Unfolding Bangkok: Greeting Benjakitti

  • Things to do, นิทรรศการ
  1. Unfolding Bangkok: Greeting Benchakitti
    Photograph: Yasinthorn SangprateepUnfolding Bangkok: Greeting Benchakitti
  2. Unfolding Bangkok: Greeting Benchakitti
    Photograph: Yasinthorn SangprateepThe Center of the Universe
  3. Unfolding Bangkok: Greeting Benchakitti
    Photograph: Yasinthorn SangprateepHornbill Villa
  4. Unfolding Bangkok: Greeting Benchakitti
    Photograph: Yasinthorn SangprateepUnfolding Bangkok: Greeting Benchakitti
  5. Unfolding Bangkok: Greeting Benchakitti
    Photograph: Yasinthorn SangprateepThe Circle Biogenesis 2023
การโฆษณา

Time Out พูดว่า

Unfolding Bangkok: Greeting Benjakitti เปิดให้เข้าชมแล้ว ชวนไปเดินดูงานศิลปะที่ซ่อนตัวอยู่ตามจุดต่างๆ ของสวนเบญจกิติ เป็นการพาสำรวจพื้นที่ไปในตัวเพื่อให้คนดูได้ทำความรู้จักกับสภาพแวดล้อมของสวน ผู้อยู่อาศัย (สัตว์ต่างๆ) และผู้ใช้งานซึ่งก็คือคนเมืองทุกเพศทุกวัย เพื่อสร้างความเข้าใจการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

ศิลปะจัดวาง (Art Installation) ในสวนเบญจกิติมีทั้งหมด 5 ผลงาน สร้างสรรค์โดย อังกฤษ อัจฉริยโสภณ ศิลปินและคิวเรเตอร์ ร่วมกับ 5 ศิลปินชั้นนำของไทย ได้แก่ สุวรรณี สาระบุตร, วิชญ์ พิมพ์กาญจนพงศ์, สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์, สุริยะ อัมพันศิริรัตน์ และ อรรถพร คบคงสันติ แต่ละผลงานมีรายละเอียดดังนี้   

  • The Circle Biogenesis 2023 (สุริยะ อัมพันศิริรัตน์) แสดงถึงความสัมพันธ์ของธรรมชาติ ชีวิต และจักรวาล ผ่านงานสถาปัตยกรรมทรงกลมที่ประบกอบด้วยรางปลูกข้าว 3 ชั้น ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ของเวลา 24 ชั่วโมงใน 1 วันโดยแบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา (8-8-8) พร้อมติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อดึงน้ำมาหล่อเลี้ยงต้นข้าว  ขณะเดียวกันต้นข้าวก็เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นอาหารหล่อเลี้ยงตนเองด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสง และเติบโตเป็นข้าวที่หล่อเลี้ยงชีวิตของมนุษย์
  • Stingless Bee City – ผึ้งน้อยธานี (วิชญ์ พิมพ์กาญจนพงศ์) หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วในสวนเบญจกิติมีผึ้งชันโรงอาศัยอยู่จำนวนมาก ซึ่งน้องๆ มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูระบบนิเวศในเมืองอย่างมาก ศิลปินจึงสร้างรังขึ้นมาเพื่อให้ผึ้งชันโรงเข้ามาอยู่อาศัยและทำหน้าที่นั้น โดยได้แรงบันดาลใจในการออกแบบมาจากการเรียงตัวของเกสรดอกไม้และผลไม้ เปรียบเหมือนอาคารที่อยู่อาศัยที่รายล้อมสวนเบญจกิติ เป็นสัญลักษณ์ของการยอมรับและให้เกียรติแมลงขนาดเล็กในฐานะสมาชิกสำคัญของระบบนิเวศในเมืองใหญ่
  • Hornbill Villa – วิลล่านกเงือก (สุวรรณี สาระบุตร) ผลงานเครื่องปั้นดินเผาจำนวน 200 ชิ้นที่ถูกออกแบบให้เป็นรังที่ปลอดภัยของนกและสัตว์อื่นๆ ในสวนเบญจกิติ โดยศิลปินได้สร้างสรรค์ร่วมกับชุมชนช่างปั้นครกดินเผาในชุมชนไทญ้อจากบ้านกลาง อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอันได้รับผลกระทบจากการพัฒนาความเจริญเพื่อความสะดวกสบายของมนุษย์
  • House of Silence – เรือนแห่งความเงียบ (สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์) ผลงานชิ้นนี้ต้องการเปิดพื้นที่ให้ผู้ชมงานได้มีเวลาอยู่กับตัวเอง หยุดพัก คิด ทบทวน และสังเกตความเคลื่อนไหวของธรรมชาติรอบตัว ผ่านแสงสว่างที่ตกกระทบและเงาที่ส่องสะท้อน (ผลงานอยู่ระหว่างการติดตั้งเลยยังไม่มีภาพประกอบ)
  • The Center of the Universe – จุดศูนย์กลางจักรวาล (อรรถพร คบคงสันติ) ศิลปินชวนทุกคนมองสวนเบญจกิติในมุมใหม่ๆ ผ่านกล้องคาไลโดสโคปที่สะท้อนแสง สี และมิติที่หลากหลาย ภาพที่เห็นจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ชม ช่วงเวลา และทิศทาง

นอกจากงานศิลปะจัดวางทั้ง 5 ผลงานแล้ว ทุกๆ วันเสาร์-อาทิตย์ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม - 23 เมษายน 2566 (ยกเว้นสัปดาห์สงกรานต์) ยังมีศิลปะการแสดงและกิจกรรมเวิร์กช็อปโดยสมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (CAPT) ให้เข้าร่วมด้วย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ CEA

Unfolding Bangkok: Greeting Benjakitti เปิดให้เข้าชมแล้ววันนี้ - 30 กันยายน 2566

Suriyan Panomai
เขียนโดย
Suriyan Panomai

รายละเอียด

ที่อยู่
การโฆษณา
เรื่องน่าสนใจอื่นๆ ที่คุณน่าจะชอบ