ข่าว

ทริคชนะ Capture Bangkok จากเหล่าช่างภาพให้ได้ช็อตที่ใช่

Aphissara Phusing
เขียนโดย
Aphissara Phusing
Intern writer, Time Out Thailand
Daniel Trujilo
Photograph: Daniel Trujilo
การโฆษณา

เข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายแล้วกับการส่งภาพเข้าประกวดในแคมเปญ Capture Bangkok ที่จะปิดรับในวันที่ 15 กรกฎาคมนี้ สำหรับใครยังไม่ได้ส่งเข้ามา ตอนนี้ยังมีเวลาปล่อยของ! 

เพื่อจุดประกายไอเดียของทุกคน เราเลยชวนช่างภาพมือโปรที่ร่วมแคมเปญมาบอกเล่าเบื้องหลัง ผลงานของพวกเขา ตั้งแต่แหล่งที่มาของแรงบันดาลใจ วิธีรับมือกับความโกลาหลของเมืองกรุง ไปจนถึงเทคนิคการมองกรุงเทพฯ ในรูปแบบของตัวเอง

เพราะชัยชนะไม่ได้อยู่ที่ว่ากล้องคุณเจ๋งหรือแพงแค่ไหน แต่มันอยู่ที่ ‘มุมมองเป็นการฝึกมองสิ่งธรรมดาให้เป็นความงดงามที่แสนจะพิเศษ และค้นหาเรื่องราวเล็กๆ ที่ซ่อนอยู่ในสิ่งที่คนส่วนใหญ่มองข้ามไป 

เก็บทริคเหล่านี้ไว้ให้ดี หยิบกล้อง แล้วถ่ายให้โลกเห็นว่า ‘กรุงเทพฯ’ ในมุมมองคุณเป็นแบบไหน

แดนนี่ (Danny)

ถ้าถามแดนนี่ จุดถ่ายภาพที่ดีที่สุดคือที่ไหน บอกเลยว่ามันไม่ใช่จุดท่องเที่ยวดังๆ แน่นอน เขาชอบเดินถ่ายตามตลาดท้องถิ่นง่ายๆ อย่างตลาดคลองเตยที่มีชีวิตชีวาไม่หยุดตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังแนะนำย่านเสาชิงช้าที่เต็มไปด้วยพระพุทธรูปและตึกเก่าจากสมัยก่อนที่มีเสน่ห์เฉพาะตัว

แดนนี่ยืนยันเลยว่า แสงตอนเช้าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพสำหรับเขา แต่อย่างไรก็ตาม เขาบอกว่า ‘ตราบใดที่วันนั้นยังมีแสงแดดอยู่ เวลาไหนก็ถ่ายได้ทั้งนั้น’ เขาเลยไม่ค่อยออกไปถ่ายในวันที่ฟ้าไม่เป็นใจ เพราะเชื่อว่าวันฟ้ามัวๆ ทำให้เสน่ห์ของเมือง ดูราบเรียบไปหมด 

ในฐานะคนใช้กล้อง Canon มาอย่างยาวนาน เขาชื่นชมในความเสถียรของระบบ และบอกว่า ‘เพราะผมรู้ว่าโทนสีและกล้องจะตอบสนองอย่างไรมันทำให้ผมโฟกัส กับโมเมนต์ตรงหน้าได้เต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องอุปกรณ์ว่ามันจะมีปัญหากลางทาง 

สำหรับโปรเจกต์ Capture Bangkok นี้ เขาเลือกใช้ Canon RF 35mm f/2.8 เนื่องจากขนาดเล็กกะทัดรัดและควบคุมได้เข้ามือ โดยเฉพาะเวลาที่ต้องถ่ายใน สภาพแวดล้อมที่ทุกคนเร่งรีบไปหมดอย่างกรุงเทพฯ เขามักตั้งรูรับแสงไว้ที่ f/5.6–f/8 เพื่อให้ภาพคมชัดตลอดเฟรมที่ถ่าย และเมื่อพูดถึงการถ่ายภาพผู้คน แดนนี่กล่าวว่า ให้พยายามเข้าหาคน เขาแนะนำให้เรียนประโยคง่ายๆ อย่าง ‘ถ่ายรูปได้ไหมครับ’ เพราะคำถามสั้นๆ แบบนี้แหละ คือหัวใจสำคัญในการสร้างความเชื่อใจ

