เยาวราช Yaowarat
Sereechai Puttes/Time Out Bangkok

5 เส้นทาง Walk Tour กิจกรรมไฮไลต์จากงาน WOW 2022

เดินสำรวจตึกสวย ย่านเก่าและพื้นที่สีเขียว

Suriyan Panomai
เขียนโดย
Suriyan Panomai
การโฆษณา

หนึ่งในอีเวนต์น่าสนใจของเดือนนี้คือ ครั้งแรกของ WOW (Wonder of Well-being City 2022) “อัศจรรย์เมืองน่าอยู่” เทศกาลกลางสวนที่ว่าด้วยเรื่องของเมืองน่าอยู่ โดยชวนทุกคนไปเรียนรู้และเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่ ผ่านกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ ทั้งงานบรรยายเสวนา นิทรรศการ งานเฟสติวัลในสวน ฯลฯ

รวมถึงกิจกรรมไฮไลต์อย่าง WOW Walk Tour ที่จะพาทุกคนไปเดินสำรวจกรุงเทพฯ บน 5 เส้นทาง พาไปชมตั้งแต่วิถีชีวิตของผู้คนในย่านเก่าแก่ ชมสถาปัตยกรรมดั้งเดิม และการออกแบบพื้นที่สีเขียวสาธารณะ โดยมีทั้งนักวิชาการ สถาปนิก และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเส้นทางมาเป็นวิทยากร

WOW 2022 “อัศจรรย์เมืองน่าอยู่” จัดโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับจับมืออมรินทร์กรุ๊ป พร้อม 4 องค์กรพันธมิตร นำโดยกรุงเทพมหานคร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) และสำนักนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

งานจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-27 พ.ย. 2565 เวลา 10.00-22.00 น. ณ สวนเบญจกิติ ส่วนกิจกรรม WOW Walk Tour มีตั้งแต่วันที่ 23-28 พ.ย. 2565 ใครสนใจสามารถดูรายละเอียดแต่ละเส้นทางได้ในโพสต์นี้หรือซื้อบัตรได้ที่ https://bit.ly/3TdbXBe และติดตามกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่ WOW อัศจรรย์เมืองน่าอยู่

Urban Forest
Sereechai Puttes / Time Out Bangkok

Urban Forest

Location: สวนเบญจกิติ

Date: 23 พฤศจิกายน 2565​

Time: 15.00 - 18.00 น.

Price: 500 บาท (รับต้นไม้ฟอกอากาศฟรีหลังจบงาน)

ประเดิมด้วยเส้นทาง Urban Forest ที่ชวนทุกคนออกสำรวจ ‘ป่าในเมือง’ ณ สวนเบญจกิติ ที่เกิดจากการพัฒนาพื้นที่โรงงานยาสูบเก่าให้กลายเป็น ‘ปอดขนาดใหญ่’ ที่มีระบบนิเวศน์หมุนเวียนที่อุดมสมบูรณ์ทั้งพืชและสัตว์ ยิ่งไปกว่านั้นคือการเป็นพื้นที่สีเขียวสาธารณะที่สามารถเยียวยาจิตใจของคนเมืองได้เป็นอย่างดี

วิทยากรในเส้นทางนี้ ได้แก่ ‘ชัชนิล ซัง’ และ ‘พรหมมนัส อมาตยกุล’ จากสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ ทีมผู้ออกแบบสวนเบญจกิติ ที่จะมาเปิดเผยแนวคิดการออกแบบพื้นที่ เช่น โซนบ่อน้ำ อัฒจันทร์กลาง ทางเดินลอยฟ้า ฯลฯ รวมถึงให้ความรู้เรื่องพรรณไม้ ผ่านการเดินทัวร์ในสถานที่จริง

Old Town Living
หมอหวาน

Old Town Living

Location: ฝั่งพระนคร

Date: 25 พฤศจิกายน 2565​

Time: 10.00 - 15.00 น.

Price: 850 บาท

จากเยาวราชข้ามไปที่ฝั่งพระนคร ย่านเก่าแก่ที่ยิ่งนานยิ่งมีเสน่ห์ คนมักกล่าวว่า ‘เมืองเก่า’ เล่ายังไงก็ไม่ใหม่ แต่หลายครั้งผู้คนก็มักจะโหยหาความเก่าแก่เพื่อใช้สร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ รวมถึงเป็นสถานที่พักผ่อนที่ให้ทั้งความสงบและสบายใจที่มาคู่กับเรื่องราวที่คนรุ่นใหม่นำมาต่อเติมให้สนุกและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

ดร.พีรียา บุญชัยพฤกษ์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พร้อมผู้จัดการร้าน Craftsman จะมารับหน้าที่วิทยากร แนะนำอาคารโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจและการปรับรูปแบบอาคารเก่ามาใช้เป็น Pop up café ชั่วคราว รวมถึงเดินสำรวจร้านเก่าแก่ในย่าน อาทิ บ้านหมอหวาน ร้านขายยาแผนไทยในบ้านสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 6, บ้านขนมปังขิง รวมถึงชมงานสถาปัตยกรรมเก่าแก่บนถนนตะนาวและย่านสามแพร่ง

การโฆษณา
Living with Nature
Arsom Silp Institute of the Arts

Living with Nature

Location: สถาบันอาศรมศิลป์

Date: 26 พฤศจิกายน 2565​

Time: 10.00 - 14.00 น.

Price: 850 บาท

หากคุณสนใจเรื่องสถาปัตยกรรมในมุมของแนวคิดและการออกแบบ (มากกว่าแค่ความสวยงามและประวัติศาสตร์) เส้นทางนี้น่าจะตอบโจทย์ เพราะคุณจะได้รับข้อมูลจาก ‘ธนา อุทัยภัตรากูร’ สถาปนิกและอาจารย์ประจำสาขาวิชาสถาปัตยกรรมเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม สถาบันอาศรมศิลป์ จะพาเราไปทำความรู้จักกับสถาบันอาศรมศิลป์ให้มากขึ้นตั้งแต่การก่อตั้ง เป้าหมาย แนวทางการสอนเรื่องสถาปัตยกรรมที่เชื่อมโยงชีวิต ชุมชน และสิ่งแวดล้อม พร้อมพาชมสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ อาทิ หอศิลป์ไม้ไผ่ (Bamboo Architecture) อาคารรพินทร ฯลฯ 

Visit the Parliament (เต็มแล้ว)
สัปปายะสภาสถาน

Visit the Parliament (เต็มแล้ว)

Location: สัปปายะสภาสถาน

Date: 28 พฤศจิกายน 2565​

Time: 14.00 - 18.00 น.

Price: 850 บาท


เปิดบ้าน ‘สัปปายะสภาสถาน’ อาคารรัฐสภาแห่งใหม่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อการเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัวและสภาถือว่าเป็นสถาบันทางการเมืองที่ใหญ่ที่สุดและใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด เส้นทางนี้จะพาทุกคนไปชมการออกแบบผ่านมุมมองของ ‘ชาตรี ลดาลลิตสกุล’ จากต้นศิลป์ สตูดิโอ และ ‘ปิยเมศ ไกรฤกษ์’ จาก บลูแพลนเนตดีไซน์ อินเตอร์เนชั่นแนล 2 สถาปนิกผู้ออกแบบรัฐสภาโฉมใหม่หลังที่ 3 ของประเทศไทย

เส้นทางนี้เราจะสำรวจสัปปายะสภาสถานทั้งภายในตั้งแต่ห้องรับรองและบริเวณโถงชั้น 1, ห้องประชุมใหญ่ ส.ส. ที่ชั้น 2 และโถงรัฐพิธี ที่ชั้น 11 รวมถึงพื้นที่ภายนอกอาคาร ได้แก่ ศาลาแก้ว, สวนประชาชน สวนประชาธิปไตย รวมถึงงานศิลปกรรม ‘ดอกบัวทอง’ ที่ออกแบบโดยอาจารย์แสงอรุณ รัตกสิกร

เรื่องเด่น
    เรื่องน่าสนใจอื่นๆ ที่คุณน่าจะชอบ
      การโฆษณา