Get us in your inbox

Saranyu Nokkaew

Saranyu Nokkaew

Contributor

Saranyu is an art lover who falls in love with fascinating stories of forgotten lives. 

Follow Saranyu Nokkaew

Articles (5)

Things to do in Soi Kasemsan 1, 2 and 3

Things to do in Soi Kasemsan 1, 2 and 3

Usually overshadowed by the vibrancy of teen central, Siam Square, Soi Kasemsan, located behind Bangkok Art and Culture Center, is actually a neighborhood that offers an alternative side to the city’s cultural scene. Charming sights and untold stories lie hidden in the sois, awaiting your discovery.

รวมฮิตร้านดังคิวล้น ถนนเยาวราช

รวมฮิตร้านดังคิวล้น ถนนเยาวราช

เชื่อกันว่าของอร่อยต้องคอยคิวนาน แต่หากคอยอยู่นานนับชั่วโมง แล้วต้องประสบพบเจอกับอาหารที่ไม่อร่อยดังคาด ก็บอกได้เลยว่านั่นคือฝันร้ายชัดๆ โดยเฉพาะในถิ่นที่เต็มไปด้วยร้านคิวล้น คนมหาศาลอย่างเยาวราช การตัดสินใจว่าจะต่อคิวแลนด์ดิ้งลงร้านใดร้านหนึ่งไม่ต่างจากวาระแห่งชาติ เพราะร้านฮ็อตฮิตแต่ละร้านต่างก็ต้องจองบัตรคิวไม่ต่ำกว่าครึ่งชั่วโมง ดังนั้นถ้าจะยืนรอคิวอย่างจริงจังก็ต้องมั่นใจสักนิดว่าจะไม่พลาดได้กินของอร่อยจริง คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปจริง เช่นเดียวกับลิสต์ร้านอร่อยคอยนานประจำเยาวราชที่เราไปตระเวนชิมมา ทายกันซิว่ามีร้านไหนบ้างที่เรายอมจำนนต่อคิว และร้านไหนบ้างที่เราขอไปเพื่อคำว่าเก็บประสบการณ์จากนั้นก็ ... บัยยยย  แต่ถ้าออกจากบ้านแต่หัววัน แวะไปเช็คอินร้านอาหาร บาร์ และแกลเลอรีฮิปๆกันที่ย่านเจริญกรุงก่อน แล้วค่อยมาเยาวราชตอนค่ำๆก็ได้นะ

20 บุฟเฟ่ต์อาหารทะเลเจ้าเด็ดในกรุงเทพฯ

20 บุฟเฟ่ต์อาหารทะเลเจ้าเด็ดในกรุงเทพฯ

กุ้งตัวใหญ่ ปูสดๆ ปลาตามฤดูกาล และหมึกรสเด็ด ... เราได้รวบรวมบุฟเฟ่ต์อาหารทะเลเจ้าเด็ดในกรุงเทพฯ ที่ทั้งอร่อย สด กินได้ไม่อั้น แถมยังราคาเป็นมิตรกับกระเป๋าสตางค์อีกต่างหาก

Things to do near Mahakan Fort

Things to do near Mahakan Fort

Back in the reign of King Rama I, 14 forts were built around Rattanakosin Island in order to protect the city. Now, Mahakan Fort is one of the only two that have survived the test of time and has become one of the main tourist attractions in Bangkok’s Old Town. Behind the fort’s white wall lies one of the city’s oldest communities, where generations have lived for more than a hundred years. This community, however, is being expropriated by the Bangkok Metropolitan Administration in order to build a public park. (The idea, as expected doesn’t sit well with the residents who have lived here for decades.) So you may want to visit the area while it’s still there.

ที่กิน ที่เที่ยว ที่ชิลใกล้ป้อมมหากาฬ

ที่กิน ที่เที่ยว ที่ชิลใกล้ป้อมมหากาฬ

ยังไม่มีใครรู้ชัดว่าอนาคตของชุมชนหลังแนวเขตกำแพงพระนครเก่า “ป้อมมหากาฬ” จะเปลี่ยนไปอย่างไร แต่สิ่งที่ชัดเจนก็คือ วินาทีนี้ป้อมมหากาฬได้กลายเป็นอีกสปอร์ตไลต์ของการเที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ที่ครบรส ทั้งในฐานะ 1 ใน 2 ป้อมปราการสุดท้ายที่หลงเหลือมาจากการรื้อป้อมรอบเมืองทั้งหมด 14 แห่งที่ถูกสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 รวมทั้งการทำหน้าที่เป็นโบราณสถานมีชีวิตที่ยังคงมีกลิ่นอายชุมชนชานพระนครแบบดั้งเดิมให้ได้เห็น ชานพระนครนอกกำแพงเมืองแห่งนี้เคยเป็นท่าเรือสำคัญสำหรับขุนนางและเจ้านายที่ต้องเดินทางออกนอกเมืองทางคลองโอ่งอ่าง แสนแสบ และมหานาค แน่นอนว่าเมื่อการค้าในคลองคึกคัก ชุมชนจึงเกิดขึ้นพร้อมผลัดเปลี่ยนผู้อยู่อาศัยจากรุ่นสู่รุ่น จากผู้อาศัยเดิมสู่ผู้อยู่อาศัยใหม่หลังแนวกำแพงเมือง และป้อมสีขาวทรง 8 เหลี่ยมแห่งนี้ พิกัดของป้อมมหากาฬกินเนื้อที่ตั้งแต่หัวมุมถนนมหาไชย เชื่อมต่อถนนราชดำเนินกลาง สะพานผ่านฟ้าลีลาศ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และตรอกโรงไม้ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามคลอง ด้านหลังป้อมคือชุมชนบ้านไม้เก่าแก่ที่บางหลังก็ตกทอดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 นอกจากป้อมมหากาฬจะดึงดูดนักท่องเที่ยวด้วยตัวของป้อมเองแล้ว อีกหนึ่งความน่าสนใจในย่านนี้ก็คือการเป็นศูนย์รวมของวัดหลวง ตลอดงานช่างเก่าแก่ที่สามารถพบเจอได้สองฝั่งถนนมหาไชย เรื่อยไปยังประตูผีที่เปลี่ยนหน้าที่จากประตูขนศพออกนอกพระนคร มาเป็นย่านสตรีทฟูดสุดคึกครื้นในยามค่ำคืน ส่งให้มหากาฬเป็นย่านที่สามารถแวะมาหากันได้ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ

Listings and reviews (40)

นัยระนาบนอก อินซิทู: แปลงร่างอดีตในหลืบแห่งปัจจุบัน

นัยระนาบนอก อินซิทู: แปลงร่างอดีตในหลืบแห่งปัจจุบัน

4 out of 5 stars

สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้ผ่านการเก็บหน่วยกิตในชั่วโมงประวัติศาสตร์อย่างจริงจัง นิทรรศการวังน่านิมิต ที่จัดขึ้นเมื่อกลางปี 2561 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ถือเป็นการเปิดตัว “วังหน้า” อย่างเป็นทางการอีกครั้งหลังที่จากที่ตำแหน่งวังหน้า หรือ “กรมพระราชวังบวรสถานมงคล”  ถูกยุติบทบาทลงไปในสมัยรัชกาลที่ 5 อีกทั้ง “วังหน้า” อันหมายถึงพระราชวังที่ประทับของผู้อยู่ในตำแหน่งวังหน้าก็ถูกลดทอนลงจนหลายอาคารแทบไม่เหลือเค้าโครงเดิม นั่นจึงไม่แปลกที่จะทำให้คำว่า วังหน้า หายไปในห้วงความทรงจำ หลายคนไม่เคยรู้เลยด้วยซ้ำว่าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือแม้แต่สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ล้วนเคยเป็นส่วนหนึ่งของความยิ่งใหญ่ในพื้นที่วังหน้ามาก่อน จากภาคที่ 1 ของนิทรรศการวังน่านิมิต เข้าสู่ภาค 2 ของการนำข้อมูลประวัติศาสตร์ทั้งหมดของวังหน้าเข้าสู่คลังความรู้ออนไลน์ ก่อนจะต่อยอดสู่ภาค 3 “วังหน้านฤมิตในมิติแห่งกาลเวลา” ซึ่งจัดแสดงผ่านนิทรรศการร่วมสมัย นัยระนาบนอก อินซิทู: แปลงร่างอดีตในหลืบแห่งปัจจุบัน ที่พิเศษด้วยการเลือกจัดแสดงงานในสถานที่ประวัติศาสตร์จริง สมดังความหมาย อินซิทู (In Situ : In the original place) นั่นก็คือ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นท้องพระโรงวังหน้า และใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีต่างๆ ต่อเมื่อเวลาผ่านจึงใช้เป็นที่ประดิษฐานพระศพของสมเด็จพระบวรราชเจ้า และพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยได้รับการปรับปรุงใช้เป็นสถานที่จัดแสดงงานนิทรรศการหมุนเวียนต่างๆ รวมทั้งงานนิทรรศการ นัยระนาบนอก อินซิทู: แปลงร่างอดีตในหลืบแห่งปัจจุบัน ที่การันตีได้ถึงความโมเดิร์นล้ำสมัยที่สุดเท่าที่เคยจัดมาใน

