5 อีเว้นต์สุดอาร์ตที่น่าไปแวะเวียนกันในวีคเอนด์นี้

เขียนโดย
Wissuta Ploypetch
การโฆษณา

บรรยากาศงานศิลปะของกรุงเทพฯ นั้นเยอะขึ้นเรื่อยๆ เราเลยรวบรวมเอานิทรรศการที่ดีที่สุดและกำลังจะจัดขึ้นทั่วทั้งเมืองมาไว้ให้คุณไม่พลาดสักงาน!

Hotel Art Fair

22-23 มิถุนายน

Hotel Art Fair 02

โชว์งานศิลปะที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใครที่นำเสนอผลงานศิลปะและการออกแบบในห้องพักของโรงแรม W Bangkok ในคอนเซ็ปต์ “Breaking Boundaries” ที่จะสะท้อนถึงวัฒนธรรมที่ไม่มีขอบเขตของมนุษย์และแสดงให้เห็นว่าศิลปะเป็นสิ่งที่ไม่มีข้อจำกัดในการแสดงออก เพราะงานศิลปะนั้นก็เป็นเสมือนขุมสมบัติทางวัฒนธรรมของเหล่ามนุษยชาติ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน บทความ

Second Hand Dialogue

จนถึงวันที่ 23 มิถุนายน

Second Hand Dialogue

เต๋อ-นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ ผู้กำกับและนักเขียนบทภาพยนตร์ จะขอบทสนทนาของทุกคู่ที่ให้อนุญาตแล้วมาทดลองเก็บสะสมปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ เพื่อสำรวจว่าบทสนทนาอย่างรวดเร็วและเรียบง่ายว่ามันทำงานอย่างไร โดยผู้ที่ต้องการบริจาคบทสนทนาจะต้องลงทะเบียนล่วงหน้าที่ เว็บไซต์

Corruption

จนถึงวันที่ 4 กรกฎาคม

Corruption Exhibition

ข้อมูลที่เราพบเจอบนโลกอินเตอร์เน็ตนั้น แม้ว่าจะช่วยให้เรามีปัญญาที่สูงขึ้นเป็นหลายร้อยพันเท่า แต่มันก็เหมือนจะทำให้บางส่วนในตัวเราขาดหายไป บางทีมันอาจเป็นสัมผัสของมนุษย์ หรืออารมณ์ความรู้สึกที่หายไปก็เป็นได้ นิทรรศการแสดงภาพเขียนนี้จึงพูดถึงการตอบสนองของมนุษย์ต่อเทคโนโลยีดิจิทัล จากการรับข้อมูลแบบผิดๆ ในหลากหลายเรื่องราวที่เป็นประเด็นและถูกแชร์กันอยู่บนพื้นที่ของอินเตอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย 

Monsoon : Exhibition of Ceramic Memoirs

จนถึงวันที่ 12 กรกฎาคม

Monsoon Exhibition of Ceramic Memoirs

นิทรรศการบันทึกความทรงจำของมรสุมในเดือนมิถุนายนที่ฝนตกเกือบจะทุกวันลงบนชิ้นงานเซรามิกของ เอิร์ธ-ปพิชชา ธนสมบูรณ์ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวความรู้สึกและชวนให้ทุกคนมาแลกเปลี่ยนบทสนทนาซึ่งกันและกันหลังจากที่เธอเคยนำผลงานชุดเซรามิก "Every Day" ไปจัดแสดงที่กลางเมืองเชียงใหม่ในงาน Chiangmai Design Week เมื่อปลายปีที่ผ่านมา 

Amnesia

22 มิถุนายน - 14 กรกฎาคม

AMNESIA by Tawan Wattuya

ภาพวาดที่เกิดจากความสะเทือนใจของ ตะวัน วัตุยา ต่อเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ที่ส่งผลให้มีประชาชนถูกสังหารเสียชีวิตกว่าร้อยคน โดยที่ใบหน้าและชื่อของผู้เสียชีวิตมักจมหายไปจากความทรงจำของสังคมอย่างรวดเร็ว แตกต่างจากชื่อและใบหน้าของผู้สั่งการที่มักได้รับการจารึกลงในประวัติศาสตร์ด้วยสถานะต่างๆ 

แชร์เนื้อหา

บทความล่าสุด

    การโฆษณา