ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC))

  • Things to do
  • คลองเตย
  1. Queen Sirikit National Convention Center
    Tanisorn Vongsoontorn/Time Out BangkokLokuttara at Queen Sirikit National Convention Center
  2. Queen Sirikit National Convention Center
    Tanisorn Vongsoontorn/Time Out BangkokQueen Sirikit National Convention Center
  3. Queen Sirikit National Convention Center
    Tanisorn Vongsoontorn/Time Out BangkokLokuttara at Queen Sirikit National Convention Center
  4. Queen Sirikit National Convention Center
    Tanisorn Vongsoontorn/Time Out BangkokLokuttara at Queen Sirikit National Convention Center
  5. Queen Sirikit National Convention Center
    Tanisorn Vongsoontorn/Time Out BangkokLokuttara at Queen Sirikit National Convention Center
  6. Queen Sirikit National Convention Center
    Tanisorn Vongsoontorn/Time Out BangkokQueen Sirikit National Convention Center
  7. Queen Sirikit National Convention Center
    Tanisorn Vongsoontorn / Time Out Bangkok
  8. Queen Sirikit National Convention Center
    Tanisorn Vongsoontorn/Time Out BangkokQueen Sirikit National Convention Center
  9. Queen Sirikit National Convention Center
    Tanisorn Vongsoontorn / Time Out Bangkok
  10. Queen Sirikit National Convention Center
    Tanisorn Vongsoontorn / Time Out Bangkok
การโฆษณา

Time Out พูดว่า

อีกไม่กี่วันแลนด์มาร์กบนถนนรัชดาภิเษกอย่าง ‘ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์’ ก็จะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งหลังปิดปรับปรุงไปนานถึง 3 ปี 5 เดือน ซึ่งเป็นการปรับปรุงครั้งแรกในรอบเกือบ 30 ปีนับตั้งแต่เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี 2534 ต้อนรับการประชุมประจำปีของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศครั้งที่ 46 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ หรือเมื่อ 31 ปีที่แล้ว 

เดิมศูนย์ฯ สิริกิติ์มีพื้นที่ 65,000 ตารางเมตร แต่กลับมาครั้งนี้เราจะมีศูนย์ประชุมกลางเมืองที่ใหญ่ขึ้นถึง 5 เท่า ด้วยพื้นที่รวม 300,000 ตารางเมตร มีทั้งพื้นที่จัดอีเวนต์ พื้นที่รีเทล ฮอลจัดนิทรรศการ ห้องเพลนารี ห้องบอลรูม และพร้อมจุดยืนใหม่ active lifestyle mall ซึ่งจะทำให้ที่นี่เป็นมากกว่าศูนย์การประชุม

การตกแต่งภายในเน้นนำเสนอความเป็นไทยผสมผสานกับยุคสมัยใหม่ได้อย่างลงตัวภายใต้แนวคิด ‘สืบสาน รักษา ต่อยอด’ โดยได้แรงบันดาลใจจากฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มาสร้างสรรค์ให้แต่ละชั้นภายในศูนย์ฯ มีความโดดเด่นแตกต่างกัน ได้แก่

ชั้น LG เป็นพื้นที่จัดแสดงสินค้าและนิทรรศการ เชื่อมต่อกับทางเข้ารถไฟฟ้าใต้ดิน MRT เน้นบรรยากาศสบายๆ เป็นกันเองเหมือน ‘ชุดไทยจำลอง’ การตกแต่งจึงดึงเอาเสน่ห์ของผ้าไทยอย่างผ้าขาวม้า ผ้าถุง และเทคนิคการจับจีบและการซ้อนเกล็ดมาใช้

ชั้น G ประกอบด้วยฮอลจัดแสดงนิทรรศการ ศูนย์อาหาร และพื้นที่รีเทล บรรยากาศจะดูเป็นทางการขึ้นมาหน่อยแบบ ‘ชุดทางการแบบไทยประยุกต์’ การตกแต่งได้แรงบันดาลใจจากโจงกระเบน ผนังหินแท้มีการเซาะร่องและทำให้มีรูปทรงโค้งให้ดูคล้ายการจับจีบผ้า โถงนิทรรศการตกแต่งด้วยวัสดุสีทองแดง ส่วนไฮไลต์ชั้นนี้คือประตูกัลปพฤกษ์ ลายรดน้ำปิดทอง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมไทยสมัยก่อน

ชั้น 1 มีทั้งห้องบอลรูม ห้องเพลนารี และห้องประชุม นำลวดลายของ ‘ชุดชาวเขาไทย’ มาตกแต่งโดยลดทอนรายละเอียดบางอย่างให้เหลือแค่แพทเทิร์นรูปทรงเรขาคณิต ตกแต่งคู่กับวัสดุสีเงิน ซึ่งมาจากสีของเครื่องเงินที่ชาวเขามักสวมใส่ ส่วนชั้น 2 จะเป็นห้องประชุมย่อย พื้นที่รับรองแขก และร้านอาหาร ตกแต่งแบบเรียบหรูด้วยแรงบันดาลใจาก ‘ชุดไทยจักรี’ โดยนำลายประจำยามมาลดทอนรายละเอียดและขยายสัดส่วนให้ดูร่วมสมัยมากขึ้น ทั้งชั้นโปร่งโล่งด้วยผนังกระจกใสมองเห็นวิวสวนเบญจกิติฝั่งสวนน้ำแบบ 180 องศา

ถ้ายังจำได้ที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์จะมีงานศิลปะวางตกแต่งอยู่หลายชิ้น แต่ตอนนี้บางส่วนถูกเก็บไว้ที่กรมธนารักษ์และมีเพียง 4 ชิ้นที่เท่านั้นที่เราจะยังเห็นในศูนย์ฯ สิริกิติ์เวอร์ชั่นใหม่ ได้แก่ ‘โลกุตระ’ ของศิลปิน ชลูด นิ่มเสมอ ตั้งตะหง่านอยู่บริเวณหน้าและเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของศูนย์ฯ มาตั้งแต่เริ่มเปิดให้บริการ 

อีก 3 ชิ้นคือ ‘เสาช้าง ลูกโลก’ ของศิลปิน ธานี กลิ่นขจร เดิมทีเคยตั้งอยู่บริเวณโถงต้อนรับของศูนย์ฯ แต่ตอนนี้ถูกย้ายขึ้นมาไว้บนชั้น 1 ‘ประตูกัลปพฤกษ์ มือจับพญานาค’ 16 บาน ของศิลปิน ไพเวช วังบอน ถูกถอดจากประตูเพลนารี ฮอล ของศูนย์ฯ เดิมไว้ที่ชั้น G และ ‘พระราชพิธีอินทราภิเษก’ งานจำหลักไม้ขนาดใหญ่ของศิลปิน จรูญ มาถนอม ที่ถูกติดไว้บนผนังชั้น LG

Suriyan Panomai
เขียนโดย
Suriyan Panomai

รายละเอียด

ที่อยู่
60
QSNCC
ถนนรัชดาภิเษก
ตลองเตย
กรุงเทพมหานคร
10110
แยกถนน
Rama IV
การเดินทาง
MRT ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
การโฆษณา
เรื่องน่าสนใจอื่นๆ ที่คุณน่าจะชอบ