Daniel Trujilo
Photograph: Daniel Trujilo


ดาร์เคิล (Darkle)

ดาร์เคิล ชวนให้ช่างภาพมองหาพลังงานที่ยังล่องลอยของเมืองกรุง เขาแนะนำให้ลองเข้าไปในพื้นที่ที่ยังมีอดีตของเมืองหลงเหลืออยู่ เช่น ย่านฝั่งธน โดยเฉพาะแถว ท่าดินแดง เขากล่าวว่า มันชวนให้นึกถึงเยาวราชช่วงปลายยุค 90 ถึงต้น 2000  เพราะเป็นพื้นที่ที่ระบบเศรษฐกิจพ่อค้าแม่ค้าท้องถิ่นยังคงดำรงอยู่อย่างสมบูรณ์จนถึงตอนนี้ คำแนะนำของเขาสำหรับคนที่อยากจะไปสำรวจแถวนั้นคือ ให้ ‘เดินเงียบๆ ’ 

นอกจากนี้ยังชวนให้ลองเดินตาม ‘เส้นเลือดฝอย’ เก่าๆ ของเมืองอย่าง แขนงซอยแปลกๆ หรือรอยผุพังจากช่วงเวลาและความทรงจำ อย่างเช่น ตามแนวคลอง หรือรางรถไฟ ที่เต็มไปด้วยความทรงจำเลือนลางที่กำลังจะถูกลืม โดยช่วงเวลาที่เขาชอบถ่ายภาพที่สุด ก็คือยามเช้า เพราะเขารู้สึกว่าแสงอ่อนๆ มันมอบความรู้สึก ‘นุ่มนวล’ ให้กับทุกๆ สิ่งรอบตัว

ในการถ่ายทำโปรเจกต์นี้ดาร์เคิล เลือกใช้ Canon RF 24–105mm f/2.8L เพราะความอเนกประสงค์ของมันที่เขาสามารถซูมเข้าไปถ่ายภาพชีวิตบนท้องถนนได้อย่างแนบบเนียน ได้ดีกว่าแบบอื่น ส่วนอีกเลนส์ที่เขาใช้งานคือ Canon RF 100mm f/2.8L Macro เพื่อเก็บรายละเอียดเล็กๆ โดยพึ่งพาระบบกันสั่นขั้นเทพแบบ 8 สต็อปของบอดี้ EOS R5

สำหรับดาร์เคิล เขาคิดว่า ความเคารพ คือสิ่งที่สำคัญที่สุด แต่ก็ไม่ควรมากไปจนน่าอึดอัด เพราะเขาเชื่อว่าสิ่งที่ทำให้ภาพหนึ่งภาพออกมาดูสมจริงที่สุด คือแรงดึงดูดของผู้ถ่ายกับตัวแบบ และแนวทางการถ่ายภาพของเขาคือการหาสมดุลที่พอดี หรือถ้อยคำทรงพลังของเขาว่า ถ่อมตัว แต่คงความเท่ไว้ 

Darkle
Photograph: Darkle


ดรณ์ อมาตยกุล

ดรณ์ชื่นชอบในพลังงานจากชีวิตจริงของชุมชนท้องถิ่นต่างๆ อย่างสถานที่โปรดของเขานั่นก็คือ ตลาดโบ๊เบ๊ ที่เต็มไปด้วยบรรยากาศคึกคักและวิถีชีวิตชาวบ้านแบบจริงๆ
เขาแนะนำเส้นทางเดินถ่ายภาพสตรีทแบบคลาสสิกอย่าง ตลาดพลูและเยาวราช ย่านที่ยังคงรักษาความเป็นชุมชนดั้งเดิมเอาไว้ได้อย่างดีในกรุงเทพฯ และกล่าวว่า ‘ถ้าไปเดินที่นี่ ไม่มีทางที่คุณจะได้กลับบ้านมือเปล่าอย่างแน่นอน’ 

ดรณ์เป็นคนที่รักในความงดงามของแสงยามเย็น (Golden Hour) เพราะแสงช่วงนี้มีอะไรบางอย่างที่เหมือนสะกดจิตคุณให้หลงไหลไปกับมัน และเข้ากันได้พอดีกับ โทนสีเหลืองนวลอ่อนๆ ของไฟล์ภาพจากกล้อง Canon ซึ่งช่วยให้ภาพของเขาดูละมุน และสวยงามมากกว่ามองด้วยตาเปล่า

ในการถ่ายภาพแนวสตรีท Don เลือกใช้เลนส์ซูมอย่าง
Canon RF 24–105mm f/4L IS USM และ RF 70–200mm f/4L IS USM โดยเขาจะไม่ยึดกับการตั้งค่าตายตัว แต่จะเลือกให้กล้องปรับตามแสง และเปิดโหมดจับใบหน้า เพื่อไม่ให้พลาดจังหวะดีๆ ซึ่งสิ่งที่เขาให้ความสำคัญคือการพูดคุยแบบเป็นกันเอง เพราะมันเป็นทางที่จะเข้าถึงคนอื่นๆ ได้ดีที่สุด ด้วยสไตล์ของเขาที่ชอบถ่ายให้ผู้คน

ในองค์รวมของฉากใหญ่ ขนาดของกล้องจึงไม่เคยเป็นปัญหาสำหรับเขาส่วนสไตล์การแต่งภาพ ดรณ์ใช้ Lightroom แบบง่ายๆ  และปรับแต่งภาพเล็กน้อยจากไฟล์ RAW จากสีที่สวยอยู่แล้ว ให้ออกมาเหมือนกับภาพที่ตาเห็น

Don Amatayakul
Photograph: Don Amatayakul

คเณศ สินก่อเกียรติ

คเณศแนะนำให้เดินตามเลียบเส้นริมคลองของเมือง อย่างเช่น คลองบางกอกน้อย ที่ยังคงมี วิถีชีวิตโบราณให้เห็น ณ ปัจจุบันนี้ ตั้งแต่คนพายเรือ ไปจนถึงสถานีรถไฟไอน้ำเก่าแก่ ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกล อีกหนึ่งสถานที่โปรดของเขานั่นคือ ปากคลองตลาด ในช่วงบ่ายแก่ๆ ที่แสงแดดจัดลอดผ่านผ้าใบมากลายเป็นลำแสงเฉพาะจุด สร้างเงาและแสงที่สวยชัด แบบดรามาติก เขากล่าวว่า ‘ผมชอบถ่ายตะกร้าผลไม้ที่วางซ้อนเรียงกัน สีสันมันหลากหลายและสดใสมาก’

เวลาเดินถ่ายภาพคเณศจะใช้ Canon RF 15–30mm สำหรับภาพมุมกว้าง และ RF 24–105mm แต่ถ้าอยากเจาะรายละเอียดเฉพาะจุด เขาจะใช้เทคนิคที่เรียกว่า ‘fishing’ นั่นก็คือการยืนรอในโลเคชันที่ใช่ แล้วรอให้เรื่องราวเดินผ่านเข้ามาในเฟรมเอง และเพื่อให้พร้อมสำหรับทุกจังหวะ เขาจึงตั้งรูรับแสงไว้ล่วงหน้าที่ f/7.1 หรือ f/8 นอกจากนี้คเณศยังเชื่อว่า ความเป็นมิตรและการรู้จักสังเกตสิ่งต่างๆ คือหัวใจสำคัญ ในการถ่ายภาพผู้คนท้องถิ่น รอยยิ้มเล็กๆ การพยักหน้าเบาๆ และการอ่านภาษากายให้เป็น คือสิ่งที่สำคัญมากเช่นกัน และถ้าใครดูไม่สบายใจที่จะโดนถ่าย ‘ผมจะหยุดถ่ายทันที ไม่ฝืน ไม่รุกล้ำ’

Ganesh Sinkorkiat
Photograph: Ganesh Sinkorkiat

เฮี้ยง เรืองนิรมาณ กาญจน์จิณณะ

สำหรับเฮี้ยง คำถามที่ว่าจะถ่ายที่ไหนดีในกรุงเทพฯ มีคำตอบเดียวนั่นก็คือ ‘เจริญกรุง’ เพราะถนนทั้งเส้นคือผ้าใบของเธอไปแล้ว ช่วงเวลาที่เธอชอบที่สุดในการถ่ายภาพบนถนนสายนี้คือ แสงยามเย็นระหว่าง 16.00 - 18.00 น. สไตล์การถ่ายภาพของเธอตรงไปตรงมา แบบไม่อ้อมค้อม โดยเฉพาะเวลาจะถ่ายคน เธอใช้กฎง่ายๆ ข้อเดียว คือการถามแบบตรงไปตรงมาว่า ‘ขอถ่ายรูปได้ไหมคะ’

แนวคิดแบบนี้ก็สะท้อนอยู่ในการแต่งภาพของเธอเช่นกัน ลายเซ็นของเฮี้ยง คือ โทนแมตต์ผสม วิกเนตที่ไม่เน้นความเนี้ยบทางเทคนิคแต่กลับให้ความสำคัญกับอารมณ์ของภาพ โดยส่วนใหญ่ เธอกล่าวว่า ‘ภาพที่ดีสำหรับฉัน คือภาพที่ถ่ายทอดอารมณ์ของช่างภาพ หรือของตัวภาพออกมาได้ด้วยตัวเอง’ และนี่ คือสิ่งที่ทำให้ภาพของ Hiang มีพลัง และเข้าถึงใจคนดูได้อย่างลึกซึ้งจริงๆ

Hiang Kanjinna
Photograph: Hiang Kanjinna


STYLEdeJATE

ถ้าถาม STYLEdeJATE ว่ามีโลเคชันลับที่ไหนแนะนำบ้าง เขาจะตอบเลยว่า ‘ทุกที่ที่ยังไม่เคยไปนั่นแหละ คือสมบัติลับที่รอให้ค้นหา’ คำแนะนำของเขาคือ ให้ขยันหน่อย เดินเข้าซอยไหนก็ได้ แค่เดินไปเรื่อยๆ เดี๋ยวตัวตนของเมืองมันจะเผยออกมาเองเขาชอบทดลองจับคู่กล้อง Mirrorless ของ Canon กับเลนส์มือหมุนวินเทจ
เพราะรู้สึกว่าเลนส์เก่าๆ พวกนี้มันช่วยลบความคมจัดๆ แบบยุคดิจิทัลออกไปได้เลย
ให้ภาพมีความนุ่มละมุนมากขึ้น

แนวทางการเข้าหาคนของเขาก็เป็นธรรมชาติไม่แพ้กัน แค่ยิ้ม ทักทาย แล้วเริ่มคุยเหมือนคนทั่วไป
เขาเชื่อว่า ‘ความเป็นมิตรคือภาษาสากล’ และคนไทยก็พร้อมจะเป็นมิตรกับคุณตลอดอยู่แล้ว ขั้นตอนการทำงานของเขาคือการปล่อยให้มันเป็นไป สำหรับโปรเจกต์นี้ เขาใช้กล้องขนาดเล็ก แล้วพรินต์ภาพทันทีด้วย เครื่องพิมพ์พกพาของ Canon เป็นการย้ำเตือนว่าข้อจำกัดข้อเดียว คือความคิดสร้างสรรค์ของคุณเองเท่านั้นแหละ

STYLEdeJATE
Photograph: STYLEdeJATE

ปิติ อัมระรงค์

ปิติ แนะนำให้มองหาพื้นที่ที่ผู้คนรวมตัวกันด้วยพลังและใจรัก ถ้าสำหรับประสบการณ์ที่แตกต่างไม่เหมือนใคร เขาแนะนำให้ไปซื้อตั๋วบอลสักใบ แล้วเข้าไปสัมผัสบรรยากาศในสนาม PAT ของทีมการท่าเรือสักครั้ง และเพื่อเลี่ยงแดดร้อนเผา ๆ  เขาแนะนำให้เริ่มเดินถ่ายช่วงบ่ายแก่ๆ ประมาณบ่ายสาม ที่แสงเริ่มอ่อนลงและอุณหภูมิกำลังดี

ในโปรเจกต์นี้ปิติ ใช้เลนส์เอนกประสงค์ Canon RF 24–50mm f/4.5–6.3 IS STM
แต่เลนส์ที่เขาชอบที่สุดคือ RF 28mm f/2.8 STM pancake
เพราะมันขนาดกำลังดี เหมาะกับการถ่ายสตรีท พกง่าย แถมราคาไม่แพง และสำหรับการถ่ายภาพผู้คน ปิติแนะนำให้แกล้งทำตัวเป็นนักท่องเที่ยว เพราะคนท้องถิ่นจะไม่ติดใจสงสัยว่าคุณกำลังถ่ายอะไรแปลกๆ อยู่หรือเปล่า นอกจากนั้นเขายังเชื่อในหลักการแต่งภาพให้ง่ายที่สุด และเตือนว่า ในโลกของภาพถ่ายแนวสตรีทสิ่งสำคัญคือเนื้อหา และบางทีความไม่สมบูรณ์แบบนี่แหละ ที่ทำให้ภาพมันมีชีวิตชีวา

Piti Amraranga
Photograph: Piti Amraranga

พีเค วรรณศิริกุล

พีเค เชื่อว่า ภาพที่จริงแท้ที่สุด ก็อยู่ในย่านที่อยู่อาศัยนั่นแหละ เขาแนะนำว่าให้ลองเดินสำรวจ ย่านบางกระเจ้า เหม่งจ๋าย หรืออุดมสุข เพื่อสัมผัสชีวิตท้องถิ่นแบบแท้จริง แต่ถ้าอยากได้บรรยากาศที่ต่างออกไป เขาชอบเดินถ่ายแถวนานา และ อโศกตอนกลางคืน เพื่อบันทึกชีวิตหม่นๆ ดิบๆ อีกด้านหนึ่งของกรุงเทพฯ พร้อมกับแนะนำว่า ให้ไปตามจังหวะของโมเมนต์ ไม่ใช่แค่ตามแสงไป เพราะภาพที่ดี มันขึ้นอยู่กับมุมมองของเรา ไม่ได้มีสูตรตายตัวอะไรเลย

PK ชอบใช้ เลนส์ซูม f/2.8 series ของ Canon เพราะให้ความยืดหยุ่นในการถ่ายได้จริง
ช่วงนี้เขาก็ยังทดลองใช้สปีดชัตเตอร์ช้า เพื่อให้ภาพมีความรู้สึกเหนือจริงและดูฟุ้งฝันมากขึ้น กฎข้อหนึ่งที่เขายึดไว้เสมอเวลาถ่ายคนคือ ความสุภาพ และเชื่อว่า ‘ถ้าโมเมนต์นั้นไม่ใช่ ก็แค่ยืนมองและเก็บไว้ในใจ ดีกว่าฝืนถ่ายแล้วเสียจังหวะ’ PK เสริมว่า กล้องโปรอย่าง Canon ยังช่วยให้คุณดูมืออาชีพขึ้นในสายตาคนอื่น และนี่ก็มีส่วนทำให้คนในรูปรู้สึกวางใจ และเชื่อใจเขามากกว่าเดิมอีกด้วย

PK Vanasirikul
Photograph: PK Vanasirikul

ตอนนี้ถึงตาคุณแล้ว

ได้ฟังทริคจากมือโปรไปแล้ว ตอนนี้ถึงทีของคุณแล้ว ที่จะสร้างงานภาพระดับมาสเตอร์พีซ ของตัวเองออกมาให้คนทั้งโลกได้เห็น นาฬิกานับถอยหลังเริ่มขึ้นต้นแล้ว! กับการส่งภาพ เข้าประกวดในแคมเปญ Time Out Capture Bangkok ที่จะปิดรับผลงานในวันที่ 15 กรกฎาคมนี้ เหลือเวลาอีกไม่กี่วัน ที่คุณจะได้ออกไปตามหาแสงที่ใช่ จังหวะที่ชอบ และกดชัตเตอร์ในโมเมนต์ที่มีแค่คุณคนเดียวที่มองเห็นและถ้าอยากเห็นภาพถ่ายของคุณ ไปอยู่บนผนังแกลเลอรีที่ The Corner House ส่งภาพของคุณมาตอนนี้ได้เลย กรุงเทพฯ กำลังรอให้คุณถ่ายทอดตัวตนของมันออกมาอยู่!

บทความล่าสุด
    การโฆษณา