ชุมชนเจริญไชย

ชุมชนเจริญไชย

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเยาวราช ไม่ว่าจะหมายถึงการจากไปของย่านเก่าที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ หรือการเข้ามาใหม่ของห้างร้าน อาคารพาณิชย์ รวมไปถึงรถไฟฟ้าใต้ดินก็ดี แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคง (อย่างน้อยก็ในเวลานี้) คือวิถีชีวิตของชาวจีนรุ่นต้นรัตนโกสินทร์ที่ถูกสืบทอดกันมาอย่างเคร่งครัดในตรอกเล็กๆ ริมถนนเจริญกรุงตอนบนที่ชื่อ “เจริญไชย” ตรอกการค้าที่เริ่มต้นจากโรงน้ำชาโคมเขียว ปัจจุบันที่นี่เป็นย่านทำกระดาษงานพิธีกรรมของชาวจีนที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุดทั้งในกรุงเทพฯ และประเทศไทย ซึ่งหนึ่งในเหตุผลน่าจะมาจากการที่ย่านนี้รายล้อมไปด้วยศาลเจ้าถึง 5 แห่ง ได้แก่ วัดมังกรกมลาวาส ศาลเจ้ากวางตุ้ง ศาลเจ้าหลี่ตีเบี้ยว ศาลเจ้าเล่งบ๋วยเอี้ย และศาลเจ้าไต่ฮงกง (มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง) ไม่น่าเชื่อว่าที่นี่แม้จะเป็นย่านทำกระดาษไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษตามธรรมเนียมจีนที่อยู่เมืองไทย แต่ครั้งหนึ่งหลังจากที่กระไหว้เจ้าถูกยกเลิกไปในประเทศจีนกว่า 30 ปี ช่างกระดาษในตรอกเจริญไชยนี่แหละที่นำความรู้เรื่องการทำกระดาษกลับไปถ่ายทอดให้ประเทศจีนอีกครั้ง ส่วนในปัจจุบันแม้กระดาษบางส่วนจะมาจากโรงงานในจีน แต่ทุกบ้านในตรอกยังคงสืบสานงานพับกระดาษทั้งแบบสมัยใหม่ และแบบโบราณ เดินเข้าไปตั้งแต่ต้นซอยถึงท้ายซอยก็จะได้เห็นทุกบ้านนั่งพับกระดาษกันมือเป็นระวิง นอกจากจะมาซื้อกระดาษเพื่อใช้ในงานพิธีกรรมต่างๆ ของชาวจีนแล้ว ในวันธรรมดา ที่นี่ยังมีพิพิธภัณฑ์ชุมชนเล็กๆ “บ้านเก่าเล่าเรื่องชุมชนเจริญไชย” ซึ่งซ่อนอยู่กลางตรอก ในห้องแถวลูกผสมไทย-ฝรั่ง-จีน ที่ได้แบบมาจากสิงคโปร์และสร้างในปลายรัชกาลที่ 5 โดย “บ้านเก่าเล่าเรื่องชุมชนเจริญไชย” แห่งนี้เปิดให้เข้าชมทุกวัน แต่อาจจะไม่มีคนนำชม เพราะคณะทำงานล้วนเป็นชาวชุมชนที่ขายของอยู่ในย่านนั้น ตัวพิพิธภ

ตำหนักปลายเนิน (วังคลองเตย)

ตำหนักปลายเนิน (วังคลองเตย)

ใครที่เคยใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินคลองเตย อาจจะคุ้นตาอยู่บ้างกับตรอกเล็กๆ ที่มักจะเปิดประตูแง้มให้เห็นถึงความร่มครึ้มใต้เงาต้นไม้ไทย ราวกับเป็นโอเอซิสของย่านคลองเตย บ้านปลายเนิน คือป้ายเล็กๆ หน้าบ้านที่ชวนให้สงสัยมาตลอดว่าคลองเตยมีเนินเดินอยู่ตั้งแต่เมื่อไหร่ กระทั่งวันที่ 28 เมษายนของทุกปีที่บ้านหลังนี้จะเปิดต้อนรับแขกเหรื่อเราจึงได้รู้ว่าที่แท้บ้านปลายเนินคือ ตำหนักที่ประทับของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระราชโอรสลำดับที่ 62 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ผู้ทรงเป็น นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม และ สมเด็จครู ของนักเรียนศิลปะในทุกแขนง บ้านปลายเนิน หรือ วังคลองเตย บนถนนพระราม 4 แห่งนี้ไม่ได้มีคุณค่าเพียงสถานที่สุดท้ายในพระชนม์ชีพของสมเด็จครู แต่สำหรับแวดวงประวัติศาสตร์และศิลปะ เนื้อที่ 13 ไร่ ของบ้านปลายเนินเปรียบเหมือนคลังสมบัติด้านศิลป์แห่งสยามที่แม้จะไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของกรมศิลปากรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นงานช่าง งานสถาปัตยกรรม หรือแม้แต่แวดวงนาฏศิลป์ก็มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ให้ศึกษาอย่างครบถ้วน เพราะ ณ ใต้ถุนเรือนไทยที่เรียงแถวยาวอย่างขบวนรถไฟ และบ้านสีมิ้นต์ริมน้ำแห่งนี้คือจุดกำเนิดของ คณะละครสมัครเล่นบ้านปลายเนิน ซึ่งดำเนินการสอนนาฏศิลป์แบบไทยเดิมตามแบบแผนโบราณที่สมเด็จครูได้วางไว้ “ทุกพื้นที่ของบ้านปลายเนินเต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ศิลปะ อย่างตำหนักไทยถูกออกแบบให้เรียงกันเป็นแถวแบบรถไฟแทนที่จะตั้งเป็นกลุ่มแบบเรือนไทยในสมัยก่อน สวนที่ยืนอยู่ตรงนี้ยังคงรักษารูปแบบการจัดสวนแบบเดิมไว้ ซึ่งสมเด็จทวดได้ออกแบบสวนให้เป็นเหมือนฉากละคร มีภูเขา แม่น้ำ มีมุมที่นางละครจะรำออกมาเปิดตัว ทางเดินตรงนี้เรายังค

จักรพันธุ์ โปษยกฤต นิทรรศการ

จักรพันธุ์ โปษยกฤต นิทรรศการ

4 out of 5 stars

แม้ไม่ใช่คนที่อยู่ในแวดวงศิลปะโดยตรง แต่ก็อดตื่นเต้นไม่ได้เมื่อรู้ข่าวว่า ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. 2543 ผู้เป็น 1 ใน 52 นายช่างเอกในรอบ 200 ปีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ “จักรพันธุ์ โปษยกฤต” จะกลับมาจัดแสดงงานศิลปะอีกครั้งผ่าน “จักรพันธุ์ โปษยกฤต นิทรรศการ” ซึ่งเป็นนิทรรศการครั้งแรกในรอบ 15 ปี ที่เรียงร้อยเรื่องราวตลอดทุกช่วงชีวิตของนายช่างใหญ่วัย 75 ปี ผ่านผลงานชิ้นเองที่ครบทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม และที่จะขาดไม่ได้คือหุ่นกระบอกซึ่งถ่ายถอดความงามอย่างศิลปะไทยทุกแขนงไว้ในผลงานชิ้นเดียว จิตรกรรมไทยในอุดมคติ ภาพสตรีไทยในฝัน นางในวรรณคดี รวมทั้งงานเขียนพอร์ตเทรตบุคคลที่ถ่ายทอดความรู้สึกและจิตใจของแบบออกมาได้ราวมีชีวิต คือความระลึกถึงอาจารย์จักรพันธุ์ซึ่งในนิทรรศการครั้งนี้ได้รวบรวมงานที่เป็นมาสเตอร์พีช อย่าง ภาพจิตรกรรมสีน้ำมันพระแม่คงคาที่วาดออกมาเป็นหญิงสาวเปลือยที่มีใบหน้าอ่อนหวาน  ม่านประตูฉากไหว้ครูหุ่นกระบอกตะเลงพ่าย ผลงานปั้นขี้ผึ้งต้นแบบซุ้มประตูเมืองอยุธยา และที่ถือว่าเป็นมาสเตอร์พีชจริงๆ สำหรับเราคือภาพวาดมือซ้ายของอาจารย์จักรพันธุ์ ซึ่งวาดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ขณะพักฟื้นจากอาการป่วยที่ทำให้มือขวาไม่สามารถจับพู่กันได้อย่างเดิม จักรพันธุ์ โปษยกฤตนิทรรศการ จะสมบูรณ์ไม่ได้เลยหากขาดส่วนที่เป็นการจัดแสดงหุ่นกระบอกซึ่งอาจารย์ทุ่มเททั้งแรงกาย  แรงใจ และกำลังทรัพย์ในการฟื้นฟูอนุรักษ์ โดยมีทั้งหุ่นกระบอกเรื่องพระอภัยมณีซึ่งเป็นหุ่นกระบอกรุ่นแรก หุ่นกระบอกเรื่องสามก๊ก และหุ่นกระบอกเรื่องตะเลงพ่าย ซึ่งกำลังจะกลับมาเปิดการแสดงอีกครั้งหลังการสร้างโรงละครและพิพิธภัณฑ์จักรพันธุ์ โปษยกฤต แบบถาวรซึ่งจะคาดว่าจะเปิดทำการในปีหน้า และจากการที่เราเองได้เคยชมหุ่นกระบอกม

วังน่านิมิต

วังน่านิมิต

4 out of 5 stars

ก่อนจะไปชมนิทรรศการครั้งใหญ่เกี่ยวกับวังหน้าในสถานที่จริงคือพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในช่วงเดือนธันวาคมปีนี้ กรมศิลปากรก็ได้จัดนิทรรศการ "วังน่านิมิต" ที่ห้องสตูดิโอ ชั้น 4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ออกมาเรียกน้ำย่อยก่อน "วังน่านิมิต" ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดแสดงนิทรรศการเชิงประวัติศาสตร์ด้วยการใช้ภาพ (Visual Language) เข้ามาเดินเรื่องแทนตัวอักษร พร้อมด้วยเรื่องเล่าเพิ่มเติมจากภัณฑารักษ์ และเทคโนโลยีอินเตอร์แอคทีฟที่ทำให้เห็นภาพของอาคารสำคัญต่างๆ ในวังหน้าแบบ 3 มิติ อีกทั้งยังช่วยเติมสีสันทำให้ห้องเรียนประวัติศาสตร์กลายเป็นเรื่องสนุกมากยิ่งขึ้น สิ่งหนึ่งที่เราชอบของงานชิ้นนี้คือ การนำเส้นเวลาระหว่างอดีตและปัจจุบันมาซ้อนทับกันเพื่อให้เห็นภาพความยิ่งใหญ่ของวังหน้าในอดีต ซึ่งอาคารส่วนใหญ่ถูกรื้อถอนไปในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นอันปิดฉากตำนานวังหน้านับแต่นั้นเป็นต้นมา เนื่องจากนิทรรศการครั้งนี้เน้นการใช้ภาพสื่อสารแทนอักษร ดังนั้นแนะนำให้มองหาภัณฑารักษ์นำชมเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนและอรรถรสความสนุกที่เพิ่มขึ้น

Gender Illumination

Gender Illumination

3 out of 5 stars

In this new art installment, Museum Siam encourages society to see beyond the gender binary system that classifies things as either masculine or feminine. Evidences of gender diversity and sexuality have been seen throughout Thai history since the Ayutthaya era, and Gender Illumination proves it by leading us through the “Gender Maze,” a labyrinth that meanders through the gender landscape of Thai culture. The exhibition hits a nerve as it pointedly questions gender discrimination in the Thai Sangha Council, and then moves into a more global scale by positioning if separating public restrooms by gender prompted the beginnings of sexual segregation. One part of the exhibit highlights 107 objects that hint of stories of personal gender expression. There are wreaths, graduation certificates, photographs, dolls, and correspondences between family members regarding sexual preferences. You’ll even see the penis-shaped lipstick that caused Thammasat university lecturer Kath Khangpiboon to be fired from her position. Because of this controversy involving a phallic item, one Instagram post and a dragged-out court case between Kath and the university, we were exposed to a larger conversation on gender and the social constructs we place upon it. Translated by Siripannee Supratya

BNK48 Cafe

BNK48 Cafe

3 out of 5 stars

ต้องขอบอกว่า BNK48 Cafe สดใสสมกับที่เหล่าโอตะรอคอยจริงๆ เพราะคาเฟ่สุดหวานที่ต่อยอดมากจากไอดอลเกิร์ลกรุ๊ปแห่งยุค BNK48 เน้นคอนเซ็ปต์การแจกความสดใส ทั้งในเรื่องสีสันโทนชมพูพาสเทล ไปจนถึงเครื่องดื่มเย็นๆ ที่มีทั้งชาไทย ชาเขียวมัทฉะ น้ำกุหลาบโซดา มิกซ์เบอร์รี่โซดา ไปจนถึงช็อกโกแลตเย็น ในส่วนของอาหารนั้นทางคาเฟ่เน้นเสิร์ฟเมนูกินง่ายๆ เช่น ข้าวผัดหมูชาชู เกี๊ยวซ่า ยากิโซบะ และสปาเกตตี้คาโบนาร่า สนนราคาเครื่องดื่มออกจะสูงไปนิด แต่ในบางช่วงนี้เพิ่มความพิเศษด้วยการแจกที่รองแก้วรุ่นลิมิเต็ดเอดิชั่นแถมมาก็ถือว่าคุ้มค่า เหมาะสำหรับเป็นที่พบปะของเหล่าโอตะเป็นที่สุด   *1 ใบเสร็จ สามารถใช้บริการในคาเฟ่ได้ 90 นาที

Pinkplanter Cafe

Pinkplanter Cafe

4 out of 5 stars

คาเฟ่สีชมพูแห่งนี้สร้างมาเพื่อสาวๆ โดยเฉพาะ เพราะตัวคาเฟ่นั้นตั้งอยู่บนชั้น 3 ของ Matchbox ซึ่งเป็นร้านแฟชั่นมัลติแบรนด์ที่ขายตั้งแต่เสื้อผ้า กระเป๋า และแอ็กเซสเซอรี่ครบครัน แน่นอนว่าช็อปปิ้งเสร็จแล้ว สาวๆ ก็ควรจะแวะมาพักเหนื่อยกันสักนิดในบรรยากาศคาเฟ่สุดน่ารักสีชมพูหวานแหวว มีนกฟลามิงโก้คอยต้อนรับอยู่ด้านหน้า นอกจากการตกแต่งที่เต็มไปด้วยไอเท็มสีชมพูในทุกพื้นที่แล้ว เครื่องดื่มและขนมหวานของที่นี่ก็ยังคงคอนเซ็ปต์สีชมพูเช่นเดียวกัน โดยมีทั้งเครื่องดื่มต่างๆ รวมทั้งขนมหวาน แต่ตัวไฮไลต์ของร้านคือไอศกรีมที่นำสายไหมฟูฟ่องมาเป็นลูกเล่นสุดน่ารัก เห็นแล้วก็อดไม่ได้ที่จะแชะภาพทุกเมนูก่อนกิน

Too Good For You

Too Good For You

4 out of 5 stars

กดลิฟต์มาที่ชั้น 8 ก่อนขยับแข้งขยับขามายังคาเฟ่ลับบนชั้น 9 ของอาคารมุกดา (ซึ่งหาค่อนข้างยากเล็กน้อย) คุณจะได้เจอกับกระจกใสสะท้อนสีชมพูที่ซ่อนสวนดอกไม้สีหวานไว้ด้านใน คาเฟ่แห่งนี้โดดเด่นด้วยเรื่องงานดีไซน์ เริ่มจากเพดานที่มีดอกไม้สีชมพู สีม่วง และสีขาวห้อยระย้าเหมือนหลุดเข้าไปในสวนอย่างไรอย่างนั้น แถมเข้ากันกับผนังสีชมพู และไฟนีออนชมพูที่นำมาเป็นชื่อร้าน ในส่วนของเครื่องดื่ม ที่นี่ไม่ได้เน้นกาแฟ แต่มุ่งไปที่ีความแฟนซีจัดเต็มเรื่องการตกแต่งแก้ว และการออกแบบเมนู อย่าง Violatte (140 บาท) ที่ใช้มันม่วงจับคู่กับครีมชีส และมีดอกไม้ประดับมาด้านบน ส่วน Sakura Breeze (150 บาท) ก็นำความหอมหวานของดอกซากุระมาจับคู่กับกะทิ แนะนำว่ามาที่นี่ควรเตรียมกล้อง เสื้อผ้า และพร็อพให้พร้อม เพราะสวยหวานไปทุกมุม

School Coffee x Warm Batch Roasters

School Coffee x Warm Batch Roasters

4 out of 5 stars

แม้ว่าช่องนนทรีจะเป็นย่านออฟฟิศ แต่ร้านกาแฟดีๆ ที่ไม่ใช่แฟรนไชส์ขนาดใหญ่กลับหาได้ยากยิ่ง เมื่อร้านกาแฟจากย่านเกษตรอย่าง School Coffee มาเปิดบริการติดบันไดรถไฟฟ้า ความตื่นเต้นของคนชอบดื่มกาแฟจึงเกิดขึ้น ยิ่งได้รู้ว่าที่นี่ใช้เมล็ดจากโรงคั่วที่ขึ้นชื่อเรื่องความพิถีพิถันด้านการเลือกเมล็ดอย่าง Warm Batch Roasters ก็ยิ่งมั่นใจในเรื่องคุณภาพของเมล็ดกาแฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมล็ดกาแฟไทยจากไร่ขนาดเล็ก นอกจากกาแฟดริปหมุนเวียนเมล็ดจากไทยและต่างประเทศมาให้ได้ชิมแล้ว ลาเต้ทั้งร้อนและเย็นของที่ร้านคือความละมุนอย่างแท้จริง ด้านกาแฟดำเย็นก็มีเมล็ดให้เลือกหลากหลาย ส่วนใครที่ชอบชาที่ร้านยังมีชาไทย มัทฉะ โฮจิฉะพร้อมสรรพ ที่สำคัญร้านนี้เปิดแต่เช้าตรู่ แวะซื้อทันก่อนเข้างานแน่นอน

ขนมปังเจ้าอร่อยเด็ดเยาวราช

ขนมปังเจ้าอร่อยเด็ดเยาวราช

2 out of 5 stars

คิวยาวสุดในเยาวราชต้องยกให้กับขนมปังปิ้งริมทาง ผู้เป็นเทรนด์เซ็ตเตอร์ของขนมปังปิ้งประเภทก้อนกลมกรอบนอกนุ่มใน ร้านนี้ขายมา 40 ปีโดยไม่มีชื่อร้านนอกจากป้ายที่บอกว่า “ขนมปังเจ้าอร่อยเด็ดเยาวราช” พร้อมกล่องกระดาษประทับตราเจ้าของร้านในกรอบสุดวินเทจ ย้อนไปสัก 10 ปีก่อนร้านนี้ถือว่าฮิต แต่ไม่ต้องต่อคิวนานขนาดต้องรับบัตรคิวและเขียนรายการอาหารล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ รวมทั้งไม่มีเสียงโทรโข่งของคุณลุงเจ้าของร้านให้ได้ตื่นเต้นเหมือนปัจจุบัน ขนมปังของที่นี่มีให้เลือก 3 แบบคือ กรอบนอกนุ่มใน กรอบ และนิ่ม ซึ่งเคล็ดลับอยู่ที่การใช้เตาถ่านไฟอ่อนในการปิ้งขนมปังซึ่งจะทำให้มีกลิ่นหอม ส่วนไส้นั้นเน้นความล้นทะลัก เพิ่มใส้นมซึ่งเป็นไส้พิเศษที่ทางร้านผสมเอง โดยรสและความหนืดออกไปทางครีมไม่ใช่นมข้นหวานแบบที่คุ้นชิน ส่วนไส้อื่นก็ปกติไม่ได้สร้างความว้าวมากนัก และด้วยลูกค้าที่มีปริมาณเยอะมากทำให้ไม่สามารถนั่งกินชิลๆ ได้อีกต่อไป 

Da Mamma

Da Mamma

Don’t judge this place by its uninteresting interiors. De Mama is one of the best Italian places in the hood. You come here to savor wood oven-baked pizza and other home-style Italian dishes. 

News (13)

ใหม่แกะกรุกับ 8 ห้องนิทรรศการล่าสุดจาก “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร”

ใหม่แกะกรุกับ 8 ห้องนิทรรศการล่าสุดจาก “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร”

ต้องยอมรับว่าจากมกราคม 2561 หลังจากที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้ปรับปรุง 4 ห้องจัดแสดงเสียใหม่เอี่ยมสู่มาตรฐานพิพิธภัณฑ์สากลมากยิ่งขึ้นก็ทำให้ “พิพิธภัณฑ์” ซึ่งเป็นเหมือนยาขมของหลายคนกลายเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่คนไม่ได้เรียนประวัติศาสตร์อย่างเข้มข้นมาก่อนก็สามารถเข้าถึงได้ จาก 4 ห้องนิทรรศการในหมู่พระวิมาน อันได้แก่ ห้องโลหศิลป์ ห้องศัสตราวุธ ห้องอิสริยาพัสตราพูษาภัณฑ์ และห้องนาฏดุริยางค์ มาในปีนี้ทางพิพิธภัณฑ์ได้ปรับโฉมห้องนิทรรศการใหม่อีก 8 ห้อง ทั้งในอาคารหมู่พระวิมานและอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ โดยทั้งหมดมุ้งเน้นไปที่เรื่องราวของศิลปะช่างหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์สำคัญ รวมถึงงานศิลปะสกุลช่างวังหน้าที่ถูกดึงมาจัดแสดงให้โดดเด่นยิ่งขึ้น   พระที่นั่งวสันตพิมาน   อาคารหมู่พระวิมานนั้นเป็นพระราชมณเฑียรที่ประทับในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งหลังจากการปรับปรุงครั้งใหญ่ก็ทำให้ผู้ชมสามารถเดินชมงานเชื่อมต่อกันได้ทุกห้องในหมู่อาคาร แถมยังติดเครื่องปรับอากาศเย็นฉ่ำ เปิดบริเวณชั้น 2 ที่ถูกปิดไว้มานานให้ประชาชนได้ขึ้นไปชม พร้อมด้วยอินเตอร์แอคทีฟสนุกๆ ใส่ข้อมูลไว้ในทุกห้อง เรียกว่าลืมภาพพิพิธภัณฑ์ร้อนๆ สีมัวๆ แบบเดิมไปได้เลย   พระที่นั่งวสันตพิมาน   อันที่จริงข้าวของในห้องนิทรรศการใหม่นี้ล้วนเป็นข้าวของเดิมที่วางอยู่ในหมู่พระวิมานและคลังของพิพิธภัณฑ์ด้วยกันทั้งสิ้น ทว่าการปรับปรุงใหม่โดยมีการจัดหมวดหมู่ชัดเจน ใช้ความน้อยแต่มาก ดึงมาสเตอร์พีชของแต่ละหมวดออกมา นั่นจึงทำให้ผู้ชมได้เห็นรายละเอียดของวัตถุแต่ละชิ้นแทบจะ 360 องศา ยกตัวอย่างบานประตูไม้แกะสลักลงรักปิดทองของวัดสุทัศน์ฯ ด้วยความสูง 564 เซนติเมตร แทบจะจรดเพดานห้องเครื่องไม้แกะสลัก นั่นจึงทำให้ต้องมีการวา

นัยระนาบนอก อินซิทู: สำรวจวังหน้าผ่านการทับซ้อนของเวลาและประวัติศาสตร์ที่ไม่หยุดแค่อดีต

นัยระนาบนอก อินซิทู: สำรวจวังหน้าผ่านการทับซ้อนของเวลาและประวัติศาสตร์ที่ไม่หยุดแค่อดีต

สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้ผ่านการเก็บหน่วยกิตในชั่วโมงประวัติศาสตร์อย่างจริงจัง นิทรรศการวังน่านิมิต ที่จัดขึ้นเมื่อกลางปี 2561 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ถือเป็นการเปิดตัว “วังหน้า” อย่างเป็นทางการอีกครั้งหลังที่จากที่ตำแหน่งวังหน้า หรือ “กรมพระราชวังบวรสถานมงคล”  ถูกยุติบทบาทลงไปในสมัยรัชกาลที่ 5 อีกทั้ง “วังหน้า” อันหมายถึงพระราชวังที่ประทับของผู้อยู่ในตำแหน่งวังหน้าก็ถูกลดทอนลงจนหลายอาคารแทบไม่เหลือเค้าโครงเดิม นั่นจึงไม่แปลกที่จะทำให้คำว่า วังหน้า หายไปในห้วงความทรงจำ หลายคนไม่เคยรู้เลยด้วยซ้ำว่าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือแม้แต่สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ล้วนเคยเป็นส่วนหนึ่งของความยิ่งใหญ่ในพื้นที่วังหน้ามาก่อน Saranyu Nokkaew/Time Out Bangkok จากภาคที่ 1 ของนิทรรศการวังน่านิมิต เข้าสู่ภาค 2 ของการนำข้อมูลประวัติศาสตร์ทั้งหมดของวังหน้าเข้าสู่คลังความรู้ออนไลน์ ก่อนจะต่อยอดสู่ภาค 3 “วังหน้านฤมิตในมิติแห่งกาลเวลา” ซึ่งจัดแสดงผ่านนิทรรศการร่วมสมัย นัยระนาบนอก อินซิทู : แปลงร่างอดีตในหลืบแห่งปัจจุบัน ที่พิเศษด้วยการเลือกจัดแสดงงานในสถานที่ประวัติศาสตร์จริง สมดังความหมาย อินซิทู (In Situ : In the original place) นั่นก็คือ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นท้องพระโรงวังหน้า และใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีต่างๆ ต่อเมื่อเวลาผ่านจึงใช้เป็นที่ประดิษฐานพระศพของสมเด็จพระบวรราชเจ้า และพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว Saranyu Nokkaew/Time Out Bangkok ปัจจุบันพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยได้รับการปรับปรุงใช้เป็นสถานที่จัดแสดงงานนิทรรศการหมุนเวียนต่างๆ รวมทั้งงานนิทรรศการ นัยระนาบนอก อินซิทู : แปลงร่างอดีตในหลื

"บ้านปลายเนิน" จากวังสู่การเปิด “พิพิธภัณฑ์” ของนายช่างแห่งกรุงสยาม

"บ้านปลายเนิน" จากวังสู่การเปิด “พิพิธภัณฑ์” ของนายช่างแห่งกรุงสยาม

ใครที่เคยใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินคลองเตย อาจจะคุ้นตาอยู่บ้างกับตรอกเล็กๆ ที่มักจะเปิดประตูแง้มให้เห็นถึงความร่มครึ้มใต้เงาต้นไม้ไทย ราวกับเป็นโอเอซิสของย่านคลองเตย บ้านปลายเนิน คือป้ายเล็กๆ หน้าบ้านที่ชวนให้สงสัยมาตลอดว่าคลองเตยมีเนินเดินอยู่ตั้งแต่เมื่อไหร่ กระทั่งวันที่ 28 เมษายนของทุกปีที่บ้านหลังนี้จะเปิดต้อนรับแขกเหรื่อเราจึงได้รู้ว่าที่แท้บ้านปลายเนินคือ ตำหนักที่ประทับของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระราชโอรสลำดับที่ 62 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ผู้ทรงเป็น นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม และ สมเด็จครู ของนักเรียนศิลปะในทุกแขนง สมเด็จครูที่ตำหนักไทย   บ้านปลายเนิน หรือ วังคลองเตย บนถนนพระราม 4 แห่งนี้ไม่ได้มีคุณค่าเพียงสถานที่สุดท้ายในพระชนม์ชีพของสมเด็จครู แต่สำหรับแวดวงประวัติศาสตร์และศิลปะ เนื้อที่ 13 ไร่ ของบ้านปลายเนินเปรียบเหมือนคลังสมบัติด้านศิลป์แห่งสยามที่แม้จะไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของกรมศิลปากรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นงานช่าง งานสถาปัตยกรรม หรือแม้แต่แวดวงนาฏศิลป์ก็มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ให้ศึกษาอย่างครบถ้วน เพราะ ณ ใต้ถุนเรือนไทยที่เรียงแถวยาวอย่างขบวนรถไฟ และบ้านสีมิ้นต์ริมน้ำแห่งนี้คือจุดกำเนิดของ คณะละครสมัครเล่นบ้านปลายเนิน ซึ่งดำเนินการสอนนาฏศิลป์แบบไทยเดิมตามแบบแผนโบราณที่สมเด็จครูได้วางไว้ “ทุกพื้นที่ของบ้านปลายเนินเต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ศิลปะ อย่างตำหนักไทยถูกออกแบบให้เรียงกันเป็นแถวแบบรถไฟแทนที่จะตั้งเป็นกลุ่มแบบเรือนไทยในสมัยก่อน สวนที่ยืนอยู่ตรงนี้ยังคงรักษารูปแบบการจัดสวนแบบเดิมไว้ ซึ่งสมเด็จทวดได้ออกแบบสวนให้เป็นเหมือนฉากละคร มีภูเขา แม่น้ำ มีมุมที่นางละครจะรำออกมาเ

เรียนรู้สุนทรียศาสตร์ของความงดงามและความอัปลักษณ์ จากปลายพู่กันของหม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร

เรียนรู้สุนทรียศาสตร์ของความงดงามและความอัปลักษณ์ จากปลายพู่กันของหม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร

ราวศตวรรษที่ 19-20 ขณะที่โลกแห่งศิลปะกำลังก้าวเข้าสู่ความเป็นโมเดิร์น ไม่ว่าจะเป็นป๊อบอาร์ต แอ๊บสแตรก วิดีโออาร์ต มีเดียอาร์ต ทว่าสิ่งหนึ่งที่แวดวงศิลปะยังก้าวไม่พ้นคือการจำกัดขอบเขตของคำว่าศิลปะไว้เฉพาะศิลปินเพศชาย น้อยมากที่จะได้พบเจอศิลปินผู้หญิง โดยเฉพาะในเมืองไทยนั้นวิชาศิลปะซึ่งไม่ได้ถูกมองว่าเป็นหนึ่งในวิชาชีพสำหรับหาเลี้ยงชีพ ย่อมเป็นสิ่งไกลตัวสำหรับผู้หญิงอย่างมาก และนั่นจึงทำให้ศิลปินหญิงผู้มีความเซอร์เรียลลิสต์และแฟนตาสติกเป็นดั่งลายเซ็นต์ หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร ทรงต้องเริ่มต้นศึกษาวิชาศิลปะด้วยพระองค์เองขณะพระชนมายุได้ 30 ปี ท่ามกลางสตูดิโอริมลำธารที่เต็มไปด้วยฝูงนกนับร้อย และสุนัข ณ พระตำหนัก Vellara เมือง Annot ประเทศฝรั่งเศส Beauty and Ugliness : Aesthetic of Marsi (ความงามและความน่าเกลียด : สุนทรียศิลป์แห่งมารศี) คือนิทรรศการครั้งที่ 3 ของท่านหญิงที่จัดแสดงในเมืองไทย และเป็นนิทรรศการครั้งแรกหลังจากพระองค์สิ้นชีพิตักษัยเมื่อ พ.ศ. 2556 แน่นอนว่าการจัดแสดงงานศิลปะในวันที่ศิลปินเจ้าของผลงานไม่ได้อยู่ร่วมในวงประชุมย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย อารีรุ่งเรือง ผู้รับหน้าที่ภัณฑารักษ์จึงได้ใช้แนวทางการทำวิจัยด้านศิลปะมาศึกษาผลงานเพื่อไขสู่ปรัชญาที่ซ่อนไว้ในงานศิลปะของหม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือความหมายของ "สุนทรียศาสตร์" ที่ไม่ได้ถูกตีกรอบเพียงความงามทว่ายังรวมความน่าเกลียด หรือความไม่งามอันเป็นหนึ่งในองค์ประกอบทางศิลปะด้วย     หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร มูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร     ดร.ศุภชัย อารีรุ่งเรือง ภัณฑารักษ์ของ Beauty and Ugliness : Aesthetic of Marsi (ความงามและความ

Eat Drink Pink เทศกาลอาหารสีชมพูสำหรับเธอผู้ไม่สิ้นหวัง

Eat Drink Pink เทศกาลอาหารสีชมพูสำหรับเธอผู้ไม่สิ้นหวัง

รู้หรือไม่ว่าผู้หญิงไทยทุกๆ 1 ใน 10 คน มีโอกาสเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับมะเร็งเต้านม และมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยขาดการรักษาดูแลที่ถูกต้องจนทำให้มีผู้หญิงไทยเสียชีวิตด้วยโรคนี้มากกว่า 3,000 คนต่อปี ในจำนวนนี้มีไม่น้อยที่ขาดทั้งกำลังทรัพย์และกำลังแรงใจในการรักษา และนั่นคือแรงบันดาลใจที่ทำให้ โรงแรมเพนนินซูลา กรุงเทพฯ และเชฟพันธมิตร บาร์เทนเดอร์ และร้านอาหารดังระดับมิชลินสตาร์และระดับท็อปของเอเชีย สร้างสรรค์ Eat Drink Pink เทศกาลอาหารการกุศลสีชมพูเพื่อระดมทุนหารายได้สนับสนุนการสร้างบ้านพิงพักสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย และสนับสนุนกิจกรรมของมูลนิธิศูนย์มะเร็งเต้านมเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 4 แล้ว โดยปีนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ณ โรงแรมเพนนินซูลา กรุงเทพฯ     Saranyu Nokkaew/Time Out Bangkok   Saranyu Nokkaew/Time Out Bangkok   โดยงาน Eat Drink Pink 2018 ได้รับความร่วมมือจากร้านอาหารดังกว่า 35 ร้าน ที่จะมาร่วมมอบความอร่อยที่ทั้งอิ่มท้องและอิ่มบุญ ไม่ว่าจะเป็น La Casa Nostra ที่นำเสนอเมนูทูน่า ทาร์ทาร์, ร้าน Sensi กับสลัดคาเปรสเซ่สไตล์อิตาลี, ร้านอาหาร Blue Elephant ที่นำประโยชน์ของแก่นตะวันและสาหร่ายพวงองุ่นมาปรุงเป็นส้มตำ นอกจากนี้ยังมีไอศกรีมแม็กนั่มตับไก่สีชมพูจาก Haoma ข้าวแต๋นแบล็คเบอร์รี่และแซลมอนฝอยจาก Freebird ร่วมด้วยร้าน Bo.lan, L’Atelier de Joel Robuchon, Canvas, Issaya Siamese Club, Sri Trat และ Le Du เป็นต้น บัตรเข้าร่วมงาน Eat Drink Pink 2018 ราคา 3,000 บาท ซื้อได้แล้ววันนี้ที่โรงแรมเพนนินซูลา กรุงเทพฯ โทร. 0 2020 2888 โดยรายได้ทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่ายจะมอบให้กับมูลนิธิศูนย์มะเร็งเต้านมเฉลิมพระเกียรติในการสร้างบ้านพิ

ดวงฤทธิ์ บุนนาค ตอบชัดทุกประเด็น เรื่องเทอร์มินอล 2 สนามบินสุวรรณภูมิ

ดวงฤทธิ์ บุนนาค ตอบชัดทุกประเด็น เรื่องเทอร์มินอล 2 สนามบินสุวรรณภูมิ

ร้อนแรงไม่แพ้ประเด็นไหนในตอนนี้เห็นจะเป็นข่าวที่การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่ากลุ่มนิติบุคคลร่วมทำงาน DBALP-Nikken Sekkei-EMS-MHPM-MSA-ARJ ที่นำโดยสถาปนิกไทยชื่อดัง ดวงฤทธิ์ บุนนาค พลิกมาเป็นผู้ชนะงานออกแบบโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 (Terminal 2) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในวงเงิน 329 ล้านบาท ซึ่งเรื่องนี้อาจจะไม่ได้อยู่ในกระแสดราม่าฝุ่นตลบถ้า (1) กลุ่มดวงฤทธิ์ บุนนาค เป็นบริษัทที่ได้คะแนนอันดับหนึ่งจริงๆ แต่เพราะแบบที่ได้คะแนนเป็นอันดับหนึ่งของกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา SA Group โดนปัดตกเนื่องจากยื่นเอกสารไม่ครบ (2) แบบสนามบินที่กลุ่มดวงฤทธิ์ บุนนาค คิดสร้างสรรค์ขึ้นมานั้นไม่ได้บังเอิญไปคลับคล้ายกับพิพิธภัณฑ์สะพานไม้ Yusuhara Wooden Bridge Museum ประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งอาคาร China Pavilion ในงาน World Expo 2010 ที่นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณประชาธิปไตยประชาชนจีน และ (3) ถ้าแบบสนามบินใหม่ได้ถ่ายทอดความเป็นไทยได้ตรงใจอย่างที่หลายคนคาดหวัง แล้วอะไรล่ะคือบทนิยามงานสถาปัตยกรรมของว่าที่สนามบินแห่งใหม่? ใครจะตอบคำถามนี้ดีไปกว่า ดวงฤทธิ์ บุนนาค      Suvarnabhumi Airport Terminal 2   โจทย์หลักในงานออกแบบเทอร์มินอล 2 สนามบินสุวรรณภูมิ คืออะไร โจทย์ระบุไว้ชัดเจนมากใน TOR ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ทาง ทอท. ได้ระบุไว้ทั้งเรื่องงบประมาณและฟังก์ชั่น แต่สิ่งที่เราใส่ไปคือการตีความหมายของงานดีไซน์ซึ่งในเรื่องของแอร์พอร์ทดีไซน์ เราทำงานร่วมกับบริษัท Nikken Sekkei ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบระบบสนามบิน และโครงสร้างพื้นฐานใหญ่ๆ ระดับประเทศอยู่แล้ว ผมว่าบางครั้งเราก็ให้ความสำคัญกับเรื่องดีไซน์มากเกินไป อย่างสนามบินเราควรจะโฟกัสไปที่ระบบของสนามบินมากกว่า การออกแบบเฟส 2 นี้ผมทำเองเกือ

"จักรพันธุ์ โปษยกฤต นิทรรศการ" รวมผลงานเดี่ยวครั้งแรกในรอบ 15 ปีของนายช่างเอกแห่งรัตนโกสินทร์

"จักรพันธุ์ โปษยกฤต นิทรรศการ" รวมผลงานเดี่ยวครั้งแรกในรอบ 15 ปีของนายช่างเอกแห่งรัตนโกสินทร์

แม้ไม่ใช่คนที่อยู่ในแวดวงศิลปะโดยตรง แต่ก็อดตื่นเต้นไม่ได้เมื่อรู้ข่าวว่า ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. 2543 ผู้เป็น 1 ใน 52 นายช่างเอกในรอบ 200 ปีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ “จักรพันธุ์ โปษยกฤต” จะกลับมาจัดแสดงงานศิลปะอีกครั้งผ่าน “จักรพันธุ์ โปษยกฤตนิทรรศการ” ซึ่งเป็นนิทรรศการครั้งแรกในรอบ 15 ปี ที่เรียงร้อยเรื่องราวตลอดทุกช่วงชีวิตของนายช่างใหญ่วัย 75 ปี ผ่านผลงานชิ้นเองที่ครบทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม และที่จะขาดไม่ได้คือหุ่นกระบอกซึ่งถ่ายถอดความงามอย่างศิลปะไทยทุกแขนงไว้ในผลงานชิ้นเดียว จิตรกรรมไทยในอุดมคติ ภาพสตรีไทยในฝัน นางในวรรณคดี รวมทั้งงานเขียนพอร์ตเทรตบุคคลที่ถ่ายทอดความรู้สึกและจิตใจของแบบออกมาได้ราวมีชีวิต คือความระลึกถึงอาจารย์จักรพันธุ์ซึ่งในนิทรรศการครั้งนี้ได้รวบรวมงานที่เป็นมาสเตอร์พีช อย่าง ภาพจิตรกรรมสีน้ำมันพระแม่คงคาที่วาดออกมาเป็นหญิงสาวเปลือยที่มีใบหน้าอ่อนหวาน  ม่านประตูฉากไหว้ครูหุ่นกระบอกตะเลงพ่าย ผลงานปั้นขี้ผึ้งต้นแบบซุ้มประตูเมืองอยุธยา และที่ถือว่าเป็นมาสเตอร์พีชจริงๆ สำหรับเราคือภาพวาดมือซ้ายของอาจารย์จักรพันธุ์ ซึ่งวาดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ขณะพักฟื้นจากอาการป่วยที่ทำให้มือขวาไม่สามารถจับพู่กันได้อย่างเดิม       จักรพันธุ์ โปษยกฤตนิทรรศการ จะสมบูรณ์ไม่ได้เลยหากขาดส่วนที่เป็นการจัดแสดงหุ่นกระบอกซึ่งอาจารย์ทุ่มเททั้งแรงกาย  แรงใจ และกำลังทรัพย์ในการฟื้นฟูอนุรักษ์ โดยมีทั้งหุ่นกระบอกเรื่องพระอภัยมณีซึ่งเป็นหุ่นกระบอกรุ่นแรก หุ่นกระบอกเรื่องสามก๊ก และหุ่นกระบอกเรื่องตะเลงพ่าย ซึ่งกำลังจะกลับมาเปิดการแสดงอีกครั้งหลังการสร้างโรงละครและพิพิธภัณฑ์จักรพันธุ์ โปษยกฤต แบบถาวรซึ่งจะคาดว่าจะเปิดทำการในปีหน้า และจากการที่เราเองได้เคยชมหุ่น

เที่ยวล้ง ในวันที่ท่าเรือประวัติศาสตร์กลายร่างเป็นท้องนาเขียวขจีริมแม่น้ำเจ้าพระยา

เที่ยวล้ง ในวันที่ท่าเรือประวัติศาสตร์กลายร่างเป็นท้องนาเขียวขจีริมแม่น้ำเจ้าพระยา

ไม่ได้มาเล่นๆ เลยสำหรับ นาล้ง นิทรรศการข้าวไทยริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ ล้ง 1919 ได้ทุ่มสุดตัวพลิกผืนซีเมนต์ของป่ากรุงเทพฯ ให้กลายเป็นผืนนาเขียวชอุ่มด้วยการปูพรมลงดำนากันเต็มพื้นที่ของล้ง 1919 พร้อมสร้างสะพานไม้ไผ่สานพาดยาวไปตามคันนาที่มีลำดับวงจรชีวิตของข้าวไทยให้ได้ชมแบบไม่น่าเบื่อ ไล่เลียงตั้งแต่ตกกล้า ดำนา แตกกอ ข้าวตั้งท้อง ไปจนถึงแปลงนาที่กำลังออกรวงพร้อมเก็บเกี่ยว ใครไคร่เรียนการดำนา ที่นาล้งมีรองเท้าบูท หมวกงอบ และแปลงนาชุ่มโคลนให้พร้อมสนุก โดยมี พี่ทองกวาว ควายแอมบาสเดอร์ประจำนาล้งคอยส่งแรงใจอยู่ในปลักโคลนริมแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้ยังมีงานศิลปะจากกองฟาง ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวให้ได้ช็อปปิ้ง พร้อมประวัติการค้าข้าวของตระกูลหวั่งหลีอันเป็นที่มาของล้ง 1919 รวมทั้งกิจกรรมหมุนเวียนในแต่ละวัน เช่น โต๊ะดินเนอร์ริมท้องนาของ The Wisdom ที่เสิร์ฟเมนูจากข้าวสุดโมเดิร์นอย่าง กุ้งเทมปุระแป้งข้าวขาวดอกมะลิ ทาร์ตมูสข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวทอดซอสต้มยำปลาแซลมอนย่าง เป็นต้น   Saranyu Nokkaew/Time Out Bangkok       มากไปกว่าเรื่องบรรยากาศที่ถ่ายรูปสวยในทุกมุม สิ่งที่น่าสนใจที่สุดของงานนี้ต้องยกให้กับบูทเล็กๆ แต่อัดแน่นไปด้วยความตั้งใจของกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ "ชาวนาไทอีสาน" ซึ่งเป็นผู้อยู่เบื้องหลังข้าวอีสานรสชาติสุดเซอร์ไพรส์ในร้าน ซาหมวย แอนด์ ซันส์ ของ เชฟหนุ่ม-วีระวัฒน์ ตริยเสนวรรธน์ รวมทั้ง "ข้าวเวสสันตะระ" กลิ่นใบเตยหอมละมุนที่ใช้เสิร์ฟอยู่ในร้านราบ และ ร้านแดก (Dag) ของ เชฟแวน-เฉลิมพล โรหิตรัตนะ  ชาวนาไทอีสานเป็นการรวมตัวของคนหนุ่มสาวผู้มีความคิดถึงบ้าน และคิดฮอดคำว่าอู่ข้าวอู่น้ำที่แดนอีสานเคยได้รับมาแต่ครั้งอดีต ซึ่งนั่นทำให้สมาชิกทั้ง 16 คนเลือกที่จะกลับบ้านมาทำนาตามวิถีเกษตรดั้งเ

“ของ (คณะ) ราษฎร” คือของเรา ของเขา หรือของใคร หาคำตอบได้ถึง 19 ก.ค. นี้

“ของ (คณะ) ราษฎร” คือของเรา ของเขา หรือของใคร หาคำตอบได้ถึง 19 ก.ค. นี้

"ทุกงานออกแบบล้วนเกิดขึ้นเพื่อทำหน้าที่ ‘ค้ำยัน’ หรือไม่ก็ ‘โค่นล้ม’ อุดมการน์ที่ครอบงำสังคม นะ ขนะเวลานั้นๆ หยู่เสมอ" คือคำเชิญชวนที่ยั่วยวนให้เข้าไปชมเป็นอย่างมากว่าศิลปะที่สะท้อนแนวคิดประชาธิปไตยในความหมายของ “คณะราษฎร” คณะบุคคลที่ปฏิวัติระบอบการปกครองสยามเมื่อปี พ.ศ. 2475 เป็นอย่างไร เราเลยไม่พลาดที่จะไปตามหาสมบัติของคณะราษฎรที่ถูกจัดแสดงอยู่ในนิทรรศการ ของ (คณะ) ราษฎร ซึ่งจัดแสดงอยู่ที่ Cartel Artspace ในซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 22 ของ (คณะ) ราษฎร รวบรวมสิ่งของและศิลปะในช่วงปี พ.ศ. 2475-2490 ซึ่งเป็นช่วงเวลาข้าวใหม่ปลามันของคณะราษฎร ราษฎร และรัฐธรรมนูญ ก่อนที่ พลโท ผิน ชุณหะวัณ (ยศในขณะนั้น) จะนำกำลังทหารยึดอำนวจด้วยการทำรัฐประหารในปี พ.ศ. 2490 นิทรรศการไซส์ xs นี้รวบรวมสิ่งของทั้งจากภาครัฐ เอกชน และวัดต่างๆ นับรวมได้ 52 ชิ้น ไม่ว่าจะเป็นขวดน้ำ ที่เขี่ยบุหรี่ หนังสือ โปสเตอร์ แผ่นเสียง เข็มกลัด พาน หรือแม้แต่หน้าบันวัด ซึ่งเกือบทั้งหมดเชื่อมโยงกันด้วย "พานรัฐธรรมนูญ" ที่ปรากฏกายในหลากรูปแบบและหลายขนาด สื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการสื่อสารเพื่อสะท้อนถึงยุคใหม่ของประเทศไทย คล้ายกับจะย้ำว่าพานรัฐธรรมนูญเหล่านี้นี่แหละคือความหมายของประชาธิปไตย   Saranyu Nokkaew/Time Out Bangkok   Saranyu Nokkaew/Time Out Bangkok   ความน่าสนใจของสิ่งของเหล่านี้สำหรับเราที่เกิดในยุคสมัยใหม่คือการเรียนรู้ความรู้สึกและความตื่นตัวเกี่ยวกับคำว่าประชาธิปไตยของคนรุ่นนั้น ใครจะไปคิดว่าสิ่งที่แสดงความหมายของประชาธิปไตยจะลงไปปรากกฏถึงวัดวา หน้าบัน แผ่นเสียง รวมไปถึงเมรุปูนเผาศพ (ซึ่งถูกสร้างสำหรับประชาชนขึ้น) แต่ด้วยการจัดวางที่ไม่ได้ระบุที่มาที่ไปของสิ่งของแต่ละชิ้น เราแนะนำว่าหากจะชมนิทรรศการให้สนุก แนะ

"วังน่านิมิต" จุดเริ่มต้นของการพลิกฟื้นประวัติศาสตร์วังหน้าที่เลือนหาย

"วังน่านิมิต" จุดเริ่มต้นของการพลิกฟื้นประวัติศาสตร์วังหน้าที่เลือนหาย

นับว่าเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นอยู่ไม่น้อยที่ได้รู้ข่าวว่ากรมศิลปากรจะรื้อฟื้นเรื่องราวของวังหน้า หรือพระราชวังบวรสถานมงคล ให้กลับคืนชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง เพราะนอกจากหมู่อาคารในเขตพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครแล้ว วังหน้าในอดีตยังมีพื้นที่กว้างขวางถึงครึ่งของสนามหลวง ไม่นับรวมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงละครแห่งชาติ และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ซึ่งนั่นเป็นนัยให้เห็นถึงความสำคัญของวังหน้าซึ่งเป็นที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือก็คือพระมหาอุปราช ผู้ที่เป็นทั้งองค์รัชทายาท และทรงมีบทบาทในกิจการบ้านเมืองของสยามรองจากพระมหากษัตริย์ในขณะนั้น ด้วยเหตุที่ประวัติศาสตร์ของวังหน้าซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีมาแต่ครั้งอยุธยาถูกยกเลิกไปตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 พร้อมทั้งโปรดสถาปนาตำแหน่งรัชทายาทขึ้นมาใหม่คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ด้วยเหตุนี้เรื่องราวของวังหน้าจึงเลือนหายพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงประเทศครั้งใหญ่ก่อนจะถูกนำมาปัดฝุ่นอีกครั้ง เพื่อให้มรดกทางวัฒนธรรมชิ้นสำคัญซึ่งรวมไว้ทั้งสถาปัตยกรรม ศิลปะ วัฒนธรรม การเมือง ฯลฯ ไม่สูญไปกับกาลเวลา แต่ก่อนที่จะได้ไปชมนิทรรศการครั้งใหญ่เกี่ยวกับวังหน้าในสถานที่จริงคือพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในช่วงเดือนธันวาคมปีนี้ กรมศิลปากรก็ได้จัดนิทรรศการวังน่านิมิต ที่ห้องสตูดิโอ ชั้น 4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ออกมาเรียกน้ำย่อยก่อน         วังน่านิมิต ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดแสดงนิทรรศการเชิงประวัติศาสตร์ด้วยการใช้ภาพ (Visual Language) เข้ามาเดินเรื่องแทนตัวอักษร พร้อมด้วยเรื่องเล่าเพิ่มเติมจากภัณฑารักษ์ และเทคโนโลยีอินเตอร์แอคทีฟที่ทำให้เห็นภาพของอาคารสำคัญต่างๆ ในวังหน้าแบบ 3 มิติ อีกทั้งยังช่วยเติมสีสันทำให้ห้องเรียนประว

มองประวัติศาสตร์สยามผ่านนิทรรศการ "เฉลิมฟิล์มกระจก" มรดกความทรงจำแห่งโลกของไทยที่คนไทยต้องดู

มองประวัติศาสตร์สยามผ่านนิทรรศการ "เฉลิมฟิล์มกระจก" มรดกความทรงจำแห่งโลกของไทยที่คนไทยต้องดู

เฉลิมฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำแห่งโลก คืออีกหนึ่งนิทรรศการดีๆ ที่คนไทยควรตีตั๋วเข้าชม ซึ่งนิทรรศการนี้จัดขึ้นเนื่องในโอกาสที่ฟิล์มกระจกและต้นฉบับภาพถ่ายชุดหอพระสมุดวชิรญาณ ของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกจาก UNESCO โดยภาพฟิล์มกระจกเหล่านี้บอกเล่าถึงจุดเปลี่ยนของสยามและโลกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 7 สำหรับฟิล์มกระจกและต้นฉบับภาพถ่ายชุดหอพระสมุดวชิรญาณนี้มีจุดเริ่มต้นในปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งมีการนำเทคโนโลยีการถ่ายภาพบนฟิล์มกระจกเปียกเข้ามาในราชสำนัก ทว่าด้วยความเชื่อเกี่ยวกับการถ่ายภาพที่ถูกโยงไปถึงความตายของบุคคลที่ถูกบันทึกภาพลงไป ภาพถ่ายจึงเริ่มได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 4   Saranyu Nokkaew/Time Out Bangkok   Saranyu Nokkaew/Time Out Bangkok   ในสมัยรัชกาลที่ 5 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตั้งหอรูปขึ้นเพื่อรวบรวมฟิล์มกระจกจากเจ้านายองค์ต่างๆ มาเก็บรักษาไว้อย่างเป็นระบบ ฟิล์มกระจกและต้นฉบับภาพถ่ายชุดหอพระสมุดวชิรญาณจึงถือกำเนิดขึ้น โดยมีจำนวนมากถึง 35,427 แผ่น ตั้งแต่ภาพบุุคคล ประเพณี พระราชพิธีสำคัญในอดีต การสร้างรถไฟ ถนน โบราณสถาน โดยคัดมาจัดแสดงนิทรรศการเพียง 150 ภาพ พร้อมการสาธิตถ่ายภาพด้วยฟิล์มกระจกที่หาชมได้ยากจากชมรมช่างภาพสารพัดช่างพระนคร (เฉพาะวันอาทิตย์เท่านั้น) อีกเหตุผลที่ทุกคนควรแวะมาชมนิทรรศการนี้ เพราะปกติแล้วฟิล์มกระจกและต้นฉบับภาพถ่ายชุดหอพระสมุดวชิรญาณจะถูกเก็บรักษาไว้ในกล่องไม้และห้องควบคุมอุณหภูมิอย่างดีภายในสำนักหอสมุดแห่งชาติเท่านั้น (หากอยากชมต้องมีการนัดหมายล่วงหน้า) นอกจากนี้ยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกแห่งความทรงจำโลกจากยูเนสโก้ เป็นชิ้นที่ 5 ของไทยต่อจาก ศิลาจารึกพ

เพศนี้ใครกำหนด? ตามหาคำตอบกันได้ใน "ชาย หญิง สิ่งสมมุติ" นิทรรศการใหม่ล่าสุดของ Museum Siam

เพศนี้ใครกำหนด? ตามหาคำตอบกันได้ใน "ชาย หญิง สิ่งสมมุติ" นิทรรศการใหม่ล่าสุดของ Museum Siam

ชาย หญิง สิ่งสมมุติ: Gender Illumination คือนิทรรศการใหม่ล่าสุดจากมิวเซียมสยามที่ชวนสังคมให้หันมามองความหลากหลายทางเพศสภาวะและเพศวิถีผ่านหลักฐานการมีอยู่ของเพศอื่นๆ ที่มากกว่าหญิงและชายในประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงปัจจุบัน โดยให้ผู้ชมได้เดินผ่านเขาวงกตแห่งเพศที่สะท้อนค่านิยมเรื่องเพศในสังคมไทยออกมาตรงตัว จากนั้นจึงชวนมาตั้งคำถามว่าเราเข้าใจเพศในตัวของเราเองหรือไม่ ซึ่งคำตอบอาจไม่ได้มีหนึ่งเดียวเสมอไป พาร์ทที่เจ็บจี๊ดของนิทรรศการครั้งนี้ คือการนิมนต์พระสงฆ์มาวิเคราะห์เรื่องเพศในแดนผ้าเหลือง พร้อมชวนตั้งคำถามเรื่องการแยกเพศห้องน้ำว่า หรือนี่จะเป็นจุดเริ่มเล็กๆ ที่ทำให้เรื่องการแบ่งเพศกลายเป็นความธรรมดาของสังคม อีกไฮไลต์ของงานคือการนำสิ่งของที่สะท้อนปัญหาเรื่องเพศ รวมทั้งแรงบันดาลใจให้ก้าวข้ามปัญหาเรื่องเพศสู่ความสำเร็จมาจัดแสดงทั้งหมด 107 ชิ้น อาทิ พวงหรีด ใบปริญญา ของสะสม ภาพถ่าย ตุ๊กตา จดหมายโต้ตอบเรื่องการเลือกเพศกับครอบครัว รวมทั้งลิปสติกรูปอวัยวะเพศชาย ที่เป็นเหตุทำให้คุณเคท ครั้งพิบูลย์ เกือบจะไม่ได้เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย โดยลิปสติกแท่งเดียวกันนี้ก็ทำให้เธอและทางมหาวิทยาลัยถึงกับต้องไปสู้กันในชั้นศาลเลยทีเดียว ซึ่งนี่คือเสียงเล็กๆ ที่จะกระทุ้งให้สังคมได้หันมาขบคิดว่า...เรื่องเพศเป็นสิ่งสมมุติจริงหรือ? อย่างไรก็ตามเมื่อตั้งโจทย์ว่า “ชาย หญิง สิ่งสมมุติ” การแจก Your Gender Ticket เพื่อถามความสำนึกทางเพศและรสนิยมทางเพศของแต่ละคนตั้งแต่เริ่มเข้านิทรรศการจึงดูมีความย้อนแยงอยู่นิดๆ ส่วนตัวแล้วเราชอบเรื่องการนำเสนอว่าสังคมไทยไม่ได้มีแค่หญิงและชายมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และการนำสิ่งของที่เกี่ยวกับการค้นพบตัวตนของแต่ละคนมาจัดแสดง ทว่าของเกือบร้อยชิ้นที่จัดแสดงต้องอาศัยการอ่าน