[title]
ปิดรับผลงานไปเรียบร้อยแล้วกับแคมเปญ Capture Bangkok และคณะกรรมการของเราก็ได้ทำการตัดสินเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งผลตอบรับนั้นดีเกินคาด เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา Time Out ได้เปิดให้ช่างภาพมาถ่ายทอดมุมมองกรุงเทพฯ ผ่านเลนส์ของพวกเขา ซึ่งคุณภาพ ความคิดสร้างสรรค์ และแพชชั่นในแต่ละเฟรมนั้นทำให้เหล่าช่างภาพของเราถึงกับตะลึง
อันที่จริงเรียกได้ว่าเป็นการตัดสินที่ค่อนข้างยาก เพราะเราต่างรู้ว่าเราไม่สามารถเลือกผู้ชนะได้พียงแค่หนึ่งคน นอกจากนั้นเรื่องราวของกรุงเทพฯ ที่แต่ละคนเล่านั้นเต็มไปด้วยความหลากหลาย และสวยงามเกินกว่าที่นำเสนอได้เพียงแค่ภาพเดียว
ดังนั้น วันนี้เราไม่เพียงแต่ประกาศผู้ชนะเท่านั้น เรายังยกย่องอีก 10 ผลงานอันโดดเด่นที่เล่าเรื่องราวอันเป็นเอกลักษณ์ของเมืองหลวงแห่งนี้ เราขอขอบคุณผู้เข้าร่วมประกวดทุกท่าน พวกคุณต่างสร้างผลงานอันน่าทึ่งจนกลายเป็นคอลเลคชั่นภาพ portrait กรุงเทพฯ
The runner-ups
และนี่คือภาพอันโดดเด่นทั้ง 10 ภาพที่จับใจคณะกรรมการของเรา พร้อมทั้งเหตุผลในการเลือกแต่ละภาพ โดยไม่มีการเรียงอันดับ

‘Urban Layers: Scenes from Bangkok’ โดย Puttipong Nipatutti
สำหรับ ปิติ อัมระรงค์ ภาพถ่ายนี้โดดเด่นด้วยการเป็นภาพที่มีคำเชิญชวน และเป็นคำเชิญชวนที่มีสเน่ห์ เขามองมันเป็นมากกว่าเป็นแค่ภาพถ่าย แต่เป็นภาพอันเต็มไปด้วยความอบอุ่น และชวนให้คิดถึงช่วงเวลานั้น

‘Chinatown Chill’ โดย Todd Brown
คเณศ สินก่อเกียรติ ชื่นชมภาพนี้จากจากการเล่าเรื่องอันทรงพลัง และความสามารถในการถ่ายทอดออกมาในช่วงเวลาและสถานที่นั้น ในมุมมองของเขา ภาพนี้บันทึกเรื่องราวของกรุงเทพฯในช่วงเวลานั้นๆ ได้อย่างครบถ้วน

‘Riding a tiger to work’ โดย Barry Macdonald
แดนนี่ บอกกับเราว่าภาพนี้มีเอกลักษณ์อันโดดเด่น พร้อมทั้งองค์ประกอบที่คล้อยไปด้วยกัน เขาเลือกภาพนี้ เพราะว่า ภาพนี้ให้ความรู้สึกถึงความเป็นไทย และสีสันที่สัมพันธ์ไปด้วยกัน จนกลายเป็นภาพอันสมดุล และไม่เสแสร้ง

‘Amazing Bangkok’ โดย Vladimir Zubankov
ภาพถ่ายนี้ได้รับคำชื่นชมจากคริสเตียน โฮก เขามองว่าภาพนี้มีความแปลกใหม่และสายตาที่เฉียบคมในการเก็บรายละเอียด เขากล่าวว่า ‘มันไม่ใช่ภาพที่ซ้ำซาก แต่มันคือการสังเกตอย่างเฉียบแหลมถึงสีสันและถุงพลาสติกที่พบได้ทั่วไปในไทย รวมถึงการจัดวางแบบซ้อนทับที่พบได้ในย่านทำงานของเมืองกรุง’

‘Religion and beliefs in Bangkok’ โดย Pongnarin
พีเค วนสิริกุลรู้สึกว่าภาพนี้สะท้อนเป็นจริงที่ลึกซึ่งของชุมชนท้องถิ่น เขามองว่า ‘พระพุทธรูปที่สงบนิ่งอยู่เบื้องหลังผ้าจีวร ที่ช่วยถ่ายทอดความจริงทางจิตวิญญาณที่ซ่อนอยู่ใต้ภาพลักษณ์แบบภาพยนตร์ของกรุงเทพฯ ที่ผู้คนหลงรักและแบ่งปัน’

‘In the Line’ โดย Manachit Virojtecha
องค์ประกอบของกราฟิกในภาพนี้ดึงดูดสายตาของ Golfwashere เขาชื่นชมจังหวะและโครงสร้างทางภาพภายในภาพเฟรมนี้ โดยให้อธิบายว่าเขา ‘หลงรักเส้นสายและลวดลายกราฟิก ที่ยังสามารถถ่ายทอดความรู้สึกของกรุงเทพฯ ออกมาได้อย่างชัดเจน’

‘A moment of Bangkok’ โดย Kroekit NopPhakaow
ดรณ์ อมาตยกุล ชื่นชมความน่าสนใจขององค์ประกอบภาพ พร้อมยกย่องความมานะของช่างภาพที่เฝ้ารอจนจังหวะที่นักปั่นจักรยานเคลื่อนเข้าสู่ช่องแสงสี่เหลี่ยมอย่างพอดิบพอดี เขารู้สึกว่าการจราจรที่รายล้อมเมืองไว้ ช่วยเล่าเรื่องราวของกรุงเทพฯ ได้โดยไม่รบกวนสายตา ขณะที่เงาสะท้อนจางๆ บนสกายวอล์กกระจกก็เพิ่มมิติอีกชั้นให้กับภาพได้อย่างละเมียดละไม

‘Bangkok After Dark ’ โดย Chatdanai Dorkson
STYLEdeJATE ได้คัดเลือกภาพนี้เนื่องจากความโดดเด่นในด้านความงามทางศิลปะ ทักษะทางเทคนิคการถ่ายภาพ และความเป็นต้นฉบับ เขาได้สังเกตว่าความคอนทราสระหว่าง 'สีทองอร่ามของวัด' และ 'โทนสีอ่อนของบ้านเรือนโดยรอบ' บอกเล่าเรื่องราวที่เข้มข้น ในขณะที่การควบคุมแสงของช่างภาพนั้นยอดเยี่ยมเป็นพิเศษ สิ่งสำคัญคือ เขาพบว่านี่คือ 'มุมมองของสถานที่สำคัญที่เขาไม่ค่อยได้เห็นมาก่อน'

‘Lives together’ โดย Pawarut Krupanich
เฮี้ยง เรืองนิรมาณ กาญจน์จิณณะ รู้สึกประทับในภาพนี้เนื่องจากเธอสัมผัสได้ถึง การนำเสนอจิตวิญญาณแห่งการเปิดกว้างของเมืองที่สวยงาม เธอสังเกตเห็นว่าภาพนี้ แสดงให้เห็นถึง'ความงดงามของความหลากหลายในกรุงเทพฯ ทั้ง พระภิกษุ นักท่องเที่ยว คนท้องถิ่น ต่างก็ใช้ถนนเส้นเดียวกัน ภายใต้แสงแดดเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกัน' สำหรับเธอแล้ว ภาพนี้สรุปแนวคิดของ 'เส้นทางที่แตกต่างในเมืองเดียวกัน' ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

'ชีวิต ณ เอราวัณ' โดย Kwang Siang Jin
Time Out ได้คัดเลือกภาพนี้เนื่องด้วยบรรยากาศของสถานที่ ที่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันแสดงให้เห็นถึง ไดนามิกของเมืองได้อย่างสมบูรณ์แบบ พวกเราสังเกตว่า 'ภาพถ่ายที่ศาลพระพรหม มันจับภาพสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกันได้มากมาย ตั้งแต่คนที่มาไหว้ นักท่องเที่ยวที่เฝ้ามอง แผงลอย และบรรดารถยนต์ที่วิ่งผ่านไปมา' พวกเขารู้สึกว่านี่เป็นภาพสแนปช็อตอันทรงพลัง ที่ถ่ายทอดองค์ประกอบและหัวใจสำคัญอันวุ่นวายของกรุงเทพฯ ทั้งหมดมารวมอยู่ในเฟรมเดียว
หลังจากพิจารณามาอย่างยาวนาน มีหนึ่งภาพที่โดดเด่นด้วยพลังดิบ ความลึกทางอารมณ์ และการเล่าเรื่องที่สะเทือนจิตใจ นี่คือภาพที่ทั้งเหนือกาลเวลา เฉียบพลัน และให้ความรู้สึกถึงแก่นแท้ ของมนุษย์ แต่หยั่งรากลึกในเมืองแห่งนี้
Time Out ดีใจอย่างเป็นอย่างยิ่งที่จะประกาศว่าผู้ชนะของ Capture Bangkok Photography Challenge ครั้งแรกคือ Lord K2 ด้วยภาพถ่ายอันน่าทึ่งนี้

'Defying the Downpour' โดย Lord K2
ดาร์เคิล คือหนึ่งในผู้ที่ตัดสินรางวัลชนะเลิศ โดยเขาได้ให้เหตุผลไว้ว่า
'ภาพถ่ายเด็กชายสองคนที่เล่นฟุตบอลท่ามกลางพายุฝนที่กระหน่ำลงมา ในความคิดของผม นี่เป็นภาพที่แข็งแกร่งที่สุดในบรรดาภาพที่ส่งเข้ามา ช่างภาพได้จับภาพช่วงเวลาแห่งความเฉียบพลัน ที่สะเทือนใจ ร่างกายเด็กหนุ่มสองคนที่เคลื่อนไหว เปียกโชกปะทะกันในขณะที่สายฝนทำให้ทุกสิ่ง พร่ามัว ยกเว้นความมุ่งมั่นของพวกเขา มีความตึงเครียดซ้อนทับกันทั้งระหว่างตัวเด็กชายทั้งสอง และระหว่างพวกเขากับธรรมชาติ ราวกับว่าธรรมชาติเองคือศัตรูฉากหนึ่งของการต่อต้าน โดยสัญชาตญาณ ซึ่งเผยให้เห็นถึงจิตวิญญาณแห่งความแกร่งกล้าที่บางครั้งก็ปรากฏขึ้นในเมืองหลวง ความสงบนิ่ง ความเป็นมนุษย์ได้อย่างลึกซึ้ง และเป็นดั่งพิธีกรรมแห่งการก้าวผ่านช่วงวัย
ขอแสดงความยินดีอย่างยิ่งกับผู้ชนะของเรา และกับผู้เข้ารอบสุดท้ายทั้ง 10 คน
คุณสามารถชมภาพถ่ายที่ชนะเลิศได้ในงานแสดงผลงานของช่างภาพมืออาชีพ 10 คนของเราได้ที่ นิทรรศการ Capture Bangkok ที่ The Corner House เจริญกรุง ตั้งแต่วันที่ 7 - 20 สิงหาคม
การเฉลิมฉลองการถ่ายภาพอันน่าทึ่งนี้จะเป็นไปไม่ได้หากปราศจากพันธมิตรของเรา Canon และ Coca - Cola