Covid in public
iStock

5 แพลทฟอร์มสำหรับติดตามและเฝ้าระวังตัวเองให้ห่างจาก ‘โควิด-19’

ไวรัสกลับมาระบาดใหม่รอบนี้ พวกเราต้องระวังตัวกันให้มากกว่าเดิม!

Kenika Ruaytanapanich
เขียนโดย
Kenika Ruaytanapanich
การโฆษณา

ใครจะไปรู้ว่าเราต้องมาเจอการระบาดรอบใหม่กันอีกครั้ง แม้ว่าจะเคยรับมือกับเชื้อไวรัสมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ทว่าครั้งนี้ก็ยังนิ่งนอนใจไม่ได้ เพราะอย่างที่รู้กันว่าเชื้อโควิด 19 แพร่กระจายง่ายหากไม่ระวังตัว วันนี้เราจึงอยากแนะนำ แอปพลิเคชั่นและแพลทฟอร์มจำเป็น ที่ทุกคนควรมีติดเครื่องไว้เพื่อเช็คข่าวสาร หรือแจ้งเตือนหากเราเข้าใกล้พื้นที่เสี่ยง

ถ้าใครจำเป็นต้องออกไปที่ไหนก็อย่าลืมเช็คข่าวในพื้นที่นั้นๆ แล้วสวมแมสก์ตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆ อยู่เสมอด้วยนะ



แอปพลิเคชั่นหมอชนะใช้ GPS, Bluetooth หรือทำงานร่วมกับ ไทยชนะ ที่ให้เราเช็คอิน - เช็คเอาท์สถานที่ต่างๆ เป็นการเก็บบันทึกประวัติการเดินทาง เพื่อให้กรมควบคุมโรคและทีมแพทย์ใช้เป็นข้อมูลในการตรวจ หรือแจ้งเตือนหากเราเข้าใกล้พื้นที่เสี่ยง โดยผู้ใช้งานที่ตรวจพบว่าเดินทางไปในพื้นที่มีเชื้อโควิด 19 หรือมีการเข้าใกล้ผู้ป่วย แอปฯ จะส่งคำแนะนำการดูแลตัวเองเบื้องต้นให้ทันที

เว็บไซต์: www.dga.or.th/th/profile/2176/

เว็บไซต์นี้ได้รับความนิยมมากตั้งแต่การระบาดครั้งแรก เพราะนอกจากใช้งานง่าย มีรายละเอียดค่อนข้างครบ อัปเดตเร็ว ข้อมูลที่ใส่ลงไปก็มีแหล่งอ้างอิงชัดเจนและเชื่อถือได้ ทำให้ช่วยลดความแพนิกของหลายคนลงไปในช่วงที่มีการระบาด 

ข้อดีของแพลทฟอร์มนี้คือเขาจะแบ่งเป็นสัญลักษณ์ เพื่อให้ดูภาพรวมแล้วเข้าใจง่าย อย่างเช่น รอยเท้า แปลว่าผู้ป่วยเคยมาที่นี่ กากบาท แปลว่าข่าวปลอม สีเขียว แปลว่ารักษาหายแล้ว ซึ่งทีมที่อยู่เบื้องหลังการสร้างแพลทฟอร์มนี้คือ 5Lab บริษัทเทคโนโลยี (Software House) ที่คอยออกแบบเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นให้หน่วยงานต่างๆ โดยเว็บไซต์ Covidtracker นี้ก็เป็นโปรเจ็กต์แรกที่บริษัทตั้งใจทำขึ้นมาเอง

สามารถอ่านบทสัมภาษณ์ของพวกเขาได้ ที่นี่
เว็บไซต์: covidtracker.5lab.co

การโฆษณา

อันนี้เชื่อว่าเป็นอีกช่องทางที่เข้าถึงง่ายและสะดวกมากที่สุด Away Covid-19 เป็นช่องทาง Line Official Account ที่เพียงเรากดเพิ่มเพื่อนก็สามารถรับการแจ้งเตือนก่อนเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงได้เลย โดยในแถบเมนูหลักจะมีข้อมูลอื่นๆ ให้เราติดตามข่าวสารด้วย คือ สถิติผู้ติดเชื้อในประเทศ อัปเดตรายวันอิงตามกระทรวงสาธารณะสุข รวมถึงมีฟีเจอร์ที่เราสามารถดูรายละเอียดของผู้ติดเชื้อที่อยู่รอบๆ ตัวเราได้ด้วย ทั้งสถานะการรักษา ที่อยู่ และประวัติการเดินทางของผู้ป่วย

ส่วนอีกประโยชน์หนึ่งก็คือ กดค้นหาสถานพยาบาลที่อยู่ใกล้เคียงกับตำแหน่งปัจจุบันของเรามากที่สุดได้ ทำให้เมื่อมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นก็สามารถหาสถานที่รักษาได้ทันที

add ได้ทาง @awaycovid19 

หน้าเว็บไซต์อาจดูคล้ายกับ Covidtracker แต่ต่างกันตรงที่เราสามารถดูภาพรวมของทั้งโลกได้ หรือเลือกดูสถานการณ์เฉพาะประเทศก็ได้เช่นกัน โดยข้อมูลบนเว็บไซต์นี้หลักๆ จะอิงมาจาก WHO (องค์การอนามัยโลก) และองค์การที่เกี่ยวข้อของแต่ละประเทศ

นอกจากนี้ยังมีข้อมูที่น่าสนใจอื่นๆ ให้ดูอีกเช่นกัน อาทิ วัคซีนที่กำลังพัฒนา กราฟรายงานการแพร่กระจายเชื้อไวรัสในแต่ละวัน หรือ ไทม์ไลน์ตั้งแต่เกิดการระบาดครั้งแรก

เว็บไซต์: www.bing.com/covid/local/thailand

การโฆษณา

Ooca (อูก้า) เป็นแอปพลิเคชั่นรับปรึกษาปัญหาด้านใจจิต โดยเราสามารถพูดคุยกับจิตแพทย์ได้ผ่านทางออนไลน์ ปกติแล้วแอปฯ นี้จะรับปรึกษาปัญหาแทบทุกด้านที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต รวมถึงเหตุการณ์โควิด 19 เช่นกัน 

เพราะเชื่อว่ามีหลายคนเกิดความเครียด กังวลใจ ไม่สบายใจ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเศรษฐกิจ รู้สึกกลัวไม่ปลอดภัย หรือใครกักตัวแล้วเกิดอาหารซึมเศร้าขึ้นมา ooca จึงรับเป็นที่ปรึกษาผ่านวิดีโอคอลเพื่อช่วยรักษาจิตใจ

ทุกคนสามารถเลือกแพทย์ประจำตัวได้ โดยหากเป็นนักจิตวิทยาจะมีค่าบริการเริ่มต้นอยู่ที่ 1,000 บาท (30 นาที) และ จิตแพทย์อยู่ที่ 1,500 บาท (30 นาที)

เว็บไซต์: www.ooca.co

เรื่องเด่น
    เรื่องน่าสนใจอื่นๆ ที่คุณน่าจะชอบ
      การโฆษณา