครั้งแรก เพิ่มเมนูใหม่ และเปิดบาร์ในช่วงเย็น เป็นเหตุผลที่ชื่อร้านมี The Fruit Bar Club ห้อยท้ายอยู่ เปลี่ยนไปเยอะเหมือนกัน แต่ก็ยังคงน่ารัก อบอุ่น สไตล์ Oh! Vacoda ที่ทุกคนคุ้นเคยไว้อยู่ Oh! Vacoda คือคาเฟ่ของ ‘เพียงพลอย-รุจิยาทร โชคสิริวรรณ’ อดีตนักเขียนไลฟ์สไตล์ที่ตอนนี้หันมาดูแลร้านเต็มตัว และ ‘บอม-วัชรพงษ์ ทองยาน’ ทั้งคู่เปิดคาเฟ่นี้ด้วยความหลงใหลในอโวคาโดล้วนๆ และทุกเมนูก็จะมีผลไม้ชนิดนี้เป็นส่วนผสม การรีแบรนด์ครั้งนี้แพสชั่นนั้นก็ยังไม่ได้หายไปไหน แต่ถูกนำมาผสมกับความชอบอีกอย่างหนึ่งของเจ้าของร้าน นั่นคือแนวเพลง City Pop ซึ่งพ่วงมาด้วยไวบ์แบบญี่ปุ่นยุค 80’s ยุคแรกๆ ที่แนวเพลงนี้ถือกำเนิดในญี่ปุ่นและได้รับความนิยมอย่างสูง การตกแต่งร้านใหม่รอบนี้เลยถูกโอบล้อมด้วยบรรยากาศแบบนั้น เมนูใหม่ที่เพิ่มเข้ามาจะเป็น all-day brunch ลูกครึ่งญี่ปุ่น-ฮาวาย ที่ได้ เชฟเจมส์-พงษกร บุญรักษา จากร้าน Jamie's Burger และ Jamie's Grill มาช่วยให้คำแนะนำและปรับรสชาติ ซึ่งทุกเมนูยังคงมีอโวคาโดเป็นส่วนผสมเหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็น Avocado Pesto Rice with Hamburg and Curry (370 บาท) ข้าวแกงกะหรี่แฮมเบิร์กที่นำอโวคาโดไปทำเพสโตแล้วคลุกกับข้าวจนได้สีเขียว เสร็จแล้วก็ทำให้เป็นรูปทรงคล้ายอโวคาโดและท็อปด้วยไข่แดงดองดาชิก็จะหน้าตาเหมือนอโวคาโด ด้านล่างเป็นแฮมเบิร์กเนื้อสูตรคุณแม่ญี่ปุ่น และซอสแกงกะหรี่เนื้อรสกลมกล่อม เป็นจานที่หน้าตาสวยและรสชาติดี หรือ Kimchi Fried Rice with Bacon & Avocado (340 บาท) ข้าวผัดกิมจิโปะไข่ข้นและโปะอโวคาโดแน่นๆ อีกที แ

Zaozen

Zaozen

3 out of 5 stars

การหันมาจับธุรกิจอาหารของ ‘อีฟ-ณัฐธิดา พละศักดิ์’ ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว (แบบตัวแม่) เพราะภายในระยะเวลาปีกว่าๆ ร้านซาวของเธอได้ขยายสาขาเพิ่มถึง 2 สาขา จาก ‘ซาว’ เอกมัย สู่ ‘ZaoLarb’ ที่ย่านทองหล่อ และล่าสุดก็ยกครกยกสากและไหปลาร้าขึ้นห้างไปที่ Emsphere กับสาขาล่าสุดที่ใช้ชื่อว่า Zaozen (ซาวเส้น) ที่สาขานี้ซาวจะโฟกัสที่เมนูเส้นตำรับอีสานทั้งแบบดั้งเดิมและประยุกต์ใหม่ ใส่ความคิดสร้างสรรค์ให้กินสนุกขึ้น ภายใต้คอนเซ็ปต์ Esan Artisan Noodle Bar  ถ้าคิดไม่ออกว่าเส้นอีสานมีอะไรบ้าง ก็มีตั้งแต่เส้นข้าวปุ้น หรือ ‘ขนมจีน’ ที่เราคุ้นเคย ซึ่งมีทั้งแบบเส้นหลอด จะเป็นเส้นยาวเหมือนขมจีนแต่เส้นรอบวงจะใหญ่กว่า เท่าๆ หลอดดูดน้ำตามชื่อเลย เส้นด้องแด้ง (หรือด๊องแด๊งก็เรียก) เส้นรอบวงพอๆ กับเส้นหลอด แต่จะยาวประมาณนิ้วมือหรือสั้นกว่า เส้นแบน ก็จะยาวๆ แบนๆ หัวไก่โอ้ก ที่จะมีลักษณ์เป็นก้อน รูปทรงออกไปทางกลมและมีส่วนที่ยื่นออกมาคล้ายหงอนไก่ ทั้งหมดที่พูดไปคือเส้นที่ทำมาจากแป้งหมักชนิดเดียวกัน แต่ต่างกันตรงขั้นตอนการบีบหรือโรยเส้น ใครอยากรู้ว่าเส้นแบบไหนบีบหรือโรยยังไง ไปนั่งดูได้เพราะที่ร้านบีบเส้นเองสดๆ ก่อนเสิร์ฟทุกจาน จะเรียกว่าเป็นไฮไลต์ของร้านก็ได้ เพราะคงมีไม่กี่ร้านในกรุงเทพฯ ที่บีบเส้นขนมจีนเองโดยเฉพาะร้านที่อยู่ในห้าง ทุกเส้นสามารถนำไปปรุงได้ทั้งส้มตำและผัด อย่างจานที่เราสั่งมาชิมคือ ผัดข้าวปุ้นเส้นหลอดกุนเชียง (245 บาท) เส้นหลอดเนื้อหนึบเคลือบเครื่องปรุงรสกลมกล่อม เพิ่มเท็กซ์เจอร์ด้วยกุนเชียง และโปะหมูหยอง ส่วนหมวดส้มตำเราเลือกชิม ตำข้าวปุ้นเส้นแบน (245 บาท) กับตำด้องแด้ง (200 บาท) รสชาติส้มตำของซาวไม่ทำให้เราผิดหวังอยู่แล้ว ถ้าต้องเลือกระหว่าง 2 จานนี้ ต้องดูว่าชอบเท็กซ์เจอร์เส้น

Gir

Gir

4 out of 5 stars

Gir (อ่านว่า เกอร์ หรือ เกียร์ ก็ได้) คืออีกหนึ่งบาร์จากทีม Paper Plane Project ที่จริงจังเรื่องค็อกเทลกว่า 2 ร้านแรกที่อยู่บนตึกเดียวกันอย่าง Tichuca และ Paper Plane Project โดยมาพร้อมคอนเซ็ปต์น่าสนใจที่ได้แรงบันดาลใจจากความอุดมสมบูรณ์ของป่าที่มีทั้งมนุษย์และธรรมชาติอยู่ร่วมกัน ป่านั้นคือ  Gir National Park อุทยานแห่งชาติในรัฐคุชราต ทางภาคตะวันตกของประเทศอินเดีย ที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่อยู่สุดท้ายของสิงโตเอเชียและสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อีกหลายชนิด – เอาจริงๆ ป่าที่อุดมสมบูรณ์ในโลกนี้ก็มีหลายที่แหละ แต่เหตุผลที่ต้องเป็นที่นี่ก็เพราะ ‘เป้–ธรณ์ธัญย์ ศิริวิทยเจริญ’ Food and Beveragev Director ผู้อยู่เบื้องหลังบาร์ซึ่งชื่นชอบการท่องเที่ยวอุทยานเคยไปที่นี่และหลงใหลเสน่ห์ความเป็นเจ้าป่าของสิงโตที่เขารู้สึกว่ามีทั้งความดิบเถื่อนและความหรูหรานั่นเอง เมื่อคอนเซ็ปต์มาทางป่าจริงจังขนาดนี้ การตกแต่งร้านจึงเน้นใช้วัสดุที่มีความเป็นธรรมชาติทั้งบาร์ โต๊ะ เก้าอี้เป็นไม้ทั้งหมด มีต้นไม้อยู่กลางร้านล้อมรอบด้วยกระจกใส ผนังร้านเป็นหินจำลอง มองขึ้นไปด้านบนจะเจอเพดานที่ทำจากวัสดุเงาปาดเป็นแนวโค้งมีพื้นผิวคล้ายผิวน้ำ ส่วนผนังด้านหลังบาร์เป็นไม้เลื้อยที่ปลูกไว้ก่อนร้านเปิดเป็นปีเพื่อให้เลื้อยเต็มผนัง เรียกว่าเป็นการนั่งดื่มท่ามกลางธรรมชาติที่อยู่กลางเมืองอีกที คอนเซ็ปต์ดังกล่างถูกต่อยอดมาสู่ค็อกเทลที่แบ่งเป็น 3 หมวดหมู่ ได้แก่ หมวดธรรมชาติ (Wild) คือเครื่องดื่มที่สร้างสรรค์จากกระบวนการที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ใช้เทคนิคน้อย เน้นเข้าถึงง่าย ให้ความรู้สึกดิบๆ ป่าๆ หมวดเมือง (City) จะเสิร์ฟเครื่องดื่มที่ผ่านกรรมวิธีที่มนุษย์คิดค้นขึ้น เช่น การกลั่น การหมัก ใช้แก้ว highball เป็นหลัก ใช้วัตถุดิบแบบคนเมือง เน

Find the Photo Booth

Find the Photo Booth

5 out of 5 stars

ปล่อยให้คิดถึงอยู่นาน ล่าสุด Find the photo booth ก็กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งแล้ว พร้อมย้ายโลเคชั่นใหม่ไปอยู่บนถนนบรรทัดทอง และเพิ่งจัดงาน Grand Opening ไปสดๆ ร้อนๆ เมื่อคืนที่ผ่านมา Find the photo booth เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี 2018 และปิดตัวไปในช่วงล็อกดาวน์ปลายปี 2021 เป็นบาร์ที่ต่อยอดความสำเร็จของ Find the locker room (อันดับ 78 จาก Asia’s 50 Best Bars 2023) บาร์ลับหลังห้องล็อกเกอร์ย่านทองหล่อ โดยทีมผู้ก่อตั้งเดียวกัน ประกอบด้วย 5 บาร์เทนเดอร์สายแข็งของเอเชีย ได้แก่   1. หนึ่ง - รณภร คณิวิชาภรณ์ (มหานิยม กรุงเทพฯ) 2. แจน - เจนญ์ณรงค์ ภูมิจิตร (มหานิยม กรุงเทพฯ) 3. Colin Chia (Nutmeg and Clove, Last Word สิงคโปร์) 4. Nick Wu (Bar Mood ไทเป) 5. Hidetsugu Ueno (Bar High Five โตเกียว)   กลับมารอบนี้การันตีความปังด้วยทีมผู้ก่อตั้งเดิม แต่องค์ประกอบอื่นๆ ยกเครื่องใหม่หมด ตั้งแต่ที่ตั้งของร้านที่ย้ายจากซอยสุขุมวิท 11 ไปอยู่บนถนนบรรทัดทอง ทำเลทองแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ และยังอัปเกรดทางเข้าร้านจากที่เคยเป็นตู้ถ่ายรูปธรรมดาๆ ให้ดูเป็นร้านถ่ายรูปริมถนนร้านนึงไปเลย และจริงจังถึงขั้นที่ว่า เข้ามาถ่ายรูปกันได้จริงๆ มีพร็อปให้เสร็จสรรพ ส่วนการตกแต่งด้านในร้านยังเน้นโทนสีน้ำตาล ภาพรวมยังคงสวยและน่านั่งเหมือนเดิม มีพื้นที่ของวงดนตรีอยู่กลางร้าน มอบความบันเทิงได้ทั่วถึง มาที่เครื่องดื่ม เปิดตัวด้วยคอนเซ็ปต์ 7 Chords นำคลาสสิกค็อกเทล 7 แก้วที่เปรียบเสมือนคอร์ดดนตรี 7 คอร์ดมาทวิสต์เป็นซิกเนเจอร์ค็อกเทล 7 แก้วที่ตั้งชื่อเป็นคอร์ดดนตรี ถ้าอยากรู้ว่าแก้วไหนคาแร็กเตอร์เป็นยังไงให้ดูที่เครื่องหมายกุญแจเสียง (key signature) หรือ คีย์ ที่กำกับอยู่ ได้แก่ 7 จะเด่นเรื่องความเปรี้ยว, Flat เด่นที่รสช

Vijit Chao Phraya

Vijit Chao Phraya

ตลอดเดือนธันวาคมนี้ 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจะเต็มไปด้วยบรรยากาศแห่งการฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ในงาน Vijit Chao Phraya 2023 ที่กลับมาอีกครั้งพร้อมโชว์แสง สี เสียง และการแสดงสดชวนตื่นตา เอาใจนักท่องเที่ยว ปีนี้ปักหมุดจัดงานบน 7 แลนด์มาร์กริมแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ สะพานพระราม 8, สวนสันติชัยปราการ, วัดอรุณฯ, ป้อมวิไชยประสิทธิ์, สะพานพระพุทธยอดฟ้า, ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก และไอคอนสยาม ทุกสถานที่จะมีการแสดงให้ชมฟรีทุกวัน วันละ 6 รอบ ตั้งแต่เวลา 19.00 - 21.35 น. มีทั้ง projection mapping บนโบราณสถาน โชว์น้ำพุและม่านน้ำประกอบแสงสีเสียง การแสดงเลเซอร์สามมิติประกอบ แสงสีเสียง (ดูตารางการแสดงในคอมเมนต์) นอกจากนั้น ยังมีชุดการแสดงพิเศษบน 3 สถานที่ที่ถือเป็นไฮไลต์ ได้แก่ การแสดงทางวัฒนธรรม ชุด ‘เล่าขานตำนานยักษ์วัดแจ้ง เทพสถิต วิจิตรคู่สองฝั่งเจ้าพระยา’ ปกติพระปรางค์วัดอรุณฯ ไม่ว่าจะผ่านไปมองช่วงไหนก็สวยอยู่แล้ว พอมีแสงสีจากการแสดง Light & Sound ที่เผยให้เห็นมุมใหม่ๆ คู่กับการแสดงบนเวทีริมน้ำที่อยู่ข้างๆ ที่ทั้งสนุกและเข้าใจง่ายก็ยิ่งเพิ่มความงดงามและน่าสนใจขึ้นไปอีก การแสดงทางวัฒนธรรมที่วัดอรุณฯ จะมีอีกครั้งในวันที่ 7-9, 15-16, 22-23 และ 29-30 ธันวาคม 2566 วันละ 3 รอบ ตั้งแต่เวลา 19.20 - 20.20 น. อีกชุดคือการจุดพลุประกอบการแสดง illumination ประกอบแสงสีเสียงที่สะพานพระพุทธยอดฟ้า จะมีอีกครั้งในวันที่ 7-9, 15-16, 22-23 และ 29-30 ธันวาคม 2566 วันละ 1 รอบ เวลา 20.45 น. ซึ่งวันพรุ่งนี้ (7 ธ.ค.) จะเป็นรอบใหญ่พิเศษ จุดพลุจุใจกว่าวันอื่นๆ เตรียมกล้องไปเก็บภาพพลุสวยๆ ของงานปีนี้ได้เลย และชุดสุดท้ายคือการแสดงโดรนแปรอักษรเหนือแม่น้ำเจ้าพระยา ณ สะพานพระราม 8 จัดโชว์สื่อมวลชนไปแล้วหนึ่งรอบตอนวันเปิด

Uma Uma

Uma Uma

สำหรับคนชอบกินอาหารญี่ปุ่น คำตอบอาจจะแคบลงเป็นชอบ ‘อาหารฮากาตะ’ หลังจากได้ลองชิมสารพัดเมนูอร่อยที่ Hakata Uma Uma (เรียกสั้นๆ ว่า Uma Uma ก็ได้) ร้านราเมงอิซากายาจากเมืองฟุกุโอกะที่เข้ามาเปิดสาขาแรกในไทยเมื่อ 8 ปีที่แล้ว และเพิ่งเปิดสาขาใหม่ที่ซอยสุขุมวิท 39 เมื่อไม่นานมานี้ ถามว่าอาหารฮากาตะ คืออะไร? ก็คืออาหารของชาวฟุกุโอกะ เพราะเมื่อก่อนชาวญี่ปุ่นจะเรียกฟุกุโอกะว่าฮากาตะ (เหมือนที่บ้านเราเคยเรียกกรุงเทพฯ ว่าบางกอกนั่นแหละ) ปัจจุบันถึงแม้ชื่อเมืองจะเปลี่ยนไป แต่คำว่าฮากาตะยังคงถูกใช้อยู่เสมอเมื่อพูดถึงสิ่งที่เกี่ยวพันวิถีชีวิตของผู้คน เช่น อาหารฮากาตะ ภาษาฮากาตะ ชาวฮากาตะ เป็นต้น จุดเริ่มต้นของร้าน Uma Uma ในญี่ปุ่นเล่าย้อนไปได้ไกลถึงปี ค.ศ. 1942 หรือยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 โน่นเลย สมัยนั้นร้านเริ่มจากการเป็นราเมงรถเข็นชื่อ ซัมมะโระ (Sanmaro) และว่ากันว่าเป็นต้นกำเนิดราเมงสไตล์ฮากาตะอันโด่งดังด้วย ต่อมาเจ้าของราเมงรถเข็นได้ถ่ายทอดสูตรให้กับ Takeomi Teshima ซึ่งเป็นคุณพ่อของเจ้าของร้าน Uma Uma คนปัจจุบัน พอได้วิชาก็มาเปิดร้านราเมงชื่อ อุมะโร (Umaro) และกลายเป็นร้านดังประจำเมืองฮากาตะตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953 ก่อนที่ Masahiko Teshima ที่เป็นลูกชาย (เจ้าของร้านคนปัจจุบัน) จะมารับช่วงต่อพร้อมเปลี่ยนชื่อร้านเป็น อุมะ อุมะ (Uma Uma) และเปลี่ยนจากร้านราเมงธรรมดาๆ ให้เป็นร้านราเมงอิซากายาที่เน้นกิน ดื่ม คุย และจบมื้อด้วยการกินราเมงสไตล์ฮากาตะเหมือนในปัจจุบัน กลับมาที่สาขาใหม่ที่กรุงเทพฯ วันนี้ทางร้านจัดชุดใหญ่ให้ชิมแบบแน่นโต๊ะ แต่ถ้าใครอยากสัมผัสวิถีชีวิตของชาวฮากาตะผ่านรสชาติอาหารและวัฒนธรรมการกิน ต้องไม่พลาดสั่ง 4 เมนูขึ้นชื่อนี้ อย่างแรกคือ Torikawa (ไม้ละ 55 บาท) หนังไก่ย่างสไตล์ฮากาต

News (447)

เปลี่ยนห้องเรียนเก่าเป็นสวนฮีลใจ ในนิทรรศการ Glimpse of Nostalgia จากทีม Weekend Garden BKK เริ่ม 9 มี.ค.

เปลี่ยนห้องเรียนเก่าเป็นสวนฮีลใจ ในนิทรรศการ Glimpse of Nostalgia จากทีม Weekend Garden BKK เริ่ม 9 มี.ค.

ทีม Weekend Garden BKK ที่เคยยกสวนเข้าไปจัดแสดงตามอาคารและสถานที่ต่างๆ กำลังจะกลับมาพร้อมนิทรรศการใหม่ที่พวกเขาจะเปลี่ยนห้องเรียนเก่าเป็นสวนฮีลใจในชื่อ Glimpse of Nostalgia นิทรรศการนี้จะจัดแสดงในตึกเก่าของโรงเรียนบางอ้อศึกษา คอนเซ็ปต์หลักๆ คือการสร้าง Healing Garden หรือ ‘สวนฮีลใจ’ พาทุกคนย้อนกลับไปช่วงที่ยังใช้ชีวิตในรั้วโรงเรียน ที่เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของชีวิต เป็นช่วงเวลาที่มีความทรงจำเกิดขึ้นมากมาย ทั้งดีและไม่ดี และใช้สัมผัสจากธรรมชาติปลอบประโลมและเยียวยาทุกความทรงจำ การจัดแสดงจะแบ่งออกเป็น 3 หลักๆ คือห้องที่ใช้กลิ่นเป็นสื่อกลางเพื่อพาทุกคนหวนคืนสู่อดีต ห้องที่จัดแสดงต้นไม้โดยเน้นพันธุ์ไม้ที่พบในโรงเรียน เพิ่มลูกเล่นด้วยกระจกเงา ซึ่งเป็นห้องหลักของงาน และห้องที่ทีม Weekend Garden BKK จะชวนศิลปินอื่นๆ มาแสดงผลงานร่วมกัน นิทรรศการ Glimpse of Nostalgia จะจัดแสดงที่โรงเรียนบางอ้อศึกษา (MRT บางอ้อ ทางออก 1) ระหว่างวันที่  9-24 มีนาคม 2567 เข้าชมฟรี

FILM free FORM x BKKDW งานดูหนังกลางแปลงในอาร์ตแกลเลอรี่ พร้อมจิบค็อกเทลและฟังดนตรี

FILM free FORM x BKKDW งานดูหนังกลางแปลงในอาร์ตแกลเลอรี่ พร้อมจิบค็อกเทลและฟังดนตรี

ผ่านครึ่งทางของ Bangkok Design Week 2024 มาแล้ว และวันนี้เราก็มีอีกหนึ่งโปรแกรมน่าสนใจจากย่านพระนครมาแนะนำ นั่นคือการฉายหนังกลางแปลงที่มาพร้อมกับงานดนตรี ศิลปะ และค็อกเทลที่ได้แรงบันดาลใจจากหนังที่ฉาย โปรแกรมนี้ FILM free FORM อีเวนต์ฉายหนังร์ไทยและกิจกรรมเวิร์กช็อปเกี่ยวกับหนัง ได้คัดหนังไทยน่าดู 5 เรื่องมาฉายให้ดูฟรี ได้แก่ สันติ วีณา,  ปู่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ฉายตอนเปิดเทศกาลเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนอีก 3 เรื่องจะฉายวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์นี้ ได้แก่ Blue Again, จันดารา และบุปผาราตรี ตามลำดับ นอกจากจะได้ดูหนังแล้ว ยังมีค็อกเทลที่ได้แรงบันดาลใจจากเรื่องราวและตัวละครในหนังให้จิบ 5 แก้ว โดยฝีมือของ มาสด้า-วัชรา วโรดม ในราคาแก้วละ 290 บาท พร้อมฟังดนตรีจากรัสมี อีสานโซล, Violin and Her และ DJ GAYATH และกิจกรรมศิลปะอีกมากมาย  FILM free FORM x  Bangkok Design Week 2024 จัดที่  Payaq Gallery Cafe & Bar ตั้งอยู่ในตรอกตึกดิน ตรงข้ามศาลาว่าการกรุงเทพฯ ในวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ เวลา 16:30 น. เป็นต้นไป

Rabbit Hole ฉลองครบรอบ 8 ปี ชวน 8 บาร์เทนเดอร์จาก 4 บาร์เกาหลี มายืนบาร์ 4 คืนรวด 7-10 กุมภาพันธ์

Rabbit Hole ฉลองครบรอบ 8 ปี ชวน 8 บาร์เทนเดอร์จาก 4 บาร์เกาหลี มายืนบาร์ 4 คืนรวด 7-10 กุมภาพันธ์

ปีนี้ Rabbit Hole ค็อกเทลบาร์ร้านดังแห่งย่านทองหล่อ มีอายุครบรอบ 8 ปี และทางร้านก็เตรียมจัดอีเวนต์ฉลองโอกาสพิเศษนี้ด้วยการเชิญ 8 บาร์เทนเดอร์ จาก 4 บาร์ในกรุงโซล ประเทศเกาหลี มาเป็น guest bartender 4 คืนติดกัน ตั้งแต่วันที่ 7 - 10 กุมภาพันธ์ ประเดิมด้วย 2 หนุ่ม Pat และ Yonghun จากร้าน Pine & Co บาร์ที่เปิดตัวในปี ค.ศ. 2020 โดดเด่นด้วยการนำเสนอวัฒนธรรมการดื่มที่หลากหลายให้กับลูกค้าในคืนวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ต่อด้วย Jiuk และ Youngwoo จากร้าน Alice Cheongdam บาร์อันดับ 28 จาก Asia’s 50 Best Bars 2023 ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากนิยายเรื่อง Alice’s Adventure in Wonderland ของ Lewis Carroll ที่จะพาทุกคนท่องไปในแดนมหัศจรรย์ผ่านเครื่องดื่มของพวกเขา ในคืนวันที่ 8 กุมภาพันธ์ คืนวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พบกับการมาเยือนกรุงเทพฯ อีกครั้งของบาร์เทนเดอร์จาก Soko Bar บาร์อันดับ 46 จาก  Asia’s 50 Best Bars 2023 ซึ่ง Son Soko ซึ่งแวะมาที่ Aqua Bar โรงแรมอนันตราสยามเมื่อต้นเดือนนี่เอง แต่คราวนี้เป็น Wonwoo และ Dongun ที่จะมาพร้อมมาค็อกเทลที่ทั้งสวยงามและสร้างสรรค์ ผสมผสานโลกตะวันออกกับตะวันตกไว้ด้วยกันอย่างลงตัว ปิดท้ายด้วยคืนวันที่ 10 กุมภาพันธ์กับ Byungjin และ Yeonghwi จากร้าน Bar Cham อันดับ 13 จาก Asia’s 50 Best Bars 2023 เป็นบาร์ที่ซ่อนตัวอยู่ในย่านเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงโซล ตัวร้านอยู่ใน ‘ฮันอก’ หรือบ้านโบราณสไตล์เกาหลี บ่งบอกถึงสไตล์ของค็อกเทลที่ใช้เหล้าเกาหลีเป็นหลักและผสมผสานความเป็นท้องถิ่นจากวัตถุดิบทั่วเกาหลีเข้ากับเทคนิคสมัยใหม่ บาร์เทนเดอร์ทั้ง 8 คนจะเริ่มประจำการตั้งแต่ 20.00 น. เป็นต้นไป ของทุกวัน สำรองที่นั่งได้ที่ 098 532 3500

Doc Club & Pub. ฉาย The Booksellers สารคดีพาสำรวจร้านหนังสืออิสระในนิวยอร์ก เริ่ม 18 มกราคม บัตรราคา 150 บาท

Doc Club & Pub. ฉาย The Booksellers สารคดีพาสำรวจร้านหนังสืออิสระในนิวยอร์ก เริ่ม 18 มกราคม บัตรราคา 150 บาท

Doc Club & Pub. ยังคงเป็นโรงหนังทางเลือกที่คัดหนังและสารคดีเนื้อหาดีมาให้เราได้ดู–ในราคาเป็นมิตรเสมอ ล่าสุด เป็นคิวของสารคดีที่เราว่าน่าจะต้องถูกใจทั้งคนชอบดูและคนชอบอ่านอย่าง The Booksellers สารคดีที่พาเราไปสำรวจโลกอันน่าหลงใหลของร้านหนังสือและวงการหนังสือในนิวยอร์ก The Booksellers กำกับ ตัดต่อ และโปรดิวซ์โดย D.W. Young และอำนวยการผลิตโดย Parker Posey (ที่เล่นเป็น Patricia Eden ใน You’ve Got Mail) ซึ่งเป็นผู้ให้เสียงบรรยายภาษาอังกฤษในสารคดีด้วย สารคดีฉายรอบพรีเมียร์ในเทศกาล New York Film Festival ปี 2019 แต่เนื่องจากเป็นช่วงที่โควิด-19เริ่มระบาดอย่างหนัก สารคดีจึงจำเป็นต้องปรับรูปแบบการเผยแพร่ไปเป็น video on demand แทน คนดูจะได้เห็นและฟังมุมมองที่น่าสนใจจากผู้คนมากมายในธุรกิจนี้ ทั้งผู้จำหน่าย นักสะสม นักประมูล และนักเขียนผู้โด่งดัง เช่น Adina Cohen, Naomi Hample และ Judith Lowry 3 พี่น้องแห่งร้านหนังสือ Argosy Book Store รวมถึง Stephen Massey จาก Christie’s New York บริษัทรับจัดประมูลงานศิลปะชั้นนำ และ Nancy Bass Wyden เจ้าของร้านหนังสือ Strand Bookstore นอกจากนั้น สารคดียังพาคนดูไปติดตามการไล่ล่าหนังสือหายากทั้งหลาย และสำรวจอนาคตของสิ่งพิมพ์ประเภทนี้ไปพร้อมกัน The Booksellers เริ่มฉายที่ Doc Club & Pub. วันพฤหัสบดี 18 มกราคมนี้ บัตรราคา 150 บาท ดูรายละเอียดการซื้อบัตรได้ที่ Doc Club & Pub. ตัวอย่างสารคดี:

SO/ Maldives รีสอร์ตใหม่ 80 วิลล่ากลางทะเลสีฟ้าใสของเอ็มบูดู ลากูน ห่างสนามบิน 15 นาที เปิดให้บริการแล้ว

SO/ Maldives รีสอร์ตใหม่ 80 วิลล่ากลางทะเลสีฟ้าใสของเอ็มบูดู ลากูน ห่างสนามบิน 15 นาที เปิดให้บริการแล้ว

แพลนเที่ยวปีนี้ของใครยังไม่เต็ม เติมมัลดีฟส์เข้าไปด่วนเลย เพราะนอกจากทะเลสวยๆ แล้ว ตอนนี้เขายังมีรีสอร์ตเปิดใหม่บนเกาะส่วนตัวแสนสงบที่น่าไปนอนพักผ่อนเติมพลังชีวิตแบบสุดๆ รีสอร์ตที่ว่าก็คือ SO/ Maldives จากแบรนด์ SO/ ที่เราคุ้นเคยกันดี และเป็นอันรู้กันว่ารีอสร์ตใหม่แห่งนี้ต้องมาพร้อมกับงานดีไซน์อันเป็นเอกลักษณ์และเต็มไปด้วยความมีชีวิตชีวาที่ทางรีสอร์ตเขาเปรียบเทียบให้เห็นภาพว่าด้วยประโยคที่ว่า “เหมือนเดินอยู่บนรันเวย์” SO/ Maldives SO/ Maldives เปิดให้บริการเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ตั้งบนเกาะส่วนตัวอันเงียบสงบและล้อมรอบด้วยน้ำทะเลสีฟ้าครามของเอ็มบูดู ลากูน (Emboodhoo Lagoon) ประกอบไปด้วยวิลล่า 80 หลัง ออกแบบโดยศิลปินและดีไซน์เนอร์ชื่อดัง ดีไซน์ของแต่ละหลังเป็นการผสมผสานไลฟ์สไตล์ที่สนุกสนานและความเป็นส่วนตัวได้อย่างลงตัว โดยได้รับแรงบันดาลใจจากงานฝีมือและกูตูร์ร่วมสมัย  ใช้วัสดุจากธรรมชาติ ดูสะอาดตา และใช้โทนสีที่ให้ความรู้สึกเย็นสบาย Hassan Ishan Ishan@seefromthesky เรื่องกินดื่ม SO/ Maldives มอบประสบการณ์ที่แตกต่างผ่านห้องอาหาร 3 แห่งที่มีคอนเซ็ปต์โดดเด่น ได้แก่ Citronelle Club ห้องอาหารสำหรับครอบครัวที่ได้รับแรงบันดาลใจจากรสชาติของอาหารเอเชีย Hadaba เน้นเสิร์ฟอาหารประเภทรมควัน สโลว์คุกโดยใช้ทั้งวัตถุดิบท้องถิ่น ส่วนผสมและเครื่องเทศชั้นดีของอาหรับ สำหรับท่านที่อยากได้บรรยากาศแบบสบาย ๆ สามารถเลือกไปที่ และ Lazuli ที่เป็นทั้งบาร์และเลานจ์ริมหาดสไตล์ Cote D'Azur หรือ French Riviera ในภาษาอังกฤษที่สื่อถึงบรรยากาศของเมืองชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส Hassan IshanSO/ Maldives นอกจากนี้ยังมีสปาที่ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ประกอบด้วย ห้องทรีตเมน

Mischa Cheap เปิดสัปดาห์สุดท้าย ปิดตำนานความแตกแตนแห่งถนนข้าวสาร เตรียมอำลาตำแหน่ง 14 มกราคมนี้

Mischa Cheap เปิดสัปดาห์สุดท้าย ปิดตำนานความแตกแตนแห่งถนนข้าวสาร เตรียมอำลาตำแหน่ง 14 มกราคมนี้

สัปดาห์นี้ร้าน Mischa Cheap ที่ถนนข้าวสารจะเปิดให้บริการเป็นสัปดาห์สุดท้าย หลังเปิดร้านมาได้ 2 ปีกว่าๆ เป็นการจากไปอย่างน่าเสียดายของบาร์ที่เปรี้ยวเยี่ยวราดและสนุกแตกแตนที่สุดแห่งหนึ่งบนถนนข้าวสาร Mischa Cheap คือบาร์ของ 'โน้ต - พงษ์สรวง คุณประสพ' หรือ พี่โน้ต Dudesweet เปิดให้บริการช่วงปลายปี 2021 เป็นร้านที่ดึงเอาคอนเซ็ปต์ของเกมสร้างเมืองมาออกแบบพื้นที่ได้อย่างน่ารัก ข้างในมีทั้งตัวแทนของวัด โรงพัก โรงพยาบาล ร้านเสริมสวย มิวเซียม ฯลฯ เหมือนเมืองจำลองย่อมๆ ที่ทุกอย่างรวมกันอยู่ในบรรยากาศของความสนุก มีชีวิตชีวา ยิ่งไปกว่านั้น ตลอดระยะเวลา 2 ปีกว่าๆ ที่เปิดให้บริการคู่ถนนข้าวสาร Mischa Cheap คือร้านที่หาทำเก่งมาก จัดปาร์ตี้จัดอีเวนต์ฉ่ำ แล้วแต่ละงานคือม่วนสุด จอยสุด และล่าสุดเห็นบอกว่าปรับรูปแบบกิจการมาเป็นบาร์โฮสต์ด้วย ซึ่งเราว่าทั้งหมดเป็นบรรยากาศที่คงหาที่ไหนไม่ได้ง่ายๆ อีกแล้ว ร้านจะเปิดวันสุดท้าย 14 มกราคม แต่วันเสาร์ที่ 13 มาราคมนี้มีปาร์ตี้พร้อมโปรโมชั่นพิเศษฉ่ำ ใครอยากไปทิ้งทวน ไปอำลาตำแหน่ง ไปปิดตำนาน แวะไปเจอกันได้ที่ร้านตั้งแต่ 16.00 น. เป็นต้นไป

กดบัตรให้ทัน Skyline Film เปิดโรงอีกรอบ ฉาย Jerry Maguire และหนังดังอีก 4 เรื่อง 19-21 ม.ค. ที่ดาดฟ้า River City Bangkok

กดบัตรให้ทัน Skyline Film เปิดโรงอีกรอบ ฉาย Jerry Maguire และหนังดังอีก 4 เรื่อง 19-21 ม.ค. ที่ดาดฟ้า River City Bangkok

Skyline Film Bangkok กลับมาเปิดโรงอีกครั้งตามคำเรียกร้อง หลังจากรอบก่อนที่ฉายช่วงปลายปี บัตร Sold Out อย่างรวดเร็วจนหลายคนกดบัตรไม่ทัน รอบนี้พบกับโปรแกรมดังหนัง 5 เรื่อง สนุกครบทุกอารมณ์ทั้งหนังรักหวานซึ้ง เศร้าเคล้าน้ำตา ฮาจนท้องแข็ง และบู๊สนั่นไม่เกรงใจใคร ได้แก่ Fight Club - 19 มกราคม (รอบ 20.30 น.) Lost in Translation - 20 มกราคม (รอบ 18.00 น.) Eternal Sunshine of spotless mind - 20 มกราคม (รอบ 21.00 น.) Vicky Christina Barcelona - 21 มกราคม (รอบ 18.00 น.) Jerry Maguire - 21 มกราคม (รอบ 21.00 น.) เตรียมตัวกดบัตรให้ทัน Skyline Film Bangkok จะเปิดขายบัตรวันนี้วันแรก ตั้งแต่เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป บัตรราคา 500 บาท ซื้อได้ที่ Ticketmelon

เทศกาลไฟประจำปีกรุงเทพฯ Awakening Bangkok 2023 เตรียมกลับมาในโลเคชันใหม่ 'พระนคร-ปากคลองตลาด'

เทศกาลไฟประจำปีกรุงเทพฯ Awakening Bangkok 2023 เตรียมกลับมาในโลเคชันใหม่ 'พระนคร-ปากคลองตลาด'

เตรียมตัวไปเดินชมงานไฟรับลม (น่าจะหนาว) กันอีกครั้งในงาน Awakening Bangkok 2023 งานไฟประจำปีของกรุงเทพฯ โดย Time Out Bangkok ที่กำลังจะกลับมาอีกครั้งปลายปีนี้ — ซึ่งพิเศษกว่าทุกครั้งคือเราจะย้ายโลเคชันจัดงานจากย่านเจริญกรุง-ตลาดน้อย พาทุกคนเปลี่ยนบรรยากาศไปย่านใหม่ ‘พระนคร-ปากคลองตลาด’ กัน Awakening Bangkok 2023 มาในคอนเซ็ปต์ ‘Time Passage - ทางของเวลา’ ที่สะท้อนภาพเมืองเก่าพระนคร ย่านที่เกิดขึ้นและเติบโตขึ้นพร้อมๆ กับเครือข่ายทางถนนและคลองช่วงต้นรัตนโกสินทร์เพื่อลำเลียงผู้คน สิ่งของ ม้า ช้าง และผี และเส้นทางเหล่านี้ไม่เคยหยุดทำหน้าที่เลยตลอดกว่าสองร้อยปีที่ผ่านมา ยังคงทักทายผู้คน รองรับรถรา และนำเงินตรา ความเจริญ และความทันสมัยเข้ามา — และปีนี้เราจะพางานศิลปะแสงไฟไปทักทายเส้นทางของเวลาที่เชื่อมอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เหล่านี้กัน เตรียมออกไปสำรวจย่านเก่า โลเคชั่นใหม่ พวกเราที่ Awakening Bangkok 2023 ปลายเดือนพฤศจิกายนนี้   Awakening Bangkok 2023Awakening Bangkok 2023 Awakening Bangkok จัดร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.), กรุงเทพมหานคร, สํานักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ TCEB และ Schweppes ร่วมด้วย MQDC, OPPO Thailand, BGC, Warner Music Thailand, Robinhood, Bangkok University และ Time Out

Opium ฉลองครบ 2 ปีจัดงานใหญ่ 5 วันติด พบบาร์เทนเดอร์จากญี่ปุ่น-สิงคโปร์ 21-24 ธ.ค. และตัวตึงจาก 7 บาร์ไทยในคืนคริสต์มาส

Opium ฉลองครบ 2 ปีจัดงานใหญ่ 5 วันติด พบบาร์เทนเดอร์จากญี่ปุ่น-สิงคโปร์ 21-24 ธ.ค. และตัวตึงจาก 7 บาร์ไทยในคืนคริสต์มาส

Opium Bar คือบาร์โปรดของหลายคนนับตั้งแต่เปิดให้บริการตอนต้นปี 2022 และยังเป็นหนึ่งในบาร์เปิดใหม่ที่ดีที่สุดในปีนั้นสำหรับ Time Out ด้วย ใครเป็นขาประจำร้านนี้ เตรียมไปสนุกด้วยกันที่งาน Opium's Anniversary Blowout งานใหญ่ฉลองครบรอบ 2 ปี ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-25 ธันวาคมนี้ กิจกรรมใน 4 คืนแรก (21-24 ธ.ค.) พบกับ A Global Bartending Showcase ที่ทางร้านเชิญบาร์เทนเดอร์จากบาร์ดังมาประจำการที่ร้าน ประเดิมด้วย Eric Sabloniere แบรนด์แอมบาสเดอร์ Scrappy’s Bitter และบาร์เทนเดอร์จาก Experimental Cocktail Club ปารีส ในวันที่ 21 ธ.ค. เวลา 21.00 น. เป็นต้นไป ต่อด้วยวันที่ 22 - 24 ธ.ค. ตั้งแต่เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป พบกับ Yuujiro Kiyosaki จาก Bar Libre โตเกียว, Yong Wei จาก Native Bar สิงคโปร์ และ Silvio Daniele จาก Caffe Fernet สิงคโปร์ ตามลำดับ ส่งท้ายด้วย A Grand Finale on Christmas Night กิจกรรมไฮไลต์ในคืนคริสต์มาส ตั้งแต่ 19.00 น. เป็นต้นไป ที่บาร์เทนเดอร์จาก 7 บาร์สายแข็งทั่วกรุงเทพฯ จะมาร่วมแสดงความยินดีพร้อมฉลองคริสต์มาสในคืนเดียวกัน ได้แก่ Chanel Adams - Bamboo Bar Taln Rojanavanich and Aum Veerach - BAR US Philip Stefanescu - Tropicity Thirawat Kailaihong - Mahaniyom  Nutch Sirijungsakul - Asia Today Chunyanuch Yodsuwan - BKK Social Club  Jakkrit Promchaisit - Vesper Opium's Anniversary Blowout จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 - 25 ธันวาคมนี้ ที่ Opium Bar ชั้น 4 ร้านโพทง

ดูดาวเคล้าเสียงเพลงที่สวนเบญจกิติ ในงาน Starry Night over Bangkok 23 ธันวาคมนี้ 18.00 - 22.00 น.

ดูดาวเคล้าเสียงเพลงที่สวนเบญจกิติ ในงาน Starry Night over Bangkok 23 ธันวาคมนี้ 18.00 - 22.00 น.

ดาวหางฮัลเลย์อาจจะต้องรออีกนานกว่าจะได้เห็น แต่บนท้องฟ้ายังมีดาวอีกหลายดวงที่เราแหงนมองได้เลย หรือถ้าอยากเห็นชัดๆ กว่านั้นพร้อมความรู้และกิจกรรมสนุกๆ ต้องไม่พลาดกิจกรรม ‘ดูดาวกลางกรุง’ (Starry Night over Bangkok) โดย กทม. ร่วมกับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) ช่วงปลายเดือนนี้ เตรียมพบกับคาราวานกล้องโทรทรรศน์ที่จะมาตั้งกล้องส่องดาวกลางกรุง ดูกันชัดๆ ทั้งดวงจันทร์ ดาวเสาร์ ดาวพฤหัสบดี กระจุกดาว กลุ่มดาวฤดูหนาว ฯลฯ พร้อมกิจกรรมดาราศาสตร์สนุกๆ เช่น ทำความรู้จักกลุ่มดาวที่น่าสนใจ เรียนรู้กลุ่มดาวต่างๆ ผ่าน Stellar Light Box แนะนำวิธีดูดาวอย่างง่ายด้วยแอปพลิเคชั่นบนมือถือ กิจกรรมถ่ายภาพดวงจันทร์ผ่านสมาร์ตโฟน และเวทีทอล์กในหัวข้อเกี่ยวกับการสำรวจดวงจันทร์ นอกจากนี้ ภายในงานยังมีบอลลูนดวงจันทร์ยักษ์ให้ถ่ายรูปเก็บภาพความประทับใจ รวมถึงมีเสียงดนตรีเพราะๆ เพิ่มความโรแมนติกตลอดงาน และกิจกรรมให้ลุ้นรับกล้องโทรทรรศน์และของรางวัลพิเศษอีกมากมาย ใครสนใจสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ https://bit.ly/StarryNightOverBangkok (มีของที่ระลึกจำนวนจำกัดให้สำหรับคนที่ลงทะเบียน) กิจกรรม ‘ดูดาวกลางกรุง’ (Starry Night over Bangkok) จะจัดขึ้นที่อัฒจันทร์กลาง สวนเบญจกิติ คืนวันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 18.00 - 22.00 น. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  

ตลาดวินเทจไวบ์ดี Made by Legacy กำลังจะกลับมา 12 - 14 ม.ค. ปีหน้า ที่โกดังแสงทองค้าข้าว 1968

ตลาดวินเทจไวบ์ดี Made by Legacy กำลังจะกลับมา 12 - 14 ม.ค. ปีหน้า ที่โกดังแสงทองค้าข้าว 1968

กาปฏิทินรอเลย Made by Legacy Flea Market ตลาดวินเทจไวบ์ดีริมแม่น้ำเจ้าพระยา กำลังจะกลับมาเป็นครั้งที่ 15 เตรียมนัดรวมตัวกันไปแฮงเอาต์และช็อปปิ้งไอเท็มเด็ดกลางเดือนมกราคม 2567 งานนี้เตรียมพบกับบรรยากาศที่ทุกคนคิดถึง ไม่ว่าจะเป็นการช็อปปิ้งสินค้าวินเทจที่มีให้เลือกหลากหลายทั้งเสื้อผ้า เครื่องประดับ สินค้าแฮนด์เมด หนังสือเก่า เฟอร์นิเจอร์ แผ่นเสียงไวนิล ของแต่งบ้านและสวน ของเล่น ของสะสม งานศิลปะ ฯลฯ และเช่นเคย ในงานยังมีทั้งร้านอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงการแสดงดนตรีสดที่ทำให้งานนี้ไม่ว่าจะไปช็อปปิ้งหรือไปนั่งชิล แฮงเอาต์กับเพื่อนก็ไม่มีเบื่อแน่นอน Made by Legacy Flea Market ครั้งที่ 15 จะจัดขึ้นระหว่างวัน ที่ 12 -14 มกราคม 2567 ที่โกดังแสงทองค้าข้าว 1968 ถนนราษฎร์บูรณะ

รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี เปิดให้ทดลองนั่งฟรีวันแรกทั้ง 30 สถานี เริ่มเก็บค่าโดยสารกลางเดือนธันวาคม

รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี เปิดให้ทดลองนั่งฟรีวันแรกทั้ง 30 สถานี เริ่มเก็บค่าโดยสารกลางเดือนธันวาคม

ต้อนรับรถไฟฟ้าสายใหม่ “สายสีชมพู” ช่วงแคราย - มีนบุนรี ที่จะเริ่มเปิดทดลองให้ใช้บริการโดยไม่คิดค่าโดยสารครบทั้ง 30 สถานีวันนี้วันแรก ตั้งแต่เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป สำหรับรถไฟฟ้าสายสีชมพู เป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือโมโนเรลสายที่ 2 ของไทย (สายแรกคือสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ที่เปิดให้บริการเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา) ช่วยเชื่อมต่อการเดินทางของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก ฝั่งเหนือ และจังหวัดนนทบุรี เข้าสู่พื้นที่ใจกลางเมืองได้โดยสะดวก รถไฟฟ้าสายสีชมพู จะให้บริการตามแนวถนนรามอินทรา ระยะทางรวม 34.5 กิโลเมตร ประกอบด้วย 30 สถานี ได้แก่ สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี (เชื่อมสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ) สถานีแคราย สถานีสนามบินน้ำ สถานีสามัคคี สถานีกรมชลประทาน สถานีแยกปากเกร็ด สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 สถานีศรีรัช สถานีเมืองทองธานี สถานีแจ้งวัฒนะ 14 สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ สถานีโทรคมนาคมแห่งชาติ สถานีหลักสี่ (เชื่อมสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต) สถานีราชภัฎพระนคร สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ (เชื่อมสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) สถานีรามอินทรา สถานีลาดปลาเค้า สถานีรามอินทรา กม.4 สถานีมัยลาภ สถานีวัชรพล สถานีรามอินทรา กม.6 สถานีคู้บอน สถานีรามอินทรา กม.9 สถานีวงแหวนรามอินทรา สถานีนพรัตน์ สถานีบางชัน สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ สถานีตลาดมีนบุรี สถานีมีนบุรี (เชื่อมสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี) การเปิดทดลองให้บริการฟรีวันนี้จะเริ่มตั้งแต่เวลา 15.00 - 20.00 น. มีขบวนรถให้บริการทุก 10 นาที และตั้งแต่พรุ่งนี้เป็นต้นไปจะเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00 - 20.00 น. มีขบวนรถให้บริการทุก 10 นาที ส่วนการเก็บค่าโดยสารจะเริ่มตั้งแต่วันที่18 ธันวาคม